posttoday

จากสมาร์ทโฟนหักศอกสู่เอไอ

20 มกราคม 2561

ความท้าทายของธุรกิจ คือ การนำเทคโนโลยีสร้างเมืองอัจฉริยะและ ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในยุคดิจิทัลได้อย่างไร

โดย...รัชนีย์ ศรีวัฒนชัย

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็ว และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เชลล์ ประเทศไทย จัดสัมมนา เมืองอัจฉริยะในอนาคตของไทย (Make the Future Thailand) ครอบคลุมทั้งธุรกิจ เทคโนโลยี การวางผังเมืองและชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย

ไมเคิล จิตติวาณิชย์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดด้านธุรกิจ กูเกิล ประเทศไทย เปิดเผยว่า เทคโนโลยีที่จะมีอิทธิพลและเป็นพื้นฐานต่อการเปลี่ยนแปลงธุรกิจและไลฟ์สไตล์ของคนในอีก 10 ปีข้างหน้า ต่อจากยุคของสมาร์ทโฟน ก็คือ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) โดยมองว่าแมชีนเลิร์นนิ่งเป็นคลื่นสึนามิที่เป็นลูกใหญ่เปิดโอกาสให้ทุกธุรกิจนำไปใช้

ทั้งนี้ จากนี้ไปธุรกิจต่างๆ จะนำ แมชีนเลิร์นนิ่งมาใช้เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับนโยบายของกูเกิลทุกโปรดักต์ที่ต้องนำแมชีนเลิร์นนิ่งไปใช้ โดยกูเกิลได้เปิดตัวระบบ TensorFlow ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแมชีนเลิร์นนิ่ง โดยสามารถนำระบบดังกล่าวมาต่อยอดการทำ ธุรกิจ อาทิ เกษตรกรรมในญี่ปุ่น นำแมชีน เลิร์นนิ่ง ติดเซ็นเซอร์เพื่อคัดแยกขนาดของผลผลิต หรือเนเธอร์แลนด์ ทำฟาร์มนมโค เพื่อติดตามพฤติกรรมวัวหากเกิดอาการป่วย จะช่วยให้สร้างผลผลิตได้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

ขณะที่ เรืองโรจน์ พูนผล ผู้บุกเบิกสตาร์ทอัพเมืองไทยและผู้ก่อตั้งกิจการ 500 ตุ๊กตุ๊กส์ มองว่า เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมนุษย์อยู่ในแค่ยุคหักศอกเท่านั้น ส่วนในอนาคตจะก้าวข้ามผ่านอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ หรืออินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง สู่เป็นอินเทอร์เน็ต ออฟ เอเวอรีติง หรืออินเทอร์เน็ตสำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง โดยการทำธุรกิจหรือสร้างแพลตฟอร์มใหม่ๆ ในยุคนี้มนุษย์มีพลังอำนาจสามารถใช้เทคโนโลยีสร้างสิ่งต่างๆ ราวกับพระเจ้า

สำหรับสินค้าที่มนุษย์ใช้เทคโนโลยีการพัฒนา อาทิ เทสล่าค่ายรถยนต์ ผลิตสมาร์ทคาร์ออกมาที่โหลดแอพ พลิเคชั่นสั่งงานได้ทุกอย่าง ต่อไปหลังคาและฝาผนังของบ้านจะถูกพัฒนาให้ เป็นติดแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ หรือกระทั่งเกษตร กรรม รีคัลท์ สตาร์ทอัพน้องใหม่ที่เชื่อมต่อโลกเกษตรเข้ากับเทคโนโลยี ช่วยวิเคราะห์พื้นที่เกษตรกรรมทำการเพาะปลูกได้ผลผลิตดี หรือหมายความว่ามีเครดิตดีสำหรับการปล่อยสินเชื่อ

"บริษัทที่เติบโตในยุคนี้ล้วนแต่ เกิดจากการนำเทคโนโลยีมาดำเนิน ธุรกิจ เช่น รายได้ปี 2559 แอปเปิ้ล 5.7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ บริษัท อัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่กูเกิล 5.3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ผู้ใช้ งานอินเทอร์เน็ตเซาท์อีสต์เอเชียเพิ่มขึ้นจาก 260 ล้านคน เพิ่มเป็น 480 ล้านคนในปี 2563 จึงมองว่าเป็นโอกาสของธุรกิจออนไลน์ 10 ปีข้างหน้า มีผู้ประกอบการลงทุน 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในกลุ่มธุรกิจออนไลน์มีเดีย ท่องเที่ยว อี-คอมเมิร์ซ" เรืองโรจน์ กล่าว

ด้าน นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง กล่าวว่า ความต้องการบ้านในฝัน ของคนยุคนี้เปลี่ยนไป มองว่าบ้านเป็นแค่ห้องนอน แต่ต้องการโลเกชั่น หรือสถานที่ที่มีฟังก์ชั่นตอบโจทย์ทางไลฟ์สไตล์อย่างครอบคลุมและที่พื้นที่การพบปะกัน ขณะนี่ทางศูนย์เดินหน้าพัฒนาพื้นที่หลายโครงการ อาทิ โครงการริมน้ำยานนาวา ตรงพื้นที่ท่าเรือตากสินทางเชื่อมติดกับรถไฟฟ้าบีทีเอส ย่านกะดีจีน-คลองสาน เพิ่มพื้นที่สาธารณะให้กับคนเมือง

"การจะสร้างเมืองแห่งอนาคต ทางศูนย์ได้ทำการเก็บข้อมูลหรือนำดาต้ามาพัฒนาเมืองแห่งอนาคต หรือกระทั่งนำเทคโนโลยีมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น เช่น ที่อังกฤษมีแอพพลิเคชั่น Fix my street ช่วยตรวจสอบการซ่อมถนนและลด ระยะเวลาการซ่อมลง หรือกระทั่งแอพพลิเคชั่นตรวจอาชญากรรมที่เกิดตามเมืองต่างๆ เป็นต้น" นิรมล กล่าว

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ กล่าวว่า แพลตฟอร์มหรือโมเดลธุรกิจการทำอสังหาริมทรัพย์เปลี่ยนไป แต่ความเป็นพื้นฐานของ บ้านยังคงอยู่ เช่น บ้านหนึ่งหลังต้องมีประตู แต่แนวโน้มผู้ประกอบการ 70% ขับเคลื่อนใช้นวัตกรรมสร้างความ ยั่งยืนให้กับธุรกิจ ขณะที่ความต้องการ โลเกชั่นจะเปลี่ยนไปตามการเกิดแนวรถไฟฟ้า ในปี 2570 จะมีรถไฟฟ้า 11 สาย หรือ 297 สถานี ซึ่งในอนาคตคอนโดมิเนียมจะเริ่มขยายจากในเมืองสู่นอกเมือง เนื่องจากพื้นที่ในเมืองราคาสูงขึ้น

ความท้าทายของธุรกิจ คือ การนำเทคโนโลยีสร้างเมืองอัจฉริยะและ ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในยุคดิจิทัลได้อย่างไร