posttoday

ความท้าทายยุค 4.0

02 สิงหาคม 2561

ประเทศไทยมีการสร้างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นเรื่องดีเพราะเป็นแผนระยะยาว แต่สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ เพื่อก้าวสู่ความเป็นไทยแลนด์ 4.0 ประกอบไปด้วย 3 ประเด็นหลัก

ประเทศไทยมีการสร้างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นเรื่องดีเพราะเป็นแผนระยะยาว แต่สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ เพื่อก้าวสู่ความเป็นไทยแลนด์ 4.0 ประกอบไปด้วย 3 ประเด็นหลัก

ปริญญ์ พานิชภักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ซีแอลเอสเอ (ประเทศไทย) เปิดเผยในหัวข้อ “ตลาดการเงินจากเทคโนโลยีทำลายล้างสู่การสร้างนวัตกรรม” ว่า ความจริงประเทศไทยเจอความท้าทายตั้งแต่ยุค 0.4 ถึง 4.0 ล้วนต่างมีฐานรากที่เกิดขึ้นหรือถูกทำลายล้างมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้งทำให้บริษัทเอกชนและธนาคารพาณิชย์ได้เรียนรู้หลายอย่างจากวิกฤตนั้น

หลังวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ เศรษฐกิจ ผลประกอบการบริษัท หรือหุ้น ผลพวงที่เกิดขึ้นจากระบบทุนนิยม พอเศรษฐกิจไม่ดี คนที่ได้รับผลกระทบก็คือคนทั่วไป  ทางการสหรัฐ ใช้มาตรการการเงินอุ้มแบงก์ ออกมาตรการเชิงปริมาณ (คิวอี) จนนำไปสู่การไม่ไว้วางใจของผู้คุมกฎหรือกำกับดูแล และนำไปสู่กระบวนการตัดตัวกลางออกไป มองว่าในอนาคตการทำหน้าที่ของตัวกลางไม่มีความจำเป็นแล้ว

หลายสิ่งที่เกิดจากเทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นสิ่งที่ธุรกิจการเงินแบบเก่าไม่มีนั่นคือ “ความโปร่งใส” เพราะบล็อกเชนทำให้เกิดการทำธุรกรรมระหว่างกันแลกเปลี่ยนและทำได้ด้วยตัวเอง เช่น การโอนเงินระหว่างประเทศ หรือด้านกฎหมายใช้โรบอตในการตรวจจับช่องโหว่อุตสาหกรรมการผลิตยาใช้บล็อกเชนบันทึกการทำวิจัย พัฒนา ตั้งแต่การตั้งต้นการใส่สูตรเคมีหรือภาคของเกษตรกร บล็อกเชนช่วยทำการเพาะปลูกของเกษตรมีมูลค่าเพิ่มได้

ประเทศไทยมีการสร้างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นเรื่องดีเพราะเป็นแผนระยะยาว แต่สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ เพื่อก้าวสู่ความเป็นไทยแลนด์ 4.0 ประกอบไปด้วย 3 ประเด็นหลัก

“กฎหมาย” ประเทศไทยมีหลายฉบับแต่ไม่ทันต่อการขับเคลื่อนประเทศ กฎหมายต่างประเทศเปิดและรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ต่างประเทศต้องการเข้ามาถือหุ้นในฟินเทคไทย แต่เรายังมีกฎหมายไม่ให้ต่างด้าวถือหุ้นเกิน 50% กว่าจะขออนุญาตกระทรวงพาณิชย์หรือกระบวนการต่างๆ ใช้เวลาเกือบ 1 ปี ส่วนกระบวนการระดมทุนผ่านแพลตฟอร์มคราวด์ฟันดิ้งหรือสินทรัพย์ดิจิทัลก็เกิดไม่ได้ เพราะปกติเทคโนโลยีเกิดขึ้นเร็ว เปลี่ยนแปลงเร็ว แต่กฎหมายไทยยังไม่เปิดรับซึ่งเท่ากับประเทศไทยจะเสียเปรียบและอาจจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

“การแข่งขัน” ธุรกิจในประเทศไทยมีเสือนอนกินเยอะ เฉพาะรัฐวิสาหกิจ ช่วงเศรษฐกิจโลกมีปัญหารัฐเข้าไปช่วยได้ แต่สภาวะที่เศรษฐกิจขยายตัวดี หน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจต้องคิดปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเทียบกับเอกชน ต้องเปลี่ยนแปลงให้เกิดภาวะการแข่งขัน กระบวนการจัดซื้อมีความโปร่งใสหรือไม่ แต่ละปีใช้งบประมาณเท่าไร ทั้งที่หลายอุตสาหกรรมเป็นเจ้าตลาดเอง (โมโนโพลี)

ถึงเวลาที่หน่วยงานกำกับหรือผู้คุมกฎทั้งหลาย เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องคิดในมิติที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมมากกว่าควบคุมกฎเกณฑ์หรือลงโทษผู้ที่ทำความผิด เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ออกกฎเกณฑ์รองรับการระดมทุนสินทรัพย์ดิจิทัล (ไอซีโอ)แต่กรมสรรพากรเก็บภาษีสำหรับผู้ลงทุน 15% คนออก 27% ทำให้สตาร์ทอัพใหม่ๆ ไประดมทุนไอซีโอที่สิงคโปร์

“ความคิด” (Mind Set) คือสิ่งที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เพื่อก้าวไปสู่ยุค 4.0 ประชาชนทุกคนต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง ศึกษาหาความรู้พัฒนาตัวเอง หัวหน้าองค์กร ผู้คุมกฎเกณฑ์หรือกฎหมายก็ต้องเปลี่ยนแปลงความคิดพร้อมเผชิญกับความท้าทาย ยิ่งนับวันเรื่องโซเชียลมีเดียกำลังเข้ามา

ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยต้องทำอย่างจริงจังมากกว่าพูดกันอย่างเดียว