posttoday

เอสเอ็มอี ยั่งยืน

01 กันยายน 2562

คอลัมน์จับทิศธุรกิจเอสเอ็มอี

คงปฎิเสธไม่ได้ว่า….ตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากที่เราได้ทราบข่าวร้ายการจากไปของ น้องมาเรียม พยูนที่เสียชีวิตจากการกินถุงพลาสติก และจากนั้นก็มีภาพของเหล่าสัตว์ป่าอีกหลายชีวิตที่จบลงในลักษณะเดียวกัน และเป็นที่รู้กันดีถึงปัญหาภาวะโลกร้อน กระแสความเปลี่ยนแปลงที่ส่งสัญญานจากธรรมชาติ อย่างธารน้ำแข็งขนาดมหึมาที่ขั้วโลกละลาย

ทำให้กระแสเรื่องสิ่งแวดล้อมถูกหยิบยกมาพูดกันมากในช่วงนี้ ด้วยกระแสรักษ์โลกที่ดูจะแผ่ขยายผ่านโซเชียลมีเดียอยู่แทบทุกวัน ทำให้แบรนด์ใหญ่ๆระดับ Global Brand จนถึงแบรนด์เล็กๆ SME หันมาทำการตลาดผ่านสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

หากแต่ในไทย สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถึงเวลาที่ใช่และเหมาะสมแล้วหรือยัง เราวิเคราะห์ได้จากหลัก 4 ข้อ ดังนี้

1.Demands ศึกษาความต้องการลูกค้าและศึกษาความเป็นไปได้ในทิศทางการผลิตสินค้าของตนเองว่าไปในทิศทางเดียวกันมั๊ย

2. Product Positioning วางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ โดยแบ่ง Level ของลูกค้า
2.1 High กลุ่มของลูกค้าที่ซื้อสินค้าแบรนด์เนม กำลังซื้อสูง ชอบสินค้าที่มีเอกลักษณ์ มี Story 2.2 Medium กลุ่มลูกค้าประเภทนี้นิยมสินค้ามีดีไซน์ มีคุณภาพแต่ราคาจับต้องได้ 2.3 Basic กลุ่มลูกค้าที่นิยมสินค้า Mass Production ราคาปานกลาง-ต่ำ เน้นซื้อบ่อยเปลี่ยนตามกระแสแฟชั่น โดยปรกติแล้วลูกค้าที่นิยมชมชอบสินค้าออร์แกนิค เป็นมิตรสิ่งแวดล้อมจะจัดอยู่กลุ่ม Medium to High-end

3. Certificate เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ตัวผลิตภัณฑ์ ควรมีใบรับรองคุณภาพสินค้าหรือข้อมูล และแหล่งผลิตสินค้าเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ลูกค้าว่าสินค้าได้มาตรฐาน ไม่ย้อมแมวขาย

4. Pain Point ข้อนี้สำคัญที่สุด ไม่ว่าสินค้านั้นจะช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นสินค้าออร์แกนิคที่ดีที่สุด แต่ถ้าไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้า ก็อาจตกม้าตายในการจำหน่าย ฟังเสียงลูกค้าให้มาก

พิจารณาว่าสินค้าเราจะช่วยแก้ปัญหาตรงไหนได้บ้าง นั่นจะเป็นการทำธุรกิจสินค้า อีโค ได้แบบยั่งยืน หลักการตลาดที่กล่าว เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นในการวิเคราะห์ก่อนผลิต ในการทำสินค้าที่เป็นมิตรต่สิ่งแวดล้อม สำคํญที่สุดคือต้องทำและมีความสุขมีส่วนร่วมกับชุมชนและมีความรับผิดชอบต่อสังคม จะเกิด Sustainable Business เป็นธุรกิจที่ยั่งยืน