posttoday

ภาคธุรกิจแห่ใช้เอไอ ขานรับนโยบายไทยแลนด์4.0

26 พฤษภาคม 2561

ไมโครซอฟท์ชี้เทรนด์ปัญญาประดิษฐ์จะเข้าสู่องค์กรกว่า 85% ในปี 2563 เร่งร่วมมือภาครัฐพัฒนาดาต้า ไซแอนทิส ป้อนสู่ตลาดรับไทยแลนด์ 4.0

ไมโครซอฟท์ชี้เทรนด์ปัญญาประดิษฐ์จะเข้าสู่องค์กรกว่า 85% ในปี 2563 เร่งร่วมมือภาครัฐพัฒนาดาต้า ไซแอนทิส ป้อนสู่ตลาดรับไทยแลนด์ 4.0

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการ ผู้จัดการบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า รายงานวิจัยของไมโครซอฟท์และไอดีซีที่ทำร่วมกันในปี 2561 มีการคาดการณ์ว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) จะเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนของกระบวนการดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ราว 40% ในปี 2562 และยังคาดว่าภายในปี 2563 จะมีองค์กรนำเอไอมาประยุกต์การใช้งานราว 85%

นอกจากนี้ ภายในสิ้นปี 2561 แอพพลิ เคชั่นกว่า 50% ในตลาดจะนำเอไอมาผนวกเพื่อการใช้งานในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง อีกทั้งแนวโน้มการใช้เอไอและแชตบอต นำมาติดต่อสื่อสารกับลูกค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องคาดว่าภายในปี 2568 จะมีสัดส่วนราว 95% ของการสนทนากับลูกค้า

ทั้งนี้ จากแนวโน้มความต้องการ ที่เติบโตขึ้นดังกล่าวของเอไอกลับสวน ทางกันกับนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (ดาต้า ไซแอนทิส) ที่ถือเป็นความท้าทายของประเทศไทยในด้านทักษะดิจิทัลของบุคลากรในประเทศ ซึ่งไม่เพียงแต่เฉพาะประเทศไทยที่ขาดแคลนบุคลากรด้านทักษะดังกล่าว โดยทั่วโลกก็ขาดแคลนเช่นเดียวกัน ดังนั้น บริษัทจึงได้เล็งเห็นความสำคัญโดยร่วมมือกันสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาหลักสูตรรองรับการพัฒนาบุคลากรที่ขาดแคลนเพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดในอนาคต

พร้อมกันนี้บทบาทของเอไอยังแพร่หลายอยู่ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมซึ่งได้เข้าสู่อุตสาหกรรมทุกประเภทแล้ว แต่ขึ้นอยู่กับปริมาณและผลิตภัณฑ์ของแต่ละกลุ่มที่มีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงกลุ่มสตาร์ทอัพต่างๆ ในประเทศไทยที่มีกว่า 400 ราย มีการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีทุกรูปแบบ

ขณะที่ผลิตภัณฑ์และบริการของ ไมโครซอฟท์ปัจจุบันมีการบรรจุเทคโนโลยีเอไอเข้าไปทุกด้าน ซึ่งเป็นจุดมุ่งเน้นหลักในการพัฒนาธุรกิจและเสริมประสิทธิภาพความแข็งแกร่งของธุรกิจด้วยไอเอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาของประเทศไทยตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น

"บริษัทมีโซลูชั่นและแพลตฟอร์ม ที่พร้อมยกระดับประสิทธิภาพขององค์กรที่หลากหลาย โดยจุดเด่นของบริษัทคือการมีแพลตฟอร์มเอไอและคลาวด์ที่ เปิดกว้าง (โอเพ่น แพลตฟอร์ม) สามารถเชื่อมต่อหรือต่อยอดการพัฒนาได้ทุกรูปแบบ" นายธนวัฒน์ กล่าว

สำหรับกลุ่มเป้าหมายในประเทศไทยของการนำเสนอโซลูชั่นและแพลตฟอร์มเอไอของไมโครซอฟท์ในปีนี้จะได้เห็นการใช้งานจริงของภาคธุรกิจหลักไม่น้อยกว่า 10 โครงการ ส่วนด้านลูกค้าทั่วไปที่มีการ ใช้งานไมโครซอฟท์ผลิตภัณฑ์ใดๆ มีการ ใช้เอไออยู่เป็นพื้นฐานแล้วจำนวนหลักล้านราย

นายธนวัฒน์ กล่าวว่า บริษัทได้ให้ ความรู้ต่อตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เข้าใจในการวิเคราะห์หรือประยุกต์ใช้ข้อมูลในรูปแบบที่เกิดประโยชน์กับองค์กร ผู้ใช้งาน หรือสังคม ซึ่งมีส่วนสำคัญในด้านความมั่นใจในประสิทธิภาพ หรือความแม่นยำของระบบในการขับเคลื่อนนวัตกรรม