posttoday

ความเหลื่อมล้ำท่ามกลางวิกฤต

06 มกราคม 2564

คอลัมน์ Great Talk

ความเหลื่อมล้ำที่มากขึ้นและหนี้ครัวเรือนที่มากจนเกินจะรับไหว

หากย้อนไป 10 ปีที่ผ่านมาเราเผชิญความไม่แน่นอนจากหลาย เหตุการณ์ทั้งปัญหาการเมือง น้ำท่วมและวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ปี 51 

ทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้ เศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศเติบโตลดลง

ในปีที่ผ่านมาเรายังมีเหตุการณ์โควิดที่กระทบต่อกันมาปีข้ามปีแล้วยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงอย่างง่ายดายนั้นทำให้เศรษฐกิจไทยยิ่งประสบการชะลอตัวอย่างหนัก

โควิด19 ทำให้ เทคโนโลยีเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันเรามากขึ้นแต่ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถเข้าถึงได้ง่าย

สาเหตุที่เทคโนโลยียังเข้าถึงยากเพราะการกระจายของรายได้และความเหลื่อมล้ำยังมากเกินไป “คนรวย รวยเกินไป ส่วนคนจน จนกันมากมาย”

1% ของกลุ่มคนรวยที่มีรายได้สูงสุดของประเทศ มีรายได้รวมกันถึง 20%ของรายได้คนไทยทั้งประเทศ

ในปี พ.ศ. 2562 คนไทยทั่วราชอาณาจักรมีรายได้ต่อเดือน เฉลี่ยคนละ 26,018 บาท และเมื่อพิจารณาตามแต่ละภาค กรุงเทพฯ และ 3 จังหวัดปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 37,751 บาท ซึ่งนับว่าสูงกว่าภาคอื่นๆ มาก 

ในขณะรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของภาคกลาง ได้แก่ 25,782 บาท ภาคเหนือ 20,270 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20,600 บาท และภาคใต้ 25,647 บาท จะเห็นได้ว่าคนไทยในกรุงเทพฯ และ 3 จังหวัดปริมณฑลมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูงกว่าคนในจังหวัดอื่นๆ

โดยจากรายชื่อตระกูลและอภิมหาเศรษฐี 3 อันดับแรกของไทยจะเห็นมูลค่าความมั่งคั่งที่แตกต่างจากประชาชนทั่วไปอย่างเห็นได้ชัดเช่น

อันดับ 1: พี่น้องเจียรวนนท์ จากเครือเจริญโภคภัณฑ์

มูลค่าทรัพย์สิน: 2.73 หมื่นล้านเหรียญ / 8.92 แสนล้านบาท 

อันดับ 2:เฉลิม อยู่วิทยา จากเครือกระทิงแดง

มูลค่าทรัพย์สิน: 2.02 หมื่นล้านเหรียญ / 6.6 แสนล้านบาท

อันดับ 3:เจริญ สิริวัฒนภักดี จากเครือ ไทยเบฟเวอเรจ

มูลค่าทรัพย์สิน: 1.05 หมื่นล้านเหรียญ / 3.43 แสนล้านบาท

นี่คือความแตกต่างที่เห็นได้ชัดของความต่างชั้นกันระหว่าง “คนจนกับคนรวย” 

ในทางกลับกันหากไม่มีผู้คนเหล่านี้การจ้างงานให้กับกลุ่มพนักงานทั่วไปก็อาจไม่เกิดขึ้น 

ปัญหาหนี้ครัวเรือน ในปี 62 อยู่ที่ 79.8% และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ 80.1% ในไตรมาสแรกของปี 2563 และในปี 64 คาดว่าจะขยับขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ 83.8% หรืออาจมากกว่านั้น หมายความว่า ประชาชนทั่วไป 100 คน จะมีติดหนี้แบงค์อยู่ประมาณ 84 คน ซึ่งอันนี้ไม่รวมถึงหนี้นอกระบบ

นี่คือสิ่งที่น่ากลัวว่าประชาชนจะอยู่ต่อไปอย่างไร หากตนเองมีหนี้ที่ต้องชดใช้พร้อมกับรับมือกับสถานการณ์ เศรษฐกิจที่ตกต่ำเช่นนี้?