posttoday

เกษตรสั่งจังหวัดทำงานมากขึ้นรับมือผลผลิตยาง ปี 58/59

14 มีนาคม 2558

อำนวย วางแนวรับมือผลผลิตยาง ปี 58/59 ให้จังหวัดทำงานมากขึ้น หวังขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายางพาราได้อย่างมีประสิทธิภาพ-เป็นระบบครบวงจรในระดับจังหวัด

อำนวย วางแนวรับมือผลผลิตยาง  ปี 58/59 ให้จังหวัดทำงานมากขึ้น  หวังขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายางพาราได้อย่างมีประสิทธิภาพ-เป็นระบบครบวงจรในระดับจังหวัด

นายอำนวย  ปะติเส  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เปิดเผยว่า  ได้เตรียมแผนบริหารจัดการสินค้ายางพารา รอบการผลิต 58/59 ว่า การบริหารจัดการสินค้ายางพารา รอบการผลิต 58/59 ในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด  จะดำเนินการ  จัดทำประมาณการสมดุลยางพาราของจังหวัด ราคายางพาราแยกตามชนิดยางพาราในจังหวัด โครงสร้างอุตสาหกรรมยางของจังหวัด และระบบตลาดยางในจังหวัด ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯได้ขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะประธานคณะกรรมการฯระดับจังหวัด มอบหมายให้คณะกรรมการฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำข้อมูลแยกตามแต่ละชนิดยางที่มีในจังหวัด รายงานมายังกระทรวงเกษตรฯภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน และให้ความสำคัญของการวิเคราะห์และการนำไปใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่จัดทำ

นอกจากนั้น ให้นำเสนอปัญหาอุปสรรคจาการขับเคลื่อนการดำเนินการแก้ไขปัญหายางพารา ปีการผลิต 2557/58  พร้อมทั้งข้อเสนอแนะในการแก้แก้ไขปัญหา รวมทั้งจัดทำการวิเคราะห์สถานการณ์การผลิตยางพาราในระดับจังหวัด  ปีการผลิต 2558/59 โดยจัดทำข้อมูลทั้ง 12 เดือน แยกตามแต่ละชนิดยางที่มีในจังหวัด ตลอดจนแสนอแนวทางในการดำเนินการบริหารจัดการสินค้ายางพาราในระดับจังหวัด ปีการผลิต 2558/59 ด้วย

สำหรับกลไกการขับเคลื่อนการดำเนินแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ  จะมี  ส่วนกลาง คือ คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) และคณะอนุกรรมการบริหารการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนายางทั้งระบบ ระดับกระทรวง ได้แก่ ศูนย์บริหารและคณะกรรมการบริหารดำเนินการแก้ไขปัญหาสินค้ายางพาราอย่างเป็นระบบครบวงจร ระดับจังหวัด 

 อย่างไรก็ตามคณะรักษษความสงบแห่งชาติ(คสช.)ได้มีการนโยบาย ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนายางพาราทั้งระบบของรัฐบาล 16 มาตรการ ประกอบด้วย 1)โครงการบริหารจัดการสต๊อกยางของรัฐ  2) โครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อใช้ในการรวบรวมยาง  3) โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพารา 4) โครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยาง  5) โครงการพัฒนาตลาดตามแผนปรับโครงสร้างระบบตลาดยางพารา 6)โครงการจัดหาตลาดใหม่เพื่อส่งออกยางพารา 7) โครงการส่งเสริมการลงทุนด้านผลิตภัณฑ์ยางภายในประเทศ/โครงการสนับสนุนผู้ประกอบผลิตภัณฑ์ยาง  8) โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมยาง  9) โครงการควบคุมปริมาณการผลิต  10) โครงการลดต้นทุนการผลิต 11) โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนการผลิตยาง 12)โครงการผลิตเพื่อเสริมรายได้ในสวนยางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  13) โครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง 14) โครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง 15) โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม และ   16) โครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการยาง