posttoday

รมว.เกษตรฯงัดพรบ.ควบคุมยางเข้าตรวจสต๊อกเอกชน

14 มิถุนายน 2560

รมว.เกษตรฯลงนามคำสั่งใช้อำนาจตามพรบ.ควบคุมยางเข้าตรวจสอบสต๊อกยางพาราของเอกชน หาคำตอบราคายางตก

รมว.เกษตรฯลงนามคำสั่งใช้อำนาจตามพรบ.ควบคุมยางเข้าตรวจสอบสต๊อกยางพาราของเอกชน หาคำตอบราคายางตก

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ แถลงว่า  จะลงนามในคำสั่งใช้อำนาจตามพรบ.ควบคุมยาง พ.ศ. 2542  ให้อำนาจเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรและการยางแห่งประเทศไทย(กยท.) เข้าตรวจสอบสต๊อกยางพาราของเอกชนทั้งหมดว่ามีปริมาณสินค้าเท่าไหร่และส่งออกเท่าไหร่   

"ผมไม่ทราบว่านายกรัฐมนตรีสั่งใครให้หาคนที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยข่าวทุบราคายาง ไม่รู้สั่งคสช.หรือเปล่า  แต่การใช้พรบ.นี้จะทำให้ภาครัฐมีอำนาจเข้าตรวจสอบสต๊อกยาง และควบคุมการส่งออกยาง  ซึ่งที่ดำเนินการไม่ได้ปรักปรำใครทุบราคา  จะ 5 เสือ 6 สิงห์ อะไรผมก็ไม่ทราบ ข่าวยางเหลือง ข่าวจีนปล่อยสต๊อกแสนตัน ซึ่งที่ผ่านมาก็พยายามส่งเสริมให้ซื้อขายยางจริง ไม่ใช้ให้ตลาดกระดาษมาป่วนราคาเพราะตลาดล่วงหน้าซื้อกระดาษกันมียางซะที่ไหน"รมว.เกษตรฯกล่าว

ทั้งนี้ให้การยางแห่งประเทศไทย(กยท.) เป็นหน่วยงานชี้แจงทุกข่าวลือ อะไรไม่ถูกต้องให้เร่งชี้แจง เพราะท่างบริษัทยักษ์ใหญ่ก็ยืนยันว่าว่า เขาก็ยังซื้อยาง ไม่ได้มีการหยุดซื้ออย่างที่มีการปล่อยข่าว

"ยืนยันว่ารัฐบาลคงไม่มีโครงการเข้าไปซื้อยางหรือแทรกแซงราคายางอีก เพราะหลายฝ่ายร่วมทั้งนายกสมาคมยางพาราแห่งประเทศไทยก็บอกว่า  การเข้าไปของรัฐจะมีปัญหาสต๊อกยามากดทับราคายางอีก  ซึ่งปัจจุบันสต๊อกยางที่ซื้อกันไว้เกือบ  3 แสนตัน ขายกันไปจนเหลือประมาณ 6 หมื่นตัน"รมว.เกษตรฯกล่าว

ทั้งนี้เมื่อถามว่า ยางตกเป็นวงจรอุบาทว์ที่เกิดก่อนเปิดกรีดยางทำไมไม่รับมือล่วงหน้า  รมว.เกษตรฯกล่าวว่า  ก็มีแต่การปล่อยข่าวลือมาทุบราคากัน ตอนนี้หากดูก็จะพบว่ายางออกมาน้อย เกษตรกรก็บอกยางเพิ่งออก แต่มาตกใจกับข่าวลือกันและก็เร่งขายกัน ราคาก็ร่วง ซึ่งเรื่องพวกนี้ต้องสร้างความเข้าใจร่วมกันกับเกษตรกรส่วนยางพาราด้วย

"สื่อก็ต้องไม่ไปช่วยประโคมข่าวซังกะบ๊วยนี้ด้วย"รมว.เกษตรฯกล่าว

รมว.เกษตรฯเปิดเผยด้วยว่าผลการหารือร่วมกับกระทรวงต่างๆเพื่อจะสอบถามเรื่องการส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยราชการพบว่า มีการแสดงความจำนงใช้ยางพาราทั้งหมด  3.5 หมื่นตัน โดยจะเร่งจัดใช้งบประมาณของปี 60 ดำเนินการ   ซึ่งปี2559 แสดงความจำนงใช้  2.8 หมื่นตันใช้จริงประมาณ  9 พันตัน   ซึ่งสาเหตุมาจากสินค้าหลายตัวยังไม่บรรจุในบัญชีสินค้าของกรมบัญชีกลางและหลายตัวยังไม่มีมาตรฐานสินค้ามอก.ทำให้รัฐเข้าไปจัดซื้อไม่ได้  เช่นสนามฟุตซอล  ซึ่งขณะนี้ได้ผ่านมาตรฐานอมก.แล้วก็คาดว่าจะทำให้มีการใช้ยางเพิ่มมากขึ้น  หรือเตียงยางพารากว่าจะรับรองได้ใช้เวลาเกือบ 8 เดือน หลังจากนี้ก็คาดว่าจะช่วยให้มีการซื้อสินค้าจากยางพาราเพิ่มขึ้น

ด้าน พล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข  ประธานคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย(กยท.)กล่าวว่า  กยท.ได้วางมาตร1.การลดพื้นที่ปลูกยางโดยการส่งเสริมการปลูกยางใหฒ่ทดแทนยางเก่าปีละ 2 แสนไร่และปลูกพืชอื่น 2 แสนไร่เพื่อลดปริมาณยางที่จะออกสู่ตลาดที่ปกติจะมีประมาณ 4.5  ล้านตัน เนื่องจากอนาคตเมื่อยางในประเทศจีน ลาวและเวียดนามให้ผลผลิตจะกระทบคต่อราคายางของไทยมาก 2. ส่งเสริมการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า โดยเป็น  1 ใน 4  มาตรการที่รัฐบาลออกมาและ 3. การเพิ่มการใช้ยางในประเทศ ซึ่งกยท.ได้มีการผลิตยางล้อรถยนต์เพื่อใช้ยางพาราในประเทศเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ประธานบอร์ดกยท.ระบุว่า ที่มีข่าวว่าจีนปล่อยยาในสต็อกออกมา 1 แสนตันก็เพราะยางจีนไม่พอใจ และจากนี้ก็ต้องมีการซื้อยางเพิ่มมากขึ้น ก็ขอให้เกษตรกรใจเย็น เพราะก่อนที่จะมีกยท.ราคายางเคยตกไปถึง 3กก. 100  บาท และเมื่อรัฐเข้ารับซื้อหรือแทรกแซงราคาที่  45  บาทต่อกก.เมื่อต้นปี 58 ก็พบว่าเกษตรกรมาขายน้อยมาก เพราะเกษตรกรอ้างขนส่งยากยอมขายพ่อค้าในราคา  39 บาทต่อกก. ก็มี ดังนั้นทั้งหมดเป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันแก้ไข

ด้าน นายอุทัย สอนหลักทรัยพ์ ประธานสภาเครือข่ายสวนยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่าเกษตรกรไม่ได้พอใจ  4 มาตรการ เพราะมีแต่พ่อค้าได้ประโยชน์    ซึ่ง พล.อ.ฉัตรชัย ติดต่อให้มายื่นหนังสือที่กระทรวงในวันที่  20 มิ.ย.  2560 ไม่ให้ไปยื่นที่ทำเนียบฯเพราะจะทำให้ภาพลักษณ์เสียหาย กระทรวงพร้อมรับฟัง