posttoday

สหภาพรถไฟฯค้านตั้งบริษัทลูกหวั่นเปิดช่องแปรรูป

14 พฤศจิกายน 2560

สหภาพรถไฟฯค้านตั้งบริษัทลูกหวั่นแปรรูปองค์กรยกสมบัตินับแสนล้านให้เอกชน คาดค่าโดยสารพุ่ง 400% หากเอกชนเข้ามาบริหาร

สหภาพรถไฟฯค้านตั้งบริษัทลูกหวั่นแปรรูปองค์กรยกสมบัตินับแสนล้านให้เอกชน คาดค่าโดยสารพุ่ง 400% หากเอกชนเข้ามาบริหาร

จากกรณีที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้มีมติเห็นชอบพ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ.... ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกฤษฎีกาเพื่อออกกฎหมายพ.ร.บ.บังคับใช้ต่อไป

นายสุภวัฒน์ รัตนคชา รองประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) เปิดเผยว่า สร.รฟท.มองว่าขั้นตอนขอออกพ.ร.บ.ดังกล่าวนำไปสู่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจการรถไฟ เนื่องจากมีการเปิดช่องให้รฟท.ก่อตั้งบริษัทลูก 3 แห่งได้แก่ บริษัทบริหารทรัพย์สิน บริษัทเดินรถและบริษัทซ่อมบำรุงรางและล้อเลื่อน อีกทั้งในบางมาตรายังมีทิศทางสนับสนุนเปลี่ยนแปลงผู้บริหารจากรัฐมาเป็นเอกชน นอกจากนี้สร.รฟท.ยังตั้งข้อสังเกตุว่าการออกพ.ร.บ.ดังกล่าวเปรียบเสมือนเป็นการที่ภาครัฐลงทุนสร้างโครงการรถไฟทางคู่หลายแวนล้านบาทแล้วยกให้เอกชนไปดูแลหาผลประโยชน์ผ่านบริษัทลูกทั้ง 3 แห่ง โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 21 ก.ย. สร.รฟท.ได้เข้ายื่นหนังสือต่อนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคมเพื่อขอให้ยุติขั้นตอนการออกพ.ร.บ.ขนส่งทางรางเพราะยังไม่ได้ผ่านกระบวนการเปิดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เสนอความคิดเห็นและผลกระทบต่อพนักงานรถไฟและประชาชนในอนาคต

นายสุภวัฒน์กล่าวต่อว่า สร.รฟท.จึงขอเสนอ 3 แนวทางให้รัฐบาล ประกอบด้วย 1.ชะลอกระบวนการออกกฎหมายพ.ร.บ.ขนส่งทางรางไปก่อน เพื่อนำกลับมาเปิดเวทีเพื่อรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายให้รอบด้านอีกครั้ง 2.ชะลอแนวทางการจัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สิน เพราะมีความเสี่ยงเรื่องแนวทางจัดหารายได้ที่จะต้องนำเข้ามาเพื่อพัฒนากิจการรฟท.เนื่องจากเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ สถานีใหญ่และการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวเส้นทางรถไฟสายใหม่ 3.คัดค้านการตั้งบริษัทลูกด้านซ่อมบำรุงรางและล้อเลื่อนเนื่องจากไม่เกิดผลดีต่อรฟท.อีกทั้งยัวเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาองค์กรในอนาคต

ด้านแหล่งข่าวจากสร.รฟท.ระบุว่าการแปรรูปไปให้เอกชนเข้ามาบริหารองค์กรรถไฟที่มีขึ้นเพื่อบริการประชาชนรากหญ้านั้นจะส่งผลกระทบต่อประชาชนในหลากหลายโดยเฉพาะราคาค่าโดยสารที่อาจพุ่งสูงขึ้น 400% หรือมากว่านั้น เช่นปัจจุบันค่ารถไฟ 100 บาท อาจเพิ่มขึ้นเป็น 500 บาทหากคิดราคาตามแนวทางของเอกชนเพื่อแสวงหากำไร เนื่องจากปัจจุบันรฟท.เก็บค่าโดยสารต่อคนที่ 0.20 บาท ต่อกิโลเมตรโดยมีต้นทุนแท้จริงอยู่ที่กิโลเมตรละ 2.40 บาท

ดังนั้นหากในอนาคตเส้นทางรถไฟสายหลักและเส้นทางรถไฟที่ผู้ใช้บริการจะเป็นเป้าหมายแรกในการปรับขึ้นราคาอาทิ เส้นทางเชียงใหม่-ปาดังเบซาร์และเส้นทางสายอีสานอย่างอุบลราชธานี-หนองคาย