posttoday

สุริยะใสฟ้องศาลเบรก ประมูล 3 จี

13 ตุลาคม 2555

สุริยะใสผนึกองค์กรภาคประชาชนฟ้องศาลปกครอง 15 ต.ค. เบรก กสทช.ฮั้วะประมูล 3 จี ทำประเทศสูญเบื้องต้น 1.7 หมื่นล้านบาท

สุริยะใสผนึกองค์กรภาคประชาชนฟ้องศาลปกครอง 15 ต.ค. เบรก กสทช.ฮั้วะประมูล 3 จี ทำประเทศสูญเบื้องต้น 1.7 หมื่นล้านบาท

สุริยะใสฟ้องศาลเบรก ประมูล 3 จี สุริยะใส

นายสุริยะใส กตะศิลา  ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน เปิดเผยว่า องค์กรภาคประชาชนกว่า 10 องค์กร นักวิชาการ นักกฎหมาย และอดีตสมาชิสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.ร.) เตรียมหารือร่วมกันในวันนี้ (14 ต.ค.) ถึงแนวทางและคำร้องที่จะยื่นฟ้องต่อศาลปกครองวันที่ 15 ต.ค. เพื่อขอคุ้มครวอชั่วคราว กรณีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดการประมูลใบอนุญาตให้บริการ (ไลเซ่นส์) 3จี 2.1 กิกะเฮิร์ตซ  เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2552 

ทั้งนี้ เนื่องจาก กสทช.ได้กำหนดเพดานการถือครองคลื่นความถี่ไว้ที่รายละ 15 เมกะเฮิร์ตซ จากคลื่นความถี่ที่มีอยู่ 45 เมกะเฮิร์ตซ หรือ แบ่ง ออกเป็น 9 ใบ ใบละ 5 เมกะเฮิร์ตซ ขณะที่ผู้เข่าร่วมประมูลมีเพียง 3 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค ดีแทค เนทเวอร์ค และ เรียล ฟิวเจอร์ ส่งผลให้ไม่เกิดการแข่งขันด้านราคา  เนื่องจากคลื่นความถี่ที่มีอยู่แบ่งกันได้ลงตัวพอดี

นอกจากนี้ยังต้องการให้ กสทช.ขยับราคาเริ่มต้นประมูลจากใบละ 4,500 ล้านบาท เป็น 6,440 ล้านบาท ตามผลการศึกษามูลค่าคลื่นความถี่ของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพราะการที่ กสทช.เลือกราคาเริ่มต้นเพียง 70% ของมูลค่าคลื่นจริง ส่งผลให้ประเทศต้องเสียผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับ กว่า 1.7 หมื่นล้านบาท ขณะที่เอกชนทั้ง 3 รายได้ประกาศความพร้อมด้านเม็ดเงินในการประมูลว่าได้เตรียมไว้ถึง 2 หมื่นล้านบาท  ดังนั้น หาก กสทช.ขยบัราคาขึ้น เอกชนก็ยังพร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลเหมือนเดิม

“จุดยืนของการฟ้อง คือ ไม่ต้องการล้มประมูล 3 จี แต่หากเป็นการประมูลในลักษณะบล็อกโหวต แบ่งผลประโยชน์ลงตัวเช่นนี้ เชื่อว่าประชาชนก็ไม่อยากได้ 3 จีแบบนี้ และผู้ฟ้องร้องมีสิทธิ์ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ขัดขวางความเจริญอย่างที่กสทช.พยายามกล่าวหา” นายสุริยะใสกล่าว

สำหรับประเด็นที่การฟ้องร้องอาจส่งผลกระทบต่อการประมูลในวันที่ 16 ต.ค.นั้นทางภาคประชาชนเห็นว่า หากการเลื่อนประมูลช้าออกไป 1 สัปดาห์ เพื่อปรับหลักเกณฑ์ต่างๆ ให้ถูกต้อง จะช่วยปกป้องผลประโยชน์ของประเทศได้มากกว่าการเปิดประมูลไปแล้วโดยที่ไม่สามารถเรียกคืนคลื่นหรือกลับไปแก้ไขสิ่งที่ไม่ถูกต้องได้อีก

อย่างไรก็ตาม นอกจากกลุ่มของนายสุริยะใสแล้ว  ยังมีตัวแทนภาคประชาชนหลายราย เตรียมยื่นฟ้องเช่นกันในวันที่ 15 ต.ค.  คืออีตสหภาพบริษัท ทีโอที ในประเด็นที่ผู้ประกอบการยังไม่ได้โอนทรัพย์สินให้น่วยงานรัฐตามสัญญาสร้าง โอน ให้บริการ และนายบุญชัย รุ่งเรืองพิศาลสุข ตัวแทนผู้บริโภคจะยื่นฟ้องเรียกร้องให้กำหนดค่าบริการเหมาจ่าย 3 จี ในอัตรา 250 บาทต่อเดือน รวมถึงคดีของนายอานุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านโทรคมนาคม ที่ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 10 ต.ค. และคาดว่าศาลจะมีคำสั่งในวันที่ 15 ต.ค.ว่าจะรับฟ้องหรือคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่