posttoday

สานจิตร่วมอุดมการณ์ธรรม ขับเคลื่อนกงล้ออายุพระพุทธศาสนา เนื่องในวันมาฆบูชาปี’๕๔ (ตอน ๑๐)

24 กุมภาพันธ์ 2554

ปุจฉา : ๑.ขอทราบความหมาย ความสำคัญที่แท้จริงของวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานพระโอวาทปาฏิโมกข์

ปุจฉา : ๑.ขอทราบความหมาย ความสำคัญที่แท้จริงของวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานพระโอวาทปาฏิโมกข์

โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส

ปุจฉา : ๑.ขอทราบความหมาย ความสำคัญที่แท้จริงของวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานพระโอวาทปาฏิโมกข์

๒.จะมีความสำคัญต่อการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในชมพูทวีปอย่างไร และ/หรือจะมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนาอย่างไร

ขอนมัสการมาด้วยความเคารพ

รจนา วานิช

วิสัชนา : แสดงความสอดคล้องระหว่างหลักการในหลักหัวข้อปฏิบัติอันสำคัญตามที่กล่าว เป็นเรื่อง การทำความสำนึกให้อยู่อย่างกำหนดรู้ใน ๗ ประการ (สตปุริสสธรรม) หรือการกำหนดรู้ในการวางตัวอย่างเป็นกลางๆ มีความสำรวมอยู่ในพระปาฏิโมกข์ คือ อยู่อย่างมีศีล ๒๒๗ ข้อ กำกับดูแล เพื่อความมั่นคงดำรงอยู่ ในฐานะของพระสงฆ์สาวกในพระพุทธศาสนา เพื่อไม่ให้ล่วงออกนอกเขตผู้ประพฤติพรหมจรรย์ในฐานะพระสงฆ์

ประการสำคัญที่แสดงถึงธาตุแท้ของความเป็นสมณะ ผู้มุ่งสู่ความสะอาด สว่าง สงบ คือ การดำรงชีวิตอยู่อย่างสันโดษ มีความมักน้อย โดยรู้จักพิจารณาก่อนส้องเสพ รู้จักพิจารณาก่อนอดกลั้น รู้จักพิจารณาก่อนงดเว้น และรู้จักพิจารณาก่อนบรรเทา

คำว่า “รู้จักพิจารณา หรือรู้จักพิจารณาโดยแยบคาย” นั้น เป็นเรื่องยิ่งใหญ่ในการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ รู้แจ้งรู้จริง ในสรรพธรรมทั้งหลาย เป็นหัวใจของการศึกษาพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนา กล่าวว่า เป็นหัวใจแท้ของหลักวิปัสสนาญาณก็ว่าได้ ซึ่งได้แก่ การรู้จักใช้วิธีการโยนิโสมนสิการ นั่นเอง แปลพอเข้าใจว่า รู้จักคิดพิจารณาโดยแยบคาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเกิดปัญญา

ดังที่ปรากฏในข้อปฏิบัติ ๖ ที่ต่อเนื่องจากปาฏิโมกเข จ สํวโร หรือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ได้แก่ มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ซึ่งแปลว่า รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร อันเป็นเครื่องแสดงออกของความเป็นสมณะ ความเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง ที่กล่าวเรียกว่า “ขบฉันอย่างสำรวม” คือ พิจารณาก่อนขบฉัน ให้รู้คุณรู้โทษ ให้เห็นจริงในภัตตาหาร ปัจจัย เครื่องใช้สอยเหล่านั้น ในความเป็นคุณค่าแท้คุณค่าเทียม การระวังกระทำความสำนึกอย่างแยบคายตลอดว่า “สมณะใช้สอยปัจจัย ๔ อัน ได้แก่ ผ้าจีวร กุฏิที่อยู่อาศัย คิลานเภสัช และขบฉันบิณฑบาต เพื่ออะไร...”

ดังปรากฏอยู่ในบทสวดที่ชื่อ ธาตุปัจจเวกขณปาฐะ ซึ่งเป็นการพิจารณาในปัจจัย ๔ ให้เป็นธาตุปฏิกูล เพื่อทำความเข้าใจอันนำไปสู่ความสำรวมก่อนใช้สอย โดยการให้รู้จักการพิจารณา... ทั้งนี้โดยพึงคำนึงเสมอว่า เราบริโภคใช้สอยในปัจจัย ๔ แม้การขบฉันนั้น เพื่ออนุเคราะห์การเป็นอยู่หรือดำเนินชีวิต เพื่อการประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนานี้จึงมีพระคาถาอีก ๑ ข้อ ต่อเนื่องจากการรู้จักประมาณในอาหารการขบฉันว่า พึงอยู่ในที่นั่งที่นอนอันสงัด ตามภาษาบาลีที่ว่า ปนฺตญ จ สยนาสนํเป็นการประกาศการดำรงฐานะของสมณะ m

อ่านต่อฉบับพรุ่งนี้