posttoday

กทพ. จ่อเปิดประมูลทางด่วนพระราม3-ดาวคะนองในมี.ค. 61

28 พฤศจิกายน 2560

กทพ. เตรียมเปิดประมูลทางด่วนพระราม3-ดาวคะนอง 3 หมื่นล้าน ภายในมี.ค. 61 พร้อมสั่งพับแผนทางด่วนเชียงใหม่

กทพ. เตรียมเปิดประมูลทางด่วนพระราม3-ดาวคะนอง 3 หมื่นล้าน ภายในมี.ค. 61 พร้อมสั่งพับแผนทางด่วนเชียงใหม่

พล.อ.วิวรรธน์ สุชาติ ประธานกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการทางด่วนที่จะเปิดระดมทุนผ่านกองทุน TFF จำนวน 2 โครงการวงเงินราว 4.9 หมื่นล้านบาทได้แก่ โครงการทางด่วน พระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนตะวันตก ระยะทาง 17 กม. วงเงิน 3 หมื่นล้านบาทนั้นอยู่ระหว่างการหาตัวที่ปรึกษาคุมงาน คาดว่าจะเปิดประมูลได้ภายในเดือน มี.ค. 2561 ส่วนโครงการทางด่วนสายเหนือตอน N2 วงเงิน 1.94 หมื่นล้านบาท อยู่ในขั้นตอนที่กระทรวงคมนาคมจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.สำหรับความคืบหน้ากองทุนรวมโครงร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย หรือ Thailand Future Fund (TFF) ที่จะขายหน่วยกองทุนให้ประชาชนและสถาบันการเงินที่สนใจ และนำเงินมาลงทุนก่อสร้างทางด่วนใหม่สายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก ระยะทางประมาณ 17 กม. วงเงินกว่า 30,000 ล้านบาท นั้น อยู่ระหว่างการดำเนินการในขั้นตอนจดทะเบียน คาดว่าไม่น่าจะเกินเดือนธ.ค.นี้ รวมถึงจะทำเรตติ้งและทำความเข้าใจกับสถาบันการเงินด้วย จากนั้น จะทำหนังสือชี้ชวนในต้นเดือนม.ค.2561ต่อไป

สำหรับความคืบหน้าเชื่อมต่อทางด่วนช่วง ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร ระหว่างทางยกระดับอุตราภิมุขและทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครตะวันตกนั้นล่าสุดมีตัวเลขวงเงินโครงการอยู่ที่ 6,219 ล้านบาทนั้นคาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในเดือนส.ค.61

ส่วนโครงการทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต เงินลงทุน 13,000 ล้านบาท ขณะนี้ผ่านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ขั้นวิชาการแล้ว เหลืออีไอเอขั้นสุดท้าย ขณะเดียวกันได้นำเสนอกระทรวงคมนาคมแล้ว เพื่อให้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือ พีพีพี 

พล.อ.วิวรรธน์กล่าวต่อว่าการศึกษาแผนแม่บททางพิเศษในจ.เชียงใหม่นั้น จากการลงพื้นที่และผลการศึกษาแล้วพบว่าคงเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากไม่สามารถที่จะเชื่อมกับถนนต่างๆในตัวเมืองชียงใหม่ที่ค่อนข้างแออัดได้อย่างจริงจัง และอาจไม่สามารถแก้ปัญหาการจราจรได้ อีกทั้งคนในพื้นที่ยังไม่มีความต้องการ เนื่องจากความสูงของทางด่วนจะไปบดบังทัศนียภาพเมืองเชียงใหม่ ดังนั้นจำเป็นต้องยกเลิกโครงการไปในที่สุด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การศึกษาแผนแม่บททางพิเศษในจ.เชียงใหม่ ใช้เวลาดำเนินการมากว่า 20 ปี แต่ล่าสุดก็ไม่สามารถที่จะดำเนินโครงการต่อไปได้ เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ไม่เห็นด้วยกับการสร้างสิ่งก่อสร้างที่จะอยู่สูงกว่าพระครูบา บริเวณทางขึ้นดอยสุเทพ เพราะถือเป็นเรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่น อีกทั้งประชาชนยังไม่ต้องการให้เข้าไปยุ่งหรือแตะเกาะเมือง ทั้งนี้ยังมีข้อเสนอให้ทำเป็นทางด่วนเป็นอุโมงค์ใต้ดิน

ภาพประกอบข่าว