posttoday

สไตล์การบริหารแบบซาอุดิอาระเบีย

05 มีนาคม 2565

คอลัมน์ บริหารตนบนความต่าง

เนื่องในโอกาสที่ไทยและซาอุดิอาระเบียได้กลับมาเริ่มความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ และสร้างโอกาสให้เราที่จะได้ไปทำงาน หรือ ดำเนินธุรกิจกับชาวซาอุดิอาระเบีย

ดังนั้น เรื่องหนึ่งที่ผมเห็นว่ามีความสำคัญอย่างมากในการทำงานหรือดำเนินธุรกิจร่วมกับเขานั่นก็คือ การได้รู้จักสไตล์การบริหารแบบซาอุดิอาระเบีย เพราะการได้เข้าใจสไตล์ เข้าใจวิธีคิด วิธีการตัดสินใจทางการบริหารจะช่วยให้เราสามารถปรับงานทำงานร่วมกับผู้บริหารชาวซาอุดิอาระเบีย ไม่ว่าจะในฐานะพนักงานองค์กรหรือฐานะคู่เจรจาทางธุรกิจได้อย่างราบรื่น ไม่มีอุปสรรค

อะไรคือปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อสไตล์การบริหารของผู้บริหารชาวซาอุดิอาระเบียปัจจัยที่สำคัญอย่างมากและวางกรอบรูปแบบการบริหารของผู้บริหารชาวซาอุดิอาระเบียคือ ศาสนาอิสลามที่ฝังรากลงไปในวิถีชีวิตทั้งเรื่องส่วนตัว การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม การทำธุรกิจของที่นี่จะขับเคลื่อนด้วยความเชื่อและค่านิยมของศาสนา

เช่น การต้องจัดเวลาให้กับการทำละหมาดในแต่ละวัน มีความเชื่อว่าการทำงานเป็นสิ่งที่ให้คนสามารถมีความสุขกับชีวิตครอบครัวและชีวิตทางสังคม และแนวคิดทางศาสนาที่เข้มงวดการใช้ชีวิตของผู้หญิง ก็ได้จำกัดการเข้าสู่ตลาดแรงงานของผู้หญิงโดยจะมีเพียง 7% ของกำลังแรงงานทั้งหมด และส่วนใหญ่จะเป็น แพทย์บุคลากรทางการแพทย์ และครู

ทั้งนี้ กฎหมายอิสลามก็ได้มีอิทธิพลต่อคนๆหนึ่งในการกับการทำงานในองค์กร รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน ระบบการอยู่ร่วมกันแบบที่อิงขนบธรรมเนียมที่ตกทอดต่อๆกันมา มีผลอย่างมากต่อค่านิยม พฤติกรรมและรวมไปถึงสไตล์ในการบริหารของผู้บริหาร

สไตล์การบริหารโดยทั่วไปจะมีลักษณะเฉพาะดังนี้1. มีการแยกกันระหว่างหัวหน้ากับลูกน้องอย่างชัดเจน ให้ความเคารพในอำนาจของหัวหน้าอย่างสูงมาก2. หัวหน้าจะตัดสินใจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และลูกน้องจะไม่ตั้งคำถามมากกับการตัดสินใจของหัวหน้า ลูกน้องเองก็ชอบที่จะให้มีการบังคับบัญชาที่ใกล้ชิด 3.เคร่งครัดในกฎเกณฑ์ เลี่ยงการให้คิดนอกกรอบ

4. มีการบริหารแบบไม่เท่าเทียมกัน มีความลำเอียงที่จะช่วยเหลือคน “ในวง” มากกว่า “นอกวง” เหมือนคนในครอบครัวของตัวเอง5. มีการบังคับบัญชาแบบลำดับชั้นที่เข้มข้น บริหารด้วยการออกคำสั่งลงไปจากบนลงล่าง6. หัวหน้าถูกคาดหวังว่าจะดูแลลูกน้องเหมือนพ่อปกครองลูก พวกเขาเชื่อว่า หัวหน้าคือคนที่รู้ดีที่สุดว่า อะไรที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อง7. ลูกน้องจะรอให้หัวหน้าตัดสินใจและสั่งการ

สไตล์การบริหารทีม 1. ความสัมพันธ์สำคัญกว่าเรื่องการต่อรองทางการธุรกิจหรือการทำงาน 2.การสมัครสมานสามัคคีปรองดองในทีมเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น หัวหน้าจะเน้นการสร้างความสมัครสมานสามัคคีมากว่าจะมุ่งให้ได้ผลสัมฤทธิ์แต่คนในทีมไม่สามัคคีกัน 3. การอยู่ร่วมกันในทีมเดียวกันจะอยู่ด้วยการเอาใจใส่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน

4. การให้เกียรติและเคารพในตำแหน่งหน้าที่มีความสำคัญอย่างมาก5. หากต้องการสร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วมกันในการทำงาน จะต้องมั่นใจว่า การสร้างการมีส่วนร่วมนั้นไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งใดๆในที่ทำงาน6. อย่าคาดหวังการตรงต่อเวลาจากทีมที่เป็นชาวซาอุดิอาระเบีย

สไตล์การบริหารเพื่อการจูงใจเนื่องด้วยสังคมของซาอุดิอาระเบียจะให้ความสำคัญอย่างมากกับตำแหน่งและสถานะทางสังคม รวมไปถึง การให้ความสำคัญอย่างมากกับเรื่องครอบครัว

ดังนั้นการสร้างการจูงใจให้กับคนในองค์กร จะเป็นเรื่องเหล่านี้ 1. ทำให้ผลสำเร็จเรื่องงานสะท้อนไปถึงชุมชน ครอบครัว2. ให้ผลตอบแทน รางวัลในลักษณะที่เป็นการเติบโตในตำแหน่งที่สูงขึ้น3. หัวหน้าจะต้องสร้างแรงจูงใจหรือแรงบันดาลใจให้กับลูกน้องเหมือนพ่อที่จะคอยบอกลูกว่างานเป็นอย่างไร จะปรับปรุง พัฒนาเรียนรู้อย่างไร อาจจะต่างจากการ “โค้ช” ในแนวทางของทางตะวันตก

4. การจูงใจด้วยการให้โอกาสไปเรียนรู้ฝึกอบรมพัฒนาเพิ่มเติมยังเป็นเครื่องมือที่ยังใช้ได้ดีในการจูงใจด้วยความเคยชินของการที่คนไทยเราถูกฝึกการบริหารการจัดการในแบบตะวันตกผสมผสานกับความเป็นไทย ซึ่งก็แน่นอนว่า สไตล์การบริหารของเราจะย่อมมีความต่างจากสไตล์การบริหารของซาอุดิอาระเบียอยู่ไม่น้อย

ดังนั้น หากจะต้องไปทำงานหรือติดต่อธุรกิจ ดำเนินธุรกรรมกับชาวซาอุดิอาระเบีย การได้รู้จักสไตล์การบริหารการจัดการย่อมทำให้เราได้ตระหนักและใช้ความระมัดระวังอย่างเหมาะสมในการทำงานร่วมกับเขาสุภาษิตไทยที่บอกว่า “เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม” หรือ สุภาษิตชาวตะวันตกที่ว่า “If you are in Rome, act like a Roman” หมายความว่า “หากเราอยู่ที่กรุงโรมก็ให้ทำตัวเช่นเดียวกับคนกรุงโรม” ยังคงใช้ได้เสมอในโลกของการทำงานข้ามพรมแดนข้อมูลอ้างอิง•