posttoday

ฉลองผลิตฟอร์ดคันที่ 350 ล้านในไทย ก้าวแรกเดินหน้าในอาเซียน

12 กันยายน 2555

ถือเป็นฤกษ์งามยามดีของ ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ที่ได้มีการฉลองรถยนต์คันที่ 350 ล้าน ตั้งแต่มีการก่อตั้ง ฟอร์ด มอเตอร์ ขึ้นมา ซึ่งรุ่นรถที่ผลิตเป็นคันที่ 350 ล้านนั้น เป็นรถยนต์รุ่น ฟอร์ด โฟกัส ใหม่ ที่ได้มีการผลิตในประเทศไทย โดยถือได้ว่าเป็นรถที่ขายดีที่สุดในโลก ตั้งแต่ 5 เดือนแรกของปีนี้ โดยการผลิตในจำนวนดังกล่าวนี้ ถือได้ว่าเทียบเท่ากับการผลิตรถใหม่ 1 คัน ทุกๆ 10 วินาที เป็นเวลา 109 ปีต่อเนื่องกัน และถ้าคิดๆ ดูแล้ว นำรถที่ผลิตได้ในจำนวนดังกล่าวมาจอดต่อกัน จะเทียบได้เท่ากับระยะทางไปกลับโลกและดวงจันทร์ 2 รอบ

ถือเป็นฤกษ์งามยามดีของ ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ที่ได้มีการฉลองรถยนต์คันที่ 350 ล้าน ตั้งแต่มีการก่อตั้ง ฟอร์ด มอเตอร์ ขึ้นมา ซึ่งรุ่นรถที่ผลิตเป็นคันที่ 350 ล้านนั้น เป็นรถยนต์รุ่น ฟอร์ด โฟกัส ใหม่ ที่ได้มีการผลิตในประเทศไทย โดยถือได้ว่าเป็นรถที่ขายดีที่สุดในโลก ตั้งแต่ 5 เดือนแรกของปีนี้ โดยการผลิตในจำนวนดังกล่าวนี้ ถือได้ว่าเทียบเท่ากับการผลิตรถใหม่ 1 คัน ทุกๆ 10 วินาที เป็นเวลา 109 ปีต่อเนื่องกัน และถ้าคิดๆ ดูแล้ว นำรถที่ผลิตได้ในจำนวนดังกล่าวมาจอดต่อกัน จะเทียบได้เท่ากับระยะทางไปกลับโลกและดวงจันทร์ 2 รอบ

งานนี้ไม่ธรรมดา ฟอร์ด จัดเต็มผู้บริหารมาเพียบในการฉลองความสำเร็จ ที่โรงงานฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง (เอฟทีเอ็ม) จ.ระยอง เมื่อช่วงสิ้นเดือนที่ผ่านมา ทั้ง จอห์น เฟลมิ่ง รองประธานบริหาร ฝ่ายการผลิตและแรงงานสัมพันธ์ ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี แกรี่ จอห์นสัน รองประธานฝ่ายการผลิตฟอร์ด ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและแอฟริกา เทรเวอร์ เนกัส ผู้อำนวยการโรงงานฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง (เอฟทีเอ็ม) แมท แบรดลีย์ ประธาน ฟอร์ด อาเซียน และเทอรี่ แซพส์ฟอร์ด ผู้อำนวยการ ฝ่ายปฏิบัติการผลิตวิศวกรรมรถยนต์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและแอฟริกา ซึ่งแต่ละคนตัวเบ้งๆ ทั้งนั้น

ซึ่งการมาในครั้งนี้ ย่อมพิเศษใส่ไข่กว่าปกติอยู่แล้ว เนื่องจากที่ตั้งของโรงงานเอฟทีเอ็มในประเทศไทยเรานั้น เป็นโรงงานที่สำคัญและเรียกได้ว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงในโลกตามมาตรฐานวันฟอร์ด (One Ford) และวัน แมนูแฟคเจอริ่ง (One Manufacturing) ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายได้มาก แถมยังเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต รวมถึงการกำหนดกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐานเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานและใช้ศักยภาพในการผลิตที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ซึ่งโรงงานฟอร์ดในไทยสามารถผลิตได้สูงสุดถึง 7 รุ่นบนสายการผลิตเดียว

จอห์น ย้ำว่า ฟอร์ดยังคงเดินหน้าลงทุนและขยายธุรกิจหลักๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและแอฟริกา ซึ่งแผนการลงทุนตั้งแต่ปี 2549 ฟอร์ดลงทุนในภูมิภาคนี้ไปแล้ว 6,700 ล้านบาท (ประมาณ 2 แสนล้านบาท) พร้อมแย้มการเปิดตัวโรงงานใหม่ 9 แห่ง ในประเทศจีน 6 แห่ง ประเทศอินเดีย 2 แห่ง และประเทศไทย 1 แห่ง ซึ่งเพิ่งเปิดตัวไปในช่วงที่ผ่านมาแบบสดๆ ร้อนๆ และที่เหลือคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปี 2558 ซึ่งจะมีศักยภาพในการผลิตรถยนต์ 2.9 ล้านคัน ในช่วงปีเดียวกัน

สำหรับแผนวันฟอร์ด คือ การเลือกประเทศที่มีขีดความสามารถในการผลิตชิ้นส่วนใดชิ้นหนึ่ง เพื่อส่งไปยังทุกประเทศทั่วโลกที่มีโรงงานฟอร์ด โดยพิจารณาจากหลายเหตุผลในการเลือก อาทิ ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ซัพพลายเออร์ในการส่งสารตั้งต้นต่างๆ ในการผลิต ซึ่งประเทศไทยถือได้ว่าเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก และมองว่าประเทศไทยมีโอกาสในการผลิตชิ้นส่วนใดชิ้นหนึ่ง อาทิ เครื่องยนต์ เป็นต้น เนื่องจากมีศักยภาพแต่จะต้องมีการศึกษาอีกครั้ง

โดยข้อดีข้อการใช้ชิ้นส่วนมาจากที่ใดที่หนึ่ง (ซิงเกิ้ลซอร์ท) คือหากเกิดกรณีมีการพัฒนายิ่งขึ้นจะมีการปรับหรุงได้ง่ายจากประเทศเพียงประเทศเดียว แต่ก็ได้มองถึงข้อเสียในการดำเนินการในรูปแบบนี้คือ หากเกิดกรณีปัญหาร้ายแรงจนกระทั่งไม่สามารถส่งชิ้นส่วนไปยังประเทศอื่นๆได้จะมีปัญหาไปทั้งหมด โดย ฟอร์ด ได้เตรียมแผนการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการนำชิ้นส่วนที่สำคัญที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อวงกว้างมากๆ กระจายการผลิตไปในหลายประเทศเพื่อกระจายความเสี่ยงหากเกิดกรณีฉุกเฉิน

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่นี้จนกระทั่งถึงปี 2558 จะมีการเปิดตัวรถยนต์และระบบส่งกำลังรุ่นใหม่จำนวนกว่า 50 รุ่น รวมถึงการเปิดตัวรถใหม่ 15 รุ่นในประเทศจีน และ 8 รุ่นในประเทศอินเดีย 8 รุ่นในอาเซียน รวมถึงการเปิดตัว 4 รุ่นในไต้หวัน ในช่วงปี 2558

นอกจากนี้ ฟอร์ด มีแผนเพิ่มยอดขายทั่วโลก 50% หรือ 8 ล้านคัน ในช่วงปี 2558 โดยทวีปเอเชียเป็นตลาดหลัก ซึ่งคาดว่าตลาดเอเชียจะมีสัดส่วน 1 ใน 3 ของยอดขายฟอร์ดทั่วโลก จึงได้วางแผนการขยายเครือข่ายผู้จำหน่ายฟอร์ดในภูมิภาคอาเซียนเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว จากปัจจุบัน 160 แห่ง เป็น 320 แห่ง ในช่วงเดียวกัน