posttoday

5 ปัจจัยฝ่าท้าทายธุรกิจ

15 ตุลาคม 2564

คอลัมน์ Great Talk

หัวใจสำคัญของธุรกิจให้เติบโตและมีความยั่งยืนในยุคที่เศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง

สิ่งที่สำคัญคือ

1.ขนาดของตลาด สินค้าหรือบริการที่คุณจะนำเสนอต่อโลก(หากคุณมองตลาดโลก)

หรือนำเสนอต่อประเทศ(หากคุณมองตลาดในระดับประเทศ)และลดหลั่นกันไปตามจำนวนของกลุ่มเป้าหมายของคุณเช่น กลุ่มชายหญิง หรือแบ่งตามช่วงอายุของผู้บริโภค 

ดังนั้น ขนาดของตลาดและส่วนแบ่งของตลาดเป็นเรื่องสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดว่า คุ้มค่าหรือไม่กับการลงทุน เช่นหากคุณทำสินค้าสำหรับผู้สูงอายุ คุณต้องหาว่า สินค้าผู้สูงอายุมีอะไรบ้างและผู้สูงอายุมีสัดส่วนเท่าใด

2.แผนการทำธุรกิจ เปรียบได้ดั่ง Blueprintหรือพิมพ์เขียวของการดำเนินธุรกิจว่าควรไปบนวิธีการใดและควรระบุถึงจุดแข็งจุดอ่อนและแผนฉุกเฉิน(Contingency Plan) 

ในกรณีที่ไม่เป็นไปตามแผนที่คาดการณ์ไว้เราจะมีหนทางเช่นไรในการแก้ปัญหาที่ไม่คาดคิดดังกล่าว ฉะนั้นนักกลยุทธ์ที่ดีจะต้องมีหนทางที่คิดไว้แล้วให้มากที่สุดเพื่อผิดแผนให้น้อยที่สุด

3.ทีมงาน การรบต้องมีบุคคลากรฉันใด ธุรกิจต้องอาศัยผู้คนมากมายฉันนั้นในส่วนของทีมงานเป็นปัจจัยที่รวมถึง ทีมงานภายในและทีมงานภายนอก

ทีมงานภายในได้แก่ทีมบริหาร ทีมวางแผน ทีมลงมือและทีมงานด้านการขายเป็นต้น ส่วนทีมงานภายนอกเช่น partner ธุรกิจต่างๆ หรือSupplier รวมไปจนถึงส่วนทีมนอกต่างๆที่จะซัพพอต์หรือเป็นคู่ธุรกิจขององค์กรเรานั้นเอง

4.เงินทุน ปัจจัยนี้ ในการเริ่มต้นธุรกิจอาจต้องอาศัยเงินทุนของเจ้าของกิจการหรืออาจมีการร่วมลงทุนจากผู้คนที่เชื่อใจในฝีมือและแนวทางในการทำงานของผู้บริหารหลัก ร่างกายต้องมีเลือดหล่อเลี้ยง ฉันใด องค์กรธุรกิจไปจนถึงองค์กรการกุศลย่อมต้องมีเงินทุนหล่อเลี้ยงฉันนั้น

 5.เทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ ในปัจจุบัน เทคโนโลยีกลายเป็นส่วนสำคัญ เพราะเมื่อ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆเข้ามา ในชีวิตประจำวันของเรา ทำให้ผู้คนเริ่มคุ้นเคยกับความสะดวกสบายและความรวดเร็วกันมากยิ่งขึ้น 

เราสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆของคนที่เราต้องการรู้ได้จาก google หรือ facebook,Instragram,Twitter เราสามารถดูภาพยนต์เรื่องใหม่ก่อนโรงภาพยนต์จะฉายผ่านมือถือ ทุกอย่างง่ายเพียงอยู่บนฝ่ามือของเรา และเทคโนโลยียังเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ องค์กรลดปัญหาเรื่องบุคลากรไปได้อย่างมาก เพราะหากคนมีปัญหาในส่วนงานที่สามารถใช้เทคโนโลยีทดแทนได้ องค์กรจะเลือกใช้เทคโนโลยีทดแทนทันที

ดังนั้นผู้บริหารอาจมีความจำเป็นต้องเรียนรู้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันเพิ่มเติมโดยเปิดมุมมองใหม่ๆของคำว่า “ไม่ทันโลก” กลายเป็น “เรียนรู้ที่จะเข้าใจโลก”กันมากขึ้น หากท่านยังเป็นผู้ที่ทำธุรกิจหรือเป็นพนักงานท่านหนึ่งในองค์กรของท่าน

ในปัจจุบันเราอาจใช้เฟสบุ๊คเพื่อติดตามแนวคิดของมวลชนในการปฏิสัมพันธ์ต่อเรื่องราวต่างๆเช่น แนวทางเศรษฐกิจหรือแตกแขนงไปยังความคิดที่แตกต่างกันของแนวความคิดเห็นทางการเมือง

หรือเช่นหัวหน้าแผนกฝ่ายบุคคลอาจใช้เฟสบุ๊คเพื่อดูแนวความคิดของทีมงานเพื่อสังเกตุถึงพฤติกรรมต่างๆในองค์กรเพื่อการปรับใช้เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ขององค์กร

ทุกแนวทางขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่าเราใช้ ช่องทางเหล่านี้เพื่อประโยชน์ใด

อาวุธทางปัญญาย่อมแหลมคมได้หากเราเรียนรู้ที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่องและใช้มันให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์