posttoday

ใครกันตีคุณค่าของผู้สูงอายุ?

25 ธันวาคม 2564

ตอลัมน์ Great Talk

ปัจจุบัน ค่านิยมด้านผู้สูงอายุ ถูกตีตราประเมิน “คุณค่า”แบบถดถอย กล่าวคือ เมื่อเราอยู่ในวัยเยาว์เรากลายเป็นอนาคตของชาติ เมื่อเจริญเติบโตสู่วัยทำงานเรากลายเป็นกลุ่มคนสร้างตัว แต่เมื่อเราก้าวเข้าสู่ผู้สูงอายุ เรากลายเป็นภาระของครอบครัว และสังคม Life Cycle เริ่มจาก เริ่มต้น(Introduction) เติบโต(Growth) คงที่(Majority) ไปสู่ ตกต่ำ (Incilne)

“ค่านิยม” แบบนี้ใครกันเป็นตัวกำหนด “คุณค่า”ของวัยชราหรือผู้สูงอายุ เหตุใดผู้สูงอายุถึงถูกตีตราคุณค่าในเชิงนามธรรมเช่นนั้น ทั้งๆที่ในรูปธรรมเรามีโอกาสได้เห็นผู้สูงอายุที่มีกำลังกายและกำลังใจแข็งแรง ทำงานหนักได้ไม่แพ้คนวัยทำงานแม้อาจจะไม่ได้ใช้แรงงานมากนักแต่ประสิทธิภาพการทำงานอาจไม่ได้ลดลงเลย

ด้วยธรรมชาติร่างกายที่ถดถอยอาจทำให้การพักผ่อนของผู้สูงอายุมีปริมาณที่มากขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับวัยทำงาน เช่น คนวัยทำงานอาจทำงานต่อเนื่องได้ 12 ชั่วโมงโดยไม่ต้องพักแต่ผู้สูงอายุอาจทำงานต่อเนื่องได้ 3-5 ชั่วโมง ซึ่งในระหว่างเวลาทำงานอาจให้มีการพักผ่อนประมาณ 15นาที เพื่อให้ประสิทธิภาพของสมองและร่างกายสามารถทำงานต่อเนื่องได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

นอกจากปัญหาของผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเรายังประสบปัญหาของเด็กที่เกิดน้อยลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะทำให้อีกไม่เกิน 20 ปีทั่วโลกจะประสบปัญหาขาดแคลนบุคคลากรในการพัฒนาประเทศชาติและจะกลายเป็นสภาวะถดถอยทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข การปกครองในประเทศ ไปจนถึงระดับสาธารณูประโภคและการบริโภคสินค้าภายในประเทศอีกด้วย

คุณค่าของผู้่สูงอายุอาจเกิดจากการที่เราสร้างค่านิยมที่ถดถอยกันไปเองตามสิ่งที่เราเห็นจากสื่อและผู้คนรอบตัวแต่หากเรามองย้อนกลับ สิ่งที่เราเห็นรอบตัวอาจเกิดจากการซึมซับประสบการณ์ต่างๆผ่านผู้คนและสื่อที่พยายามส่งผ่านค่านิยมแบบถดถอยเช่นนี้เหมือนกัน

สื่อต่างๆตั้งค่านิยมต้องดูแลผู้สูงอายุหากมีใครตั้งคำถามว่า “ผู้สูงอายุดูแลตนเองและครอบครัวได้เพียงแต่คนในครอบครัวอยู่ด้วยกันโดยให้กำลังใจกันก็พอ ช่วยเหลือเพียงทางกายเพราะสภาวะถดถอยทางกายย่อมเป็นไปตามธรรมชาติวัฐจักรชีวิตที่ร่วงโรย แต่หาใช้โรยร่วงไร้ทิศทางดูแลตนเองและพัฒนาประเทศชาติ”

การรับรู้ต่อผู้สูงอายุเป็นอย่างไรในปัจจุบัน?

ร่างกายที่โรยรา + อายุที่มากขึ้น = ผู้สูงอายุความเจ็บป่วย + อายุที่มากขึ้น = ผู้สูงอายุความคิดเดิมๆไม่ยอมเปลี่ยนแปลง + อายุที่มากขึ้น = ผู้สูงอายุศักยภาพในการทำงานลดลง + อายุที่มากขึ้น = ผู้สูงอายุยังมีแนวคำพูดบางอย่างที่ได้ยินอยู่บ่อยๆ เช่น ขี้บ่น คือ คนแก่ นั้่นหมายความว่า ขี้บ่น,พูดเรื่องเดิมๆ + อายุที่มากขึ้น = ผู้สูงอายุ

ในสื่อต่างประเทศเราจะเห็น ดารานักแสดงรุ่นใหญ่ อายุประมาณ 55-60 ปีเล่นบทบาทเป็นพระเอก (Hollywood) กระโดดจากเครื่องบิน วิ่งกระโดดข้ามตึก ต่อยคนทะลุกำแพง แต่เปลี่ยนฉากหน้าเข้ามาที่ประเทศไทยเราเห็น

ผู้สูงอายุรุ่นเดียวกันแสดงบทบาทเป็นคุณปู่/ยายหรือคุณพ่อ/แม่พระเอก เอาแต่ใจ ขี้บ่น โวยวาย คอยนินทาใส่ร้ายอีกฝ่ายนึง อีกภาพนึง ก็ยืนนิ่งเงียบ สุขุมนุ่มลึก น่าหลงไหล ดูเป็นคุณปู่ผู้อบอุ่น

เราเห็นสื่อจากต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นคุณปู่เกาหลี คุณปู่อเมริกา คุณปู่ญี่ปุ่น ออกกำลังกาย ฟิตเน็ตโชว์กล้ามท้องเป็นมัดๆ ขับมอเตอร์ไซค์ฮาเลย์ ใส่แว่นตาดำ แม้แต่ประธานาธิบดีของประเทศรัสเซียอย่าง วาราดิเมีย ปูติน สื่อต่างๆก็แสดงออกให้เห็นถึงความแข็งแรง สุขุมแต่เปี่ยมไปด้วยศักยภาพทั้งด้านความคิดและร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์การสื่อสารผ่านช่องทาง(Channel) Social media หรือรายการทีวี รายการข่าวต่างประเทศ ที่เราได้เห็นเบื้องหลังที่แท้จริงก็คือการสร้างภาพลักษณ์ (ฺฺBranding)

หรือการสร้างตราสินค้าในกลยุทธ์ของแบรนด์นั้น เพราะผู้คนมักเชื่อกับสิ่งที่เห็นด้วยตาหรือประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของตน มากกว่าจะเชื่อในสิ่งที่ตนไม่มีประสบการณ์ร่วม (Brand Experience) แล้วจึงตอบสนองด้วยการสร้างวงจร “การรับรู้” (Brand Perception) ขึ้นมากลายเป็นค่านิยม(Brand Value)ของตนเอง

คำถามสำคัญในบทความนี้คือ เราจะทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุสามารถเปลี่ยนแปลงค่านิยมจากสังคมเหล่านี้ไปสู่ทิศทางที่ควรจะเป็น?

เพราะหากเราไม่เร่งแก้ไขปัญหาเราอาจประสบสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเนื่องจากปัญหาผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างแน่นอน