posttoday

ร้องรัฐรื้อสัมปทานดิวตี้ฟรี

29 มีนาคม 2561

3 สมาคมการค้าร่อนหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีรื้อรูปแบบสัมปทานดิวตี้ฟรีสุวรรณภูมิ ชูโมเดล ซางฮี-อินชอน สร้างความโปร่งใส

3 สมาคมการค้าร่อนหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีรื้อรูปแบบสัมปทานดิวตี้ฟรีสุวรรณภูมิ ชูโมเดล ซางฮี-อินชอน สร้างความโปร่งใส

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ผู้แทนสมาคมการค้าทั้ง 3 สมาคม ประกอบด้วย สมาคมผู้ค้าปลีกไทย สมาคมการค้าร้านค้าปลอดอากรไทย และสมาคมศูนย์การค้าไทย ได้รวมตัวกันยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้รัฐบาลปรับปรุงระบบสัมปทานธุรกิจค้าปลอดภาษีอากร หรือดิวตี้ฟรีในสนามบินสุวรรณภูมิ

นายฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัท ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) อยู่ระหว่างการจัดทำร่างทีโออาร์ในการเปิดประมูลสัมปทานร้านค้าปลอดภาษีอากร หรือดิวตี้ฟรี ในพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งจะหมดสัมปทานในเดือน ก.ย.  2563 นี้ โดยคาดว่าจะเริ่มกระบวนการเปิดประมูลในปี 2561 ดังนั้นสมาคมการค้าทั้ง  3 แห่ง จึงถือโอกาสยื่นข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อให้การประมูลที่กำลังจะเกิดขึ้นมีความโปร่งใส เป็นธรรม เกิดประโยชน์ต่อการทำธุรกิจภายในสนามบิน และผู้โดยสารที่ใช้บริการสนามบิน

ทั้งนี้ ข้อเสนอที่ 3 สมาคมยื่นต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา ประกอบด้วย การปรับรูปแบบการให้สัมปทานจากปัจจุบันที่ให้สัมปทานภายในสนามบินแก่ภาคเอกชนรายเดียวให้เปลี่ยนเป็นการแบ่งสัมปทานออกเป็นหลายสัญญาเพื่อให้ภาคเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญในการจำหน่ายสินค้าต่างๆ เข้ามาประมูล โดยสัญญาการประมูลอาจแบ่งตามประเภสินค้า เช่น  หมวดอาหาร หมวดเสื้อผ้า หมวดสินค้าอื่นๆ ซึ่งเป็นรูปแบบที่สนามบินนานาชาติขนาดใหญ่ ในหลายประเทศมีการใช้อยู่ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการแข่งขันในเรื่องของราคาและคุณภาพสินค้าที่มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น สนามบินซางฮี ในสิงคโปร์ สนามบินอินชอน ในเกาหลีใต้ ก็ใช้รูปแบบนี้

นอกจากนี้ ให้ลดระยะเวลาของการให้สัมปทานลงจากปัจจุบัน 10 ปี ให้ลดลงเหลือ 5-7 ปี และปรับเพิ่มผลตอบแทนสัมปทานให้สูงขึ้น โดยมีอัตราเพดานผลตอบแทนสัมปทานสูงสุ ดไม่เกิน 25-30% ของรายได้โดยประมาณ ซึ่งสูงกว่าในระดับปัจจุบันที่มีอัตราผลตอบแทน อยู่ที่ 15-20%

สำหรับขั้นตอนการจัดทำทีโออาร์ ดิวตี้ฟรี ขอให้มีความโปร่งใสตั้งแต่ ขั้นตอนการจัดจ้างที่ปรึกษา และควร ตั้งคณะกรรมการที่มาจากผู้แทนจาก คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า สำนัก งานผู้ตรวจการแผ่นดิน (สตง.) และองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่อเป็นผู้ให้คำแนะนำหรือเป็นผู้สังเกตการณ์ กระบวนการกำหนด หลักเกณฑ์และเงื่อนไขทีโออาร์ และการคัดเลือกผู้ได้รับสัมปทาน รวมถึงกำหนดระยะเวลาการเตรียม เสนอแผนงานเข้าร่วมประมูลไม่น้อยกว่า 90 วัน

ภาพประกอบข่าว