posttoday

คมนาคมสรุปชัตดาวน์วันแรกคนใช้รถน้อยลง

13 มกราคม 2557

ก.คมนาคมสรุปผลกระทบด้านการเดินทาง ปิดจราจร 8 จุด คนใช้รถน้อยลง ใช้รถและเรือสาธารณะเพิ่มขึ้น

ก.คมนาคมสรุปผลกระทบด้านการเดินทาง ปิดจราจร 8 จุด คนใช้รถน้อยลง ใช้รถและเรือสาธารณะเพิ่มขึ้น

นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม สรุปภาพรวมผลกระทบด้านการเดินทางของประชาชนจากสถานการณ์การชุมนุม ในวันที่ 13 มกราคม 2557 ในเขตกรุงเทพมหานครแลปริมณฑลในภาพรวม ตั้งแต่เวลา 04.00 น. ถึงเวลา 15.00 น. ที่มีการปิดการจราจรในทางแยกสำคัญและสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา รวม 8 จุด ได้แก่
1)  ถนนแจ้งวัฒนะ (บริเวณจุดตัดทางรถไฟถึงซอยแจ้งวัฒนะ 14 หน้าศูนย์ราชการ)
2)  แยกราชประสงค์ (แยกราชประสงค์ถึงแยกเฉลิมเผ่า บริเวณสำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
3)  แยกปทุมวัน (หน้าศูนย์การค้ามาบุญครองถึงแยกสามย่าน ถนนพญาไททั้งเข้าและออก และหน้าสนามกีฬาถึงแยกราชปรารภ)
4)  แยกอโศก – เพชรบุรี (จากแยกอโศกตัดกับถนนสุขุมวิท ต่อเนื่องถึงซอยสุขุมวิท 24)
5)  แยกสวนลุม – สีลม (ช่วงแยกอังรีดูนังค์ ถนนพระรามที่ 4)
6)  ห้าแยกลาดพร้าว (บริเวณจุดตัดถนนพหลโยธิน ถนนวิภาวดี ต้นถนนลาดพร้าว)
7)  อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ปิดทุกด้านการจราจรผ่านไม่ได้)
8)  สะพานพระราม 8 (ปิดการจราจรทั้งขาเข้า – ออก)

มีผลทำให้การเดินทางของประชาชนเป็นไปด้วยความยากลำบาก และมีการเดินทางในภาพรวมลดน้อยลง และมีผลกระทบทั้งการเดินทางในระบบรถส่วนบุคคล และการเดินทางในระบบรถโดยสารสาธารณะภายใต้โครงข่ายขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพมีการปรับเปลี่ยนเส้นทางในแต่ละจุด ดังนี้

1. อนุสาวรีย์ชัยฯทั้ง 4 ด้าน เส้นทางเดินรถที่ได้รับผลกระทบ ถนนพหลโยธิน จำนวน 24 สาย ถนนราชวิถี จำนวน 16 สาย ถนนพญาไท จำนวน 27 สาย ถนนดินแดง จำนวน 23 สาย

2. ห้าแยกลาดพร้าว เส้นทางเดินรถที่ได้รับผลกระทบ ถนนพหลโยธิน จำนวน 31 สาย ถนนลาดพร้าว จำนวน 12 สาย ถนนวิภาวดีฯ จำนวน 12 สาย

3. แยกราชประสงค์ เส้นทางเดินรถที่ได้รับผลกระทบ ถนนราชดำริ จำนวน 8 สาย ถนนพระรามที่ 1 จำนวน 14 สาย

4. แยกปทุมวัน เส้นทางเดินรถที่ได้รับผลกระทบ ถนนพระรามที่ 1 จำนวน 14 สาย ถนนพญาไท จำนวน 8 สาย

5. สวนลุมพินี เส้นทางเดินรถที่ได้รับผลกระทบ ถนนราชดำริ จำนวน 6 สาย ถนนพระรามที่ 4 จำนวน 8 สาย ถนนพระรามที่ 4 จำนวน 18 สาย ถนนสุนทรโกษา จำนวน 9 สาย

6. แยกอโศก – เพชร เส้นทางเดินรถที่ได้รับผลกระทบ ถนนเพชรบุรี จำนวน 10 สาย

7. ศูนย์ราชการ เส้นทางเดินรถที่ได้รับผลกระทบ ถนนแจ้งวัฒนะ จำนวน 9 สาย

และมีปริมาณการเดินทางโดยประมาณเมื่อเปรียบเทียบกับการเดินทางในวันทำงานปกติ ดังนี้

รถประจำทาง ผู้ใช้บริการปกติ 3.1 ล้านเที่ยว ผู้บริการในช่วงสถานการณ์การชุมนุมวันที่ 13 มกราคม 2557 จำนวน  2 ล้านเที่ยว ลดลง 30%

ดอนเมืองโทล์เวย์ ผู้ใช้บริการปกติ 80,000 เที่ยว ผู้บริการในช่วงสถานการณ์การชุมนุมวันที่ 13 มกราคม 2557 จำนวน 51,000 เที่ยว ลดลง 46%
 
ทางพิเศษ  ผู้ใช้บริการปกติ 600,000 คัน ผู้บริการในช่วงสถานการณ์การชุมนุมวันที่ 13 มกราคม 2557 จำนวน 300,000 คัน ลดลง 50%

เรือคลองแสนแสบ  ผู้ใช้บริการปกติ 47,000 คน ผู้บริการในช่วงสถานการณ์การชุมนุมวันที่ 13 มกราคม 2557 จำนวน 60,000 คน เพิ่มขึ้น 20%

เรือด่วนเจ้าพระยา ผู้ใช้บริการปกติ 35,000 คน ผู้บริการในช่วงสถานการณ์การชุมนุมวันที่ 13 มกราคม 2557 จำนวน 50,000 คน เพิ่มขึ้น 40%

รถไฟชานเมือง ผู้ใช้บริการปกติ 15,000 คน(ช่วงเช้า) ผู้บริการในช่วงสถานการณ์การชุมนุมวันที่ 13 มกราคม 2557 จำนวน 8,000คน (ครึ่งวันเช้า) ลดลง 40%

รถไฟใต้ดิน ผู้ใช้บริการปกติ 230,000 คน ผู้บริการในช่วงสถานการณ์การชุมนุมวันที่ 13 มกราคม 2557 ช่วงเช้าผู้โดยสารน้อย เพิ่มขึ้นเป็นปกติ ตั้งแต่ 9 โมงเช้า 

ARL ผู้ใช้บริการปกติ 40,000 เที่ยว ผู้บริการในช่วงสถานการณ์การชุมนุมวันที่ 13 มกราคม 2557 จำนวน 48,000 เที่ยว เพิ่มขึ้น 20%

BTS  ผู้ใช้บริการปกติ 7 แสนเที่ยว ผู้บริการในช่วงสถานการณ์การชุมนุมวันที่ 13 มกราคม 2557  ช่วงเช้าผู้โดยสารน้อย เพิ่มขึ้นเป็นปกติ ตั้งแต่ 9 โมงเช้า 

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมจะอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางของประชาชนในช่วงสถานการณ์ชุมนุมทุกระบบการขนส่ง เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทางอย่างสูงสุด โดยประชาชนสามารถตรวจสอบเส้นทางการเดินทาง แบบ Real Time ผ่านทางเว็บไซต์ของกระทรวงฯ www.mot.go.th และสายด่วน 1356