posttoday

สานจิตร่วมอุดมการณ์ธรรมขับเคลื่อนกงล้ออายุ พระพุทธศาสนาเนื่องในวันมาฆบูชาปี'๕๔(ตอน๘)

22 กุมภาพันธ์ 2554

ปุจฉา : ๑.ขอทราบความหมาย ความสำคัญที่แท้จริง ของวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานพระโอวาทปาติโมกข์

ปุจฉา : ๑.ขอทราบความหมาย ความสำคัญที่แท้จริง ของวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานพระโอวาทปาติโมกข์

โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส

ปุจฉา : ๑.ขอทราบความหมาย ความสำคัญที่แท้จริง ของวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานพระโอวาทปาติโมกข์

๒.จะมีความสำคัญต่อการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในชมพูทวีปอย่างไร และ/หรือจะมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนาอย่างไร

ขอนมัสการมาด้วยความเคารพ

รจนา วานิช

วิสัชนา : ๕.ทรงเปรียบพระธรรมวินัยเหมือนแม่น้ำบางสายในโลกที่ไหลไป ย่อมไปรวมยังมหาสมุทร และสายฝนยังตกลงมาจากอากาศ ความพร่องและความเต็มของมหาสมุทรไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น ในพระธรรมวินัยของพระองค์ แม้ภิกษุจำนวนมาก ถ้าแม้ยังปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความพร่องหรือความเต็มของนิพพานธาตุ ย่อมไม่ปรากฏ ...นี่เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในพระธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๕

๖.ทรงเปรียบพระธรรมวินัยเหมือนมหาสมุทรมีรสเค็มรสเดียว ในพระธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน มีวิมุตติรส รสเดียว ...แม้นี้เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในพระธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๖

๗.ทรงเปรียบพระธรรมวินัยเหมือนมหาสมุทรมีรัตนะมาก มิใช่มีรัตนะเดียว... ในธรรมวินัยนี้ของพระองค์นี้ก็เหมือนกัน มีรัตนะมาก มีรัตนะมิใช่อย่างเดียว รัตนะในธรรมวินัยนี้คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ แม้นี้เป็นความอัศจรรย์... ไม่เคยมีในพระธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๗

๘.ทรงเปรียบพระธรรมวินัยเหมือนมหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ใหญ่ๆ ...แม้ในพระธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน เป็นที่อยู่อาศัยของคนใหญ่ๆ คนใหญ่ๆ ในวินัยนี้คือ พระอริยบุคคล ๔ จำพวก นับได้ ๘ บุรุษ แม้นี้เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในพระธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๘

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวไว้ในตอนท้าย เรื่องความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในพระธรรมวินัยนี้ ๘ ประการ ที่เรียกว่า พุทธอุทาน ว่า

สิ่งใดปิดไว้ ย่อมรั่วได้

สิ่งที่เปิด ย่อมไม่รั่ว

เพราะฉะนั้น จงเปิดสิ่งที่ปิด เช่นนี้ สิ่งที่เปิดนั้น จักไม่รั่ว

ในครั้งนั้น จึงรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ตั้งแต่บัดนี้ไป พระองค์จักไม่ทำอุโบสถ จักไม่แสดงปาติโมกข์ ทรงพุทธานุญาตให้ภิกษุสงฆ์ทำอุโบสถ แสดงปาติโมกข์กันเอง โดยตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ตถาคตจะพึงทำอุโบสถ แสดงปาติโมกข์ ในบริษัทผู้ไม่บริสุทธิ์ นั้นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส...” และตรัสต่อไปว่า “อันภิกษุมีอาบัติ ไม่พึงฟังปาติโมกข์ รูปใดฟังต้องอาบัติทุกกฎ เราอนุญาตให้งดปาติโมกข์ แก่ภิกษุผู้มีอาบัติติดตัว ฟังปาติโมกข์”

จากพุทธดำรัสในครั้งนั้น จึงนำมาสู่ข้อปฏิบัติที่สืบเนื่องกันมา โดยกำหนดให้มีภิกษุปาติโมกข์ แสดงอาณาโอวาทปาติโมกข์แทน โดยมีระเบียบกำหนดเกี่ยวกับการฟังสวดปาติโมกข์ และวิธีงดปาติโมกข์ของภิกษุผู้มีอาบัติติดตัว และกรณีที่พระสงฆ์สามารถเลิกประชุมฟังภิกษุสวดปาติโมกข์ได้ด้วยอันตราย ๑๐ ประการ (พึงสามารถค้นคว้าศึกษาเรื่องดังกล่าวได้จาก พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ทุติยวรรค หน้า ๔๐๒๔๐๖)

อ่านต่อฉบับพรุ่งนี้