posttoday

อาคารประหยัดพลังงาน ด้วยระบบ Internet of Things

11 พฤศจิกายน 2560

นวัตกรรมแห่งโลกอนาคต คือการมีที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

โดย มีนา

 นวัตกรรมแห่งโลกอนาคต คือการมีที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในการจัดการพลังงาน และระบบออโตเมชั่น ตั้งแต่บ้าน อาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วยการยืนหยัดอยู่ในเวทีระดับโลกในกว่า 100 ประเทศ เผยการใช้ IoT หรือ Internet of Things จะช่วยต่อยอดระบบจัดการพลังงานสำหรับอาคารให้ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขึ้น

 หากให้มองศูนย์กลางหรือการเป็น ดิจิทัลฮับ ระบบจัดการพลังงานในอาคาร หรือ BEMS (Building Energy Management Systems) นับว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดในการทำให้อาคารมีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้น เนื่องจากอาคารที่สมาร์ท ก็จะช่วยให้การปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ทำได้ในแบบอัตโนมัติ เช่น เรื่องอุณหภูมิ ระบบอากาศหมุนเวียน รวมถึงระบบแสงสว่าง

 ทั้งนี้ การศึกษาสะท้อนให้เห็นว่า 27% ของผู้ที่อยู่ในอาคารรู้สึกมีความสุขมากขึ้น ในขณะที่เจ้าของอาคารสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้มากถึง 25%

 จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ BEMS จะขึ้นแท่นผู้นำในรายงานของ Navigant Research ที่ว่า ระบบการบริหารจัดการพลังงานในอาคารเป็น “เทคโนโลยีเสาหลักสำหรับอาคารอัจฉริยะ” ซึ่งเป็นหมวดของซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้สามารถแปลงข้อมูลที่ได้จากสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไปเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ดำเนินการต่อได้

 ข้อมูลดังกล่าวที่สามารถนำไปใช้งานได้ มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว สาเหตุเกิดจากการมาของ IoT หรือ Internet of Things บางคนเรียก Internet of Everything ไม่ว่าจะเรียกอะไรก็ตาม ความหมายของมันก็คือ เครื่องกล หรืออุปกรณ์ที่พูดคุยกันได้

 ลองคิดภาพตาม หากประชากรทุกคนบนโลกเชื่อมต่อกัน ก็จะทำให้มีประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ตรวมทั้งสิ้นถึง 7,300 ล้านคนเลยทีเดียว แต่จำนวนอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งเพื่อใช้ IoT นั้นมีจำนวนเป็น 2 เท่าของตัวเลขดังกล่าวไปแล้ว และคาดการณ์ว่าจะสูงถึง 75 พันล้านชิ้น ภายใน 10 ปี ซึ่งนับเป็น 10 เท่า ของคนจำนวนผู้ที่อาศัยอยู่บนโลก

 ทั้งนี้ อุปกรณ์เหล่านี้บางตัวจะเป็นเซ็นเซอร์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของอุณหภูมิ ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ หรือข้อมูลอื่นๆ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการจัดการอาคารผ่านการผสานการทำงานร่วมกันอย่างเหมาะสมในเรื่องของการวิเคราะห์และควบคุมการใช้งาน

อาคารประหยัดพลังงาน ด้วยระบบ Internet of Things

 ข้อมูลเหล่านี้ทำให้สามารถรับรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านพลังงานได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น บริษัทแม่ของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ในกรุงปารีส สามารถลดการใช้พลังงานได้ถึง 4 เท่า จากการผสานรวมระบบจัดการพลังงานในอาคาร หรือ BEMS เข้ากับขั้นตอนการดำเนินการทั้งเรื่องของการตรวจสอบและควบคุมการใช้พลังงาน ซึ่งการปรับปรุงนั้นขึ้นอยู่กับการนำข้อมูลที่ได้จากเซ็นเซอร์จำนวนกว่า 3,000 ตัวทีเดียว มาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพตั้งแต่ในระดับของตัวอุปกรณ์ไปจนถึงการบริการ

 IoT ยังรวมถึงตัวเซ็นเซอร์ที่ตรวจจับการใช้อาคารและเรื่องของสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีเซ็นเซอร์อื่นๆ เช่น เซ็นเซอร์ในการตรวจสอบการใช้พลังงาน ข้อมูลที่ได้จากเซ็นเซอร์เหล่านี้จะใช้เป็นพื้นฐานเพื่อการประหยัดพลังงาน ตัวอย่างเช่น ประสิทธิภาพด้านพลังงานสามารถปรับปรุงได้

 จากการลดจำนวนชั่วโมงในการระบายอากาศ ในเวลาที่ไม่ได้มีการใช้ห้อง ผ่านการตรวจสอบในเรื่องของคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงอุณหภูมิ ความชื้น และเซ็นเซอร์ด้านอื่นๆ ผลที่ได้ต่อมาก็คือ การสามารถปรับระบบระบายอากาศให้เหมาะสมกับจำนวนผู้ใช้งานได้ โดยแนวโน้มของการมีข้อมูลมากขึ้น พุ่งสูงก่อนที่จะเริ่มมี IoT เกิดขึ้นในเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา

 อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเกิดขึ้นมากมาย นับเป็นการเร่งให้เกิดข้อมูลมากยิ่งขึ้นไปอีก และด้วย IoT ที่จะเติบโตถึงสามเท่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ก็จะได้เห็นข้อมูลที่เติบโตไปในอัตราเดียวกัน เทคโนโลยี BEMS ต้องเตรียมรับมือกับเรื่องนี้อย่างแน่นอน

 นับเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นของการพัฒนานวัตกรรมด้านที่อยู่อาศัยอย่างแท้จริง โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมที่ตอบสนองโจทย์ชีวิตคนเมืองในยุคดิจิทัล