posttoday

สานจิตร่วมอุดมการณ์ธรรม ขับเคลื่อนกงล้ออายุพระพุทธศาสนาเนื่องในวันมาฆบูชาปี’๕๔ (ตอน ๕)

16 กุมภาพันธ์ 2554

ปุจฉา : ๑.ขอทราบความหมาย ความสำคัญที่แท้จริง ของวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานพระโอวาทปาฏิโมกข์

ปุจฉา : ๑.ขอทราบความหมาย ความสำคัญที่แท้จริง ของวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานพระโอวาทปาฏิโมกข์

โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส

ปุจฉา : ๑.ขอทราบความหมาย ความสำคัญที่แท้จริง ของวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานพระโอวาทปาฏิโมกข์

๒.จะมีความสำคัญต่อการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในชมพูทวีปอย่างไร และ/หรือจะมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนาอย่างไร

ขอนมัสการมาด้วยความเคารพ

รจนา วานิช

วิสัชนา : เมื่อรู้แจ้งเห็นชอบ จึงนำไปสู่การละความอยากและตัดความยืด จนขาดสิ้นเป็นสมุทเฉทปหานอย่างแท้จริง เป็นผลให้จิตเกิดความหลุดพ้น หรือพ้นเด็ดขาดจากความกำหนัดเพลิดเพลินยินดีในโลก หรือรูปนามนี้ นั่นหมายถึง การดับสิ้นซึ่งทุกข์ หรือการทำความทุกข์ให้สิ้น ที่เรียกว่า พระนิพพานในพระพุทธศาสนา อันเป็นธรรมยอดเยี่ยมที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงกล่าวไว้เช่นนี้ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา ปรากฏอยู่ในหลักการอริยสัจ ๔ ซึ่งเป็นแบบแผนการศึกษาปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้อริยสัจด้วยพระองค์เอง อาจจะสามารถสรุปลงได้ว่าไม่ว่าในกาลใดๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสอนแต่เรื่องความทุกข์และความดับทุกข์ เป็นปกติ เพื่อก้าวให้ถึงจุดหมายสูงสุดคือ พระนิพพาน

อย่างไรก็ตาม ในพระคาถาแรก ซึ่งเป็นการวางอุดมการณ์ให้กับพุทธบริษัทไว้อย่างจำแนกชัดเจนนั้น ซึ่งแตกต่างไปจากลัทธิหรือศาสนาต่างๆ แล้ว ยังได้จำแนกลักษณะของผู้มีอุดมการณ์ธรรมดังกล่าว ในฐานะพระสงฆ์หรือสาวกในพระพุทธศาสนานั้น จะต้องไม่ทำร้าย... จะต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่นเลย ดังที่กล่าวไว้เป็นบาลีว่า น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต ซึ่งอุดมการณ์ใน ๒ ข้อนี้นับว่าเป็นความสวยงามที่โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธศาสนา ที่ประกาศความจริงใจอันสอดคล้องกันในอุดมการณ์ เพื่อนำไปสู่สันติหรือความสงบ และการที่จะสุขสงบได้นั้น จะต้องมาจากเบื้องต้นของการเตรียมพร้อมที่ดี คือ ความสะอาดและความสว่าง จึงจะพบกับความสงบ นั้นหมายถึง การพัฒนาการของกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ให้สะอาด และมีความสว่าง ด้วยอำนาจแห่งพระธรรมวินัย เพื่อก้าวสู่ความสงบในสังขารทั้งปวง อันจะนำไปสู่ความสุขอย่างแท้จริง เนื่องจากความสงบของสังขารนั่นเอง ดังบาลีที่ว่า เตสํ วูปสโม สุโข

อุดมคติธรรมดังกล่าว จึงเป็นการยืนยันตามความจริงในพระพุทธศาสนา ที่จะนำโลกไปสู่สันติสุขอย่างแท้จริง อันควรค่าแก่การสืบเนื่องหรือเผยแผ่ไปยังชาวโลก เพื่อความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพื่อความอนุเคราะห์โลก ในพระคาถาดังกล่าว จึงมุ่งเน้นการประกาศอุดมการณ์ของบุคคลที่จะก้าวสู่ความเป็นบรรพชิต หรือความเป็นสมณะในพระพุทธศาสนาว่า จะต้องมีลักษณะสำคัญอยู่ที่การไม่ทำร้ายผู้อื่น การไม่เบียดเบียนใคร เป็นผู้มุ่งละจากเวรภัยอย่างแท้จริง จึงประกาศการดำรงตนอยู่ตามหลักสันติธรรม เพื่อประโยชน์ตน และเพื่อการอนุเคราะห์โลกโดยธรรม

อ่านต่อฉบับพรุ่งนี้