posttoday

ผู้บริโภคค้านรัฐแก้กม.37ฉบับหวั่นเสียเปรียบ

09 กันยายน 2555

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคค้านกกร.เร่งรัดรัฐบาลแก้กฎหมาย 37 ฉบับหวั่นผู้บริโภคเสียเปรียบ-เอกชนได้ประโยชน์

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคค้านกกร.เร่งรัดรัฐบาลแก้กฎหมาย 37 ฉบับหวั่นผู้บริโภคเสียเปรียบ-เอกชนได้ประโยชน์ 

ผู้บริโภคค้านรัฐแก้กม.37ฉบับหวั่นเสียเปรียบ

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้จัดแถลงข่าวคัดค้านคณะกรรมการร่วม 3 สมาคมภาคเอกชน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ที่เร่งรัดรัฐบาลให้มีการแก้กฎหมาย 37 ฉบับ โดยอ้างว่ามีความล้าหลัง และเป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวทีโลก และจะมีการประชุมร่วมกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในวันที่ 12 ก.ย.นี้

รศ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยที่มีการเสนอให้แก้ไขพ.ร.บ.ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 เพราะ 1.วัตถุประสงค์ของหลักกฎหมาย คือ แก้ไขปัญหาให้กับผู้เสียหายที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสินค้านั้นปลอดภัยหรือไม่ ดังนั้น จำเป็นต้องมีกฎหมายดังกล่าว เพราะปัจจุบันสินค้าที่ผลิตในประเทศหรือต่างประเทศ มีกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง จึงให้ผู้บริโภคยากต่อการตรวจสอบว่าปลอดภัยหรือไม่

2.การเพิ่มข้อยกเว้นความรับผิดชอบ เมื่อผู้บริโภคได้รับความเสียหายจากสินค้าประเภทดังกล่าว ผู้ประกอบการก็ได้รับประโยยชน์จากการยกเว้นความรับผิดชอบ 3.การเรียกร้องความเสียหายจากกฎหมายหลายฉบับ และหากผู้เสียหายเลือกใช้สิทธิตามกฎหมายใดกฎหมายหนึ่งเพียงฉบับเดียว จะเป็นการสร้างความสับสน เพราะปัจจุบัน มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายที่คุ้มครองมากกว่าการเป็นฐานในการเรียกร้อง

รศ.จิราพร กล่าวต่อว่า 4.การไม่บังคับใช้ต่อนิติกรรมการซื้อขาระหว่างผู้ประกอบการ ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าร่างพ.ร.บ.ดังดล่าว จะไม่ใช้บังคับกับนิติกรรมการซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการด้วยกันเอง 5.ความรับผิดระหว่างผู้ประกอบการ ควรกำหนดให้ชัดเจนว่า ต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆกัน เว้นแต่ตามพฤติการณ์ศาลจะพิจารณาเป็นอย่างอื่น ซึ่งไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการเสนอเปลี่ยนหลักกฎหมายปัจจุบันให้รับผิดชอบต่อผู้เสียหายตามมาตรา 5

“มาตรา 5 ผู้ประกอบการทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อผู้เสียหายจากความเสียหายที่เกิดจากความไม่ปลอดภัยของสินค้า และสินค้านั้นได้มีการขายให้แก่ผู้บริโภคแล้ว ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทของผู้ประกอบการหรือไม่ก็ตาม”ประธานมูลนิธิผู้บริโภค กล่าว

นอกจากนี้ 6.ไม่เห็นด้วยที่จะมีการเปลี่ยนคำจำกัดความสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ให้มีความหมายเฉพาะสินค้าที่ไม่ปลอดภัย เพราะเหตุบกพร่องจากการผลิต ออกแบบ หรือคำเตือนเท่านั้น เนื่องจากความหมายเดิมครอบคลุมไปถึงการไม่กำหนดวิธีการใช้ การเก็บรักษา หรือข้อมูลที่เกี่ยวกับสินค้า กระทั่งกำหนดไว้แต่ไม่ถูกต้องหรือชัดเจนตามสมควร โดยต้องคำนึงถึงสภาพของสินค้า ลักษณะการใช้งานและการเก็บรักษาตามปกติธรรมดาของสินค้าอันพึงคาดหมายได้

ทั้งนี้ ยังไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าบริการ พ.ศ. 2542 ที่เสนอให้มีการใช้พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้าแทน เพราะสินค้าและบริการซึ่งเป็นที่ผูกขาดตลาดนั้น ทำให้กลไกการแข่งขันไม่เกิด ดังนั้น จำเป็นต้องมีพ.ร.บ.ดังกล่าว แต่ต้องแก้ไขให้พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้าทำได้จริง

น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า การที่เอกชนต้องการให้แก้กฎหมาย 37 ฉบับนั้น ซึ่งมีบางฉบับที่ภาคประชาชนที่ทำงานด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเห็นด้วย อาทิ พ.ร.บ.องค์การอิสระสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ที่ต้องนำกฎหมายภาคประชาชนนำเสนอมาร่วมพิจารณา ส่วนที่ไม่เห็นด้วย อาทิ การเสนอแก้ไขพ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าไม่ปลอดภัย 2551 และพ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม 2535

อย่างไรก็ตาม เพราะบางฉบับมีความเห็นเพิ่มเติม จึงไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของกองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ที่ให้ตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อการพัฒนา ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมาย ซึ่งมีตันแทนจากภาคเอกชน หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ แต่ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคม หากไม่ก็นำเรื่องดังกล่าวส่งให้นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ไปดำเนินการ

น.ส.สุภัทรา นาคะผิว ผอ.มูลนิธิคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับการที่สมาคมโรงพยาบาลเอกชนเสนอให้มีการยกเลิกธรรมนูญสุขภาพที่ไม่ให้ภาครัฐสนับสนุนภาษีหรือสิทธิพิเศษารลงทุนกับธุรกิจการแพทย์ ทั้งนี้ นายกฯในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จะต้องตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว เพื่อประโยชน์จองประชาชนทั้งประเทศ

“เพราะสาระสำคัญของธรรมนูญสุขภาพ ไม่ได้โทษภาคธุรกิจทำมาหากิจ แจ่ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐต้องไปสนับสนุนธุจกิจทางการแพทย์ โดยให้สิทธิพิเศษทางภาษีและการลงทุน แต่ควรนำมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่เน้นหลักประกันสุขภาพของประชาชน เช่นที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ เพราะจะมีผลกระทบต่อประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม”น.ส.สุภัทรา กล่าว

น.ส.เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผอ.มูลนิธิบูรณนิเวศ กล่าวถึงข้อเสนอที่เกี่ยวกับด้านสิ่งแวดล้อมและการควบคุมมลพิษ โดยยอมรับว่ามีความเห็นต่างกับข้อเสนอกกร. ในเรื่องพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ในการอุทธรณ์คำสั่งในการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่ให้เอกชนสามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อรายงานนั้นไม่ได้รับความเห็นชอบ

น.ส.เพ็ญโฉม อธิบายเหตุผลว่า 1.การพิจารณาเป็นกระบวนการที่เปิดโอกาสให้มีการปรับปรุงรายงานได้เป็นขั้นตอนอยู่แล้ว หากรายงานไม่ผ่านความเห็นชอบ หมายถึงย่อมมีปัญหารุนแรงหรือความไม่เหมาะสม และอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากได้ 2.การแก้ไขมาตราใดมาตราหนึ่งในพ.ร.บ.ดังกล่าว เป็นการสะท้อนความเห็นแก่ประโยชน์เฉพาะกลุ่มภาคธุรกิจซึ่งไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของภาพรวม โดยเฉพาะความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะสหภาพยุโรปและอีกหลายประเทศมีการส่งเสริมเรื่องดังกล่างในภาคเอกชน

และ 3.ควรมีแก้ไขพ.ร.บ.ดังกล่าวทั้งฉบับ เนื่องจากไม่ครอบคลุมกับปัญหาในปัจจุบัน เช่น ทำให้ครอบคลุมถึงการศึกษาผลกระทบเชิงพื้นที่ ไม่ใช่รายโครงการ หรือมีผลต่อการอนุมัติการก่อสร้างโครงการ แก้ไขในประเด็นกองทุนสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุมกับวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการเยียวยามความเสียหายที่เกิดขึ้น และเพิ่มโทษสำหรับผู้ก่อมลพิษทั้งทางแพ่งและอาญา

นอกจากนี้ ยังไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.มาตรการการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม พ.ศ.... และร่างพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เห็นว่าร่างดังกล่าวมีประโยชน์ต่อสาธารณะ ดังนั้น หากมีการแก้ไขก็ควรเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนและผู้เกี่ยวข้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการแสงความคิดเห็น และที่สำคัญขอคัดค้านร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การปนเปื้อนมลพิษในดินและน้ำใต้ดินภายในบริเวณโรงงาน แต่ควรเพิ่มโทษรุนแรงให้กับผู้ที่ก่อมลพิษ และกำหนดมาตรการฟื้นฟู เยียวยาปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น