posttoday

รัฐหวัง1ปีลงทุนอีอีซี30ราย

25 พฤษภาคม 2560

รัฐมั่นใจ 30 เอกชนรายใหญ่ลงทุนอีอีซีภายใน 1 ปี หลังงัด ม.44 ปลดล็อกเงื่อนไข

รัฐมั่นใจ 30 เอกชนรายใหญ่ลงทุนอีอีซีภายใน 1 ปี หลังงัด ม.44 ปลดล็อกเงื่อนไข

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยว่า หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ใช้อำนาจตาม ม.44 ปลดล็อกกฎหมายเกี่ยวกับขั้นตอนการลงทุนจะทำให้มีภาคเอกชนตัดสินใจเข้ามาลงทุนในพื้นที่อีอีซีประมาณ 30 ราย ภายในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งจะอยู่ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2561

เนื่องจากเอกชนมองว่าที่ผ่านมากระบวนการขออนุญาตเพื่อลงทุนของไทยใช้เวลายาวนานและ มีความซ้ำซ้อน โดยเบื้องต้นมีเอกชน 6 ราย แสดงความสนใจเข้ามา ลงทุนแล้ว ส่วนใหญ่เป็นกิจการใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น กลุ่มอากาศยาน ธุรกิจอี- คอมเมิร์ซ รถยนต์ไฟฟ้า อุปกรณ์การแพทย์ครบวงจร รวมถึงหุ่นยนต์และชิ้นส่วน

ทั้งนี้ การปลดล็อกเพื่ออำนวยความสะดวกใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1.ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญ การพิจารณารายงานการศึกษาผล กระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ของโครงการเร่งด่วนในพื้นที่อีอีซี พร้อมกำหนดหลักเกณฑ์การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษเพิ่มเติมจากผู้ขออนุญาตเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายพิเศษแก่คณะกรรมการผู้ชำนาญการ โดยต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในเวลาไม่เกิน 1 ปี

2.เร่งกระบวนการและลดขั้น ตอนการให้เอกชนร่วมลงทุนใน กิจการของรัฐ (พีพีพี) และ 3.กำหนดให้ต่างชาติสามารถถือหุ้นได้เกินกว่า 50% ในกิจการหน่วยซ่อมอากาศยาน เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มีเทคโนโลยีสูงที่ไทยมีความต้องการในการต่อยอด ดังนั้นจึงต้องปรับปรุงลักษณะของผู้ได้รับใบรับรองในเขตอีอีซีเป็นพิเศษ โดยไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศเดิม

นอกจากนี้ ในวันที่ 26 พ.ค.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการบริหาร อีอีซี โดยมี นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เป็นประธาน จะมีการพิจารณาผลการศึกษาแนว ทางการพัฒนาท่าเรือ 3 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือสัตหีบ และท่าเรือมาบตาพุด เพื่อเชื่อมโยงกับโครงการรถไฟฟ้าทางคู่ที่จะ เชื่อมโยงไปยัง 3 สนามบิน ได้แก่ สนามบินอู่ตะเภา สนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ หลังจากนั้นจะนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายอีอีซีชุดใหญ่ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในวันที่ 16 มิ.ย.ต่อไป

อย่างไรก็ตาม นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาห กรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การใช้ ม.44 ในพื้นที่ อีอีซีถือว่าใช้เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะ หน้าให้การลงทุนเดินไปตามแผนเป็น การใช้อย่างเหมาะสม เนื่องจากขณะนี้เพื่อนบ้านหลายประเทศในภูมิภาค เช่น เมียนมา เวียดนาม และมาเลเซีย เป็นต้น ได้ออกนโยบายที่ดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศเช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อรัฐออกนโยบายที่เร่งรั ดการลงทุนและดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมจะช่วยให้เกิดความเชื่อมั่นมากขึ้นได้