posttoday

ปรับแผนเชื่อมทางด่วน 6 พันล้านหลังเอกชนเมินลงทุน

26 กันยายน 2561

การทางพิเศษเตรียมเสนอปรับแผยเชื่อมทางด่วน อุตราภิมุขและทางพิเศษศรีรัช หลังเอกชนปฏิเสธลงทุน ขอเปลี่ยนมือให้รัฐลงทุนแทนพร้อมเสนอแนวเส้นทางใหม่

การทางพิเศษเตรียมเสนอปรับแผยเชื่อมทางด่วน อุตราภิมุขและทางพิเศษศรีรัช หลังเอกชนปฏิเสธลงทุน ขอเปลี่ยนมือให้รัฐลงทุนแทนพร้อมเสนอแนวเส้นทางใหม่

แหล่งข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)เปิดเผยว่ากทพ.เตรียมเสนอคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด) เพื่อขอปรับแผน โครงการทางเชื่อมโครงข่ายทางยกระดับ อุตราภิมุขและทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานคร (Missing Link) ระยะทาง2.6กม. วงเงิน 6.2 ล้านบาท หลังจากที่บริษัทเอกชนผู้ดูแลทางด่วนทั้งสองสายปฏิเสธที่จะลงทุนโครงการจึงต้องขอเปลี่ยนมือให้รัฐบาลลงทุนแทนตามนโยบายคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร .) ซึ่งมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์เป็นประธานการประชุม ซึ่งต้องการให้ผลักดันโครงการดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาจราจร โดยฝ่าย บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จํากัด ชี้แจงกทพ.ว่าด้วยอายุสัมปทานที่เหลืออยู่เพียง 13 ปี ประกอบกับเวลาก่อสร้างถึง 4 ปี จึงมองว่าไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนครึ่งหนึ่งหรือราว 3,100 ล้านบาทเพื่อก่อสร้างทางด่วนดังกล่าวเพราะมีโอกาสสูงที่จะไม่คุ้มทุน ขณะที่บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ชี้แจงว่าหากอีกฝ่ายไม่ร่วมลงทุนดังนั้นBEMจึงไม่ต้องการลงทุนฝ่ายเดียวถึง 6,200 ล้านบาท

แหล่งข่าวกทพ.กล่าวต่อว่าเมื่อเป็นดังนั้นแล้วกทพ.จึงต้องการเสนอบอร์ดและคจร.เพื่อขอให้พิจารณาแนวทางดำเนินการเพราะปัจจุบันกทพ.อยู่ระหว่างลงนามสัญญางานฐานรากทางด่วน missing link มูลค่า 350 ล้านบาท ระยะทาง 400 ม. โดยบริษัทผู้ชนะการประมูลคือ บริษัท เสริมสงวนก่อสร้าง จำกัด จะลงนามกันในวันที่ 28 มิ.ย.นี้ แบ่งเป็นสัญญางานก่อสร้างเสาตอม่อแปดต้น วงเงิน 180 ล้านบาท และสัญญางานโครงสร้างส่วนบน วงเงิน 170 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 12 เดือน เริ่มก่อสร้างตอม่อก่อนในปีนี้ก่อสร้างส่วนบนในช่วงกลางปีหน้า อย่างไรก็ตามเบื้องต้นกทพ.มีวิธีการปรับแผน

สองแนวทางคือ 1.ใช้ฐานรากดังกล่าวเชื่อมทางด่วนศรีรัช-วงแหวนเข้ากับโครงการทางด่วนทดแทน N1 ช่วงเกษตร-ต่างระดับรัชวิภา โดยใช้งบประมาณของรัฐบาล

2.ก่อสร้างทางด่วนเชื่อมตามแนวเส้นทางเดิมแต่เปลี่ยนมือให้กทพ.และกรมทางหลวง(ทล.)เข้ามาลงทุนแทนเอกชนทั้งสองเจ้าโดยมีส่วนแบ่งตามที่ตกลงกัน เช่น หากรถวิ่งเข้าโทลล์เวย์เงินก็เป็นของทล. ในทางกลับกันกทพ.จะเก็บรายได้รถที่วิ่งเข้ามาในทางด่วนศรีรัช-วงแหวน อย่างไรก็ตามจะจะต้องเร่งทบทวนปริมาณการจราจรใหม่ควบคู่กันไปเพื่อทำให้โครงการมีความคุ้มค่ามากที่สุด ทั้งนี้ทั้คาดการณ์ปริมาณการจราจเดิมไว้ที่ 64,000 คันต่อวัน แบ่งเป็นปริมาณจราจรฝั่งศรีรัช-โทลล์เวย์ 3,2000คันต่อวัน และปริมาณการจราจรฝั่งโทลล์เวย์-ศรีรัช 32,000 คันต่อวัน

รายงานข่าวกทพ.ระบุว่าในวันนี้( 26 ก.ย.) นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคมเตรียมเดินทางเข้าเยี่ยมชมโครงการเชื่อมทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกับทางด่วนศรีรัช ด้านทิศเหนือ (มุ่งไปทางแจ้งวัฒนะ) ระยะทาง 360 เมตร วงเงิน 275 บาท หลังจากดำเนินการเสร็จเรียบร้อยพร้อมเปิดใช้ในวันที่ 30 ก.ย.นี้ เพื่อแก้ไขปัญหาจราจร