posttoday

กรมส่งเสริมสหกรณ์ แจงยังไม่พบทุจริตงบไทยนิยมยั่งยืน

20 มิถุนายน 2561

อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์กำชับทุกจังหวัดส่งเจ้าหน้าที่ติดตามการจัดซื้อจัดจ้างที่ใช้งบไทยนิยมยั่งยืน เบื้องต้นยังไม่พบผิดปกติ

อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์กำชับทุกจังหวัดส่งเจ้าหน้าที่ติดตามการจัดซื้อจัดจ้างที่ใช้งบไทยนิยมยั่งยืน เบื้องต้นยังไม่พบผิดปกติ

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมได้รับงบไทยนิยมยั่งยืนจำนวน 1,791 ล้านบาทจากงบกลางปีที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับ 2.4 หมื่นล้านบาท อุดหนุนสหกรณ์การเกษตร 307แห่งใน 67 จังหวัด โดยขณะนี้ กรมได้จัดสรรงบให้สหกรณ์ที่เข้าโครงการแล้ว ซึ่งแต่ละแห่งต้องสมทบงบเพิ่มไม่น้อยกว่า 10% ของงบที่ได้รับ และแต่ละสหกรณ์อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ที่คณะกรรมการดำเนินการของแต่ละสหกรณ์ดำเนินการเอง ซึ่งล่าสุดได้บริษัทผู้รับจ้างแล้ว 278แห่ง เหลืออีก 26 แห่งอยู่ระหว่างดำเนินการจะเร่งให้เสร็จในเดือนมิ.ย.นี้ ซึ่งกรมได้กำชับให้ทุกจังหวัดส่งเจ้าหน้าที่ติดตามขบวนการจัดซื้อจัดจ้างและการก่อสร้างเป็นรายสหกรณ์ว่าดำเนินการถูกต้องหรือไม่ เบื้องต้นยังไม่พบผิดปกติ และสามารถประหยัดงบประมาณเบื้องต้นร่วม 57.49 ล้านบาท

"แต่ละสหกรณ์ให้ดำเนินการตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งแต่ละสหกรณ์ทำแบบเสนอมาตามความต้องการใช้เสนอเข้ามาเช่น รถโฟล์คลิฟ รถตัก แม้ว่าจะยกของได้ปริมาณ 2 ตันเท่ากัน แต่อาจราคาต่างกันเนื่องจากคุณสมบัติและสมรรถนะในการใช้งานไม่เท่ากัน เช่นสามารถยกของได้สูงกว่า และยาวกว่า ส่วนกำลังเครื่องยนต์ สหกรณ์จะเป็นผู้กำหนด ซึ่งกรมได้กำหนดว่าต้องมีสมาชิกสหกรณ์เข้าร่วมเป็นกรรมการตรวจรับของด้วยอย่างน้อย 1 คน เบื้องต้นยังไม่พบผิดปกติ และสามารถประหยัดงบประมาณเบื้องต้นร่วม 57.49 ล้านบาท และได้กำชับแล้วว่าหากพิบทุจริตสหกรณ์ใดจะดำเนินการอย่างเด็ดขาด นอกจากนั้นก่อนหน้า กรมได้ตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจของกรมเพื่อลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่อเนื่อง โดยคณะติดตามมีตัวแทนภาคประชาชนในจังหวัดร่วมด้วยอย่างน้อย 2 คน ทั้งนี้การดำเนินการกำหนดให้แล้วเสร็จภายในเดือนธ.ค. 61 เพื่อรองรับผลผลิตในปี 2562"นายพิเชษฐ์กล่าว

สำหรับโครงการงบไทยนิยมยั่งยืน จัดอุดหนุนสหกรณ์การเกษตร 307แห่งใน 67 จังหวัด ประกอบด้วยโครงการจัดเก็บพืชผลทางการเกษตรหรือโครงการแก้มลิง 1,017 ล้านบาท ให้สหกรณ์ 146 แห่ง สำหรับสร้างฉาง โกดัง ลานตาก เพื่อเก็บผลผลิตสินค้าเกษตร ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลังเพิ่มขึ้ร 7.15 แสนตัน เกษตรกรได้รับประโยชน์ 2.5 แสนราย เกษตรกรมีรายได้เพิม 200-500 บาทต่อตัน 2. โครงการรวบรวมและแปรรูปยางพารา วงเงิน 340 ล้านบาท ให้สหกรณ์ 62 แห่ง เก็บชะลอและแปรรูปผลผลิตยางพารา 1.5 แสนตัน เกษตรกรได้ประโยชน์ 4.2 หมื่นราย มีรายได้เพิ่มขึ้น รายละ 1,190 บาทต่อตัน 3. โครงการแปรรูปผลผลิตทางการเกาตร วงเงิน 410 ล้านบาท ให้สหกรณ์ 99 แหง สร้างอุปกรณ์แปรรุปและตรวจสอบคุณภาพผลผลิต เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ โรงสีข้าว ห้องเย็น เครื่องชั่ง เครื่องคัดเกรด อาคารแปรรูปให้สินค้าเกษตร 9 ชนิด ได้แก่ ผัก /ผลไม้ สมุนไพร ปาล็มน้ำมัน กาแฟ โคนม ประมง ปศุสัตว์ และมันสำปะหลัง จำนวน 5.6 หมื่นตัน เกษตรกรได้รับประโยชน์ 3 แสนราย ช่วยเพิ่มปริมาณธุรกิจไม่น้อยกว่า 3% และ 4.โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร 22 ล้านบาท ส่งเสริมการประกอบอาชีพให้กับชาวบ้านที่ได้รับการจัดสรรที่ดินไม่น้อยกว่า 10,320 ราย