posttoday

คนไทยยุคดิจิทัล ขยับสู่โลกออนไลน์

26 กรกฎาคม 2561

พฤติกรรรมคนไทย วิถีชีวิตทั้งการดูหนัง ฟังเพลง การช็อปปิ้ง การอ่านหนังสือ การท่องเที่ยว เริ่มเปลี่ยนจากช่องทางออฟไลน์มาสู่ออนไลน์มาก ยิ่งขึ้น

โดย...รัชนีย์ ศรีวัฒนชัย

สังคมไทยกำลังเปลี่ยนผ่านจากโลก อะนาล็อกมาสู่โลกดิจิทัลอย่างเต็มตัว สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็ก ทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (เอ็ตด้า) เผยพฤติกรรรมคนไทย วิถีชีวิตทั้งการดูหนัง ฟังเพลง การช็อปปิ้ง การอ่านหนังสือ การท่องเที่ยว เริ่มเปลี่ยนจากช่องทางออฟไลน์มาสู่ออนไลน์มาก ยิ่งขึ้น

สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการเอ็ตด้า เปิดเผยว่า ผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตประเทศไทยปี 2561 พบว่าคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น เป็น 10 ชั่วโมง 5 นาที/วัน เพิ่มจากปี ที่ผ่านมาราว 3 ชั่วโมง 41 นาที/วัน ซึ่งพบว่ากลุ่มวัยทำงานและวัยเรียนใน วันธรรมดาใช้อินเทอร์เน็ต 3 ชั่วโมง 18 นาที/วัน และในช่วงวันหยุดราว 4 ชั่วโมง 6 นาที/วัน โดยกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย เป็นแชมป์การใช้อินเทอร์เน็ตสูงที่สุดต่อเนื่องกัน 4 ปี

ขณะที่การเปลี่ยนผ่านชีวิตของ คนไทยจากอะนาล็อกมาสู่ดิจิทัล คนไทยยังนิยมใช้โซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ สูงถึง 3 ชั่วโมง 30 นาที/วัน ขณะที่การดู วิดีโอสตรีมมิ่ง อย่างยูทูบ ไลน์ทีวี ราว 2 ชั่วโมง 35 นาที/วัน การใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อพูดคุย 2 ชั่วโมง/วัน การเล่นเกมออนไลน์ 1 ชั่วโมง 51 นาที/วัน และอ่านหนังสือออนไลน์หรือบทความ 1 ชั่วโมง 31 นาที โดยโซเชียลมีเดียที่ครองใจคนไทยอันดับ 1 คือ ยูทูบ 98.8% ไลน์ 98.6% เฟซบุ๊ก 96%

"ประเด็นที่ต้องจับตามองพฤติกรรมซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทาง อี-คอมเมิร์ซราว 49.6% ใกล้เคียงกับช่องทางออฟไลน์ที่มีสัดส่วน 50.4% จึงมองว่าธุรกิจอี-คอมเมิร์ซไทยคาดว่าจะมีมูลค่าเติบโตจาก 2.8 ล้านล้านบาท เป็น 3 ล้านล้านบาทในปีหน้า และมองว่าประเทศไทยควรสร้างดิจิทัล คอนเทนต์ พาร์คขึ้นมาไว้รวมกัน เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตและเป็นเครื่องมือส่งเสริมการตลาด รวมทั้งกำลังจะ สร้างแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชื่อว่า DURIAN กำลังคุยกับนักลงทุน"

สำหรับกิจกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต 2561 ที่มีผู้ใช้เพิ่มสูงขึ้นมาก มีด้วยกัน 5 กิจกรรม ได้แก่ การอ่านหนังสือจาก 30.8% เพิ่มเป็น 48.27% การขายสินค้าและบริการ 13.7% เพิ่มเป็น 24.48% การจองโรงแรม 11% เพิ่มเป็น 20.56% บริการเรียกรถแท็กซี่ 4.8% เพิ่มเป็น 12.61% จองหรือซื้อตั๋วภาพยนตร์ 14.6% เพิ่มเป็น 21.67% นอกจากนี้ ผลสำรวจพบว่า หลากหลายกิจกรรมที่คนไทย ยังสุ่มเสี่ยงในการถูกละเมิดข้อมูล 1.ไม่เปลี่ยนรหัสผ่านทุกๆ 3 เดือน

ในส่วนด้านที่ 2 การให้วันเดือนปีเกิดที่แท้จริงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 45.04% 3.เมื่อทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเว็บไซต์ธนาคารก็ละเลยที่จะสังเกตว่าเป็นเว็บไซต์ที่ขึ้นต้นด้วย https:// หรือไม่ 44.48% 4.เปิดอีเมล/คลิกลิงค์ที่ไม่รู้จัก 43.36% และ 5.อัพโหลดรูปถ่าย/วิดีโอทันทีหลังถ่ายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 35.70% กลุ่มที่น่าจะเสี่ยงมากที่สุด คือเบบี้บูมเมอร์ เช่น การทำธุรกรรมการเงินผ่านทางเว็บไซต์ธนาคาร และละเลยที่จะสังเกตว่าเว็บไซต์ขึ้นต้นด้วย https:// 55.94%

ทั้งนี้ กลุ่มเจนซีก็มีโอกาสสุ่มเสี่ยงในเรื่องของการให้วันเดือนปีเกิดที่แท้จริงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 55.97% ส่วนกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย มักชอบทำกิจกรรมเสี่ยงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยตั้งค่าสาธารณะ เช่น การอัพโหลดรูปถ่าย/วิดีโอทันทีหลังถ่าย 37.90% อย่างไร ก็ดีเอ็ตด้ายังร่วมลงนามความร่วมมือกับดิจิทัล เอเชีย ฮับ ฮ่องกง จัดตั้งศูนย์ดิจิทัล เอเชีย ฮับ ไทยแลนด์ โดยจะทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมโยงทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและสังคมในระดับภูมิภาคและระดับโลก