posttoday

เล่าเรื่องมหาจุฬา ฯ : การกลับมาของ “พระพรหมบัณฑิต”

07 มีนาคม 2564

โดย อุทัย มณี

*************************

เมื่อเร็ว ๆ นี้มีข่าวเล็ก ๆ ชิ้นหนึ่งในแวดวงมหาวิทยาลัยสงฆ์ คือ การหวนกลับมาสู่สังเวียนการศึกษาของ พระพรหมบัณฑิต ในฐานะ “อุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” ตำแหน่งที่ห่างหายไป “นับสิบปี”

พระพรหมบัณฑิต เป็นราชบัณฑิต ถือเป็น “พระนักปราชญ์” ในยุคนี้ ไม่มีใครเทียบเทียมได้ มีคำเล่าขานว่าตั้งแต่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์มา มีแต่พระพรหมบัณฑิตนี่แหละ..ผู้สร้างสีสันและวางรากฐานให้กับการศึกษาของคณะสงฆ์ได้มากที่สุด ยอมรับทั้ง “ภายในประเทศ..และต่างประเทศ”

เล่าเรื่องมหาจุฬา ฯ : การกลับมาของ “พระพรหมบัณฑิต”

ครองตำแหน่งอธิการบดี มจร มากกว่า 20 ปี การหวนกลับมาสู่สังเวียนการศึกษาของคณะสงฆ์ ในฐานะ อุปนายกสภา มจร ก่อให้เกิด “ความตื่นตัวและสีสัน” ให้กับคนภายในและศิษย์เก่า มจร มิใช่น้อย เพราะหลายปีมานี้ มจร หรือมหาจุฬา ฯ ประสบปัญหามากมาย ทั้งเรื่องปัญหาที่กรุ่น ๆ อยู่  “ภายในและปัญหาที่มาจากภายนอก”

# ปัญหาภายนอก

เห็นชัด คือ นักศึกษาลดลง,งบประมาณได้รับการจัดสรรไม่เพียงพอ ยิ่งการเกิดขึ้นของโควิด -19  รอบแรก ยังพอทน รอบสอง “มจร เงียบดั่งป่าช้า”

# ปัญหาภายใน เกิดเป็นสองขั้ว สามขั้ว วางหมาก วางเกม จน งานสะดุด  ผู้บริหารระดับกลางหลายรูป หลายคนถอดใจ @ หันไปปลูกผัก หันไปส่องพระเครื่อง ก็มี แค่กองคลังและทรัพย์สินอย่างเดียว ถูกผ่าเป็น 2 ซีก..อันนี้ก็แปลกประหลาดแล้ว

@มีข่าวซุบซิบแว่วหูอันหาหลักฐานเชื่อถือไม่ได้ว่า..ที่นี้มีบางคนเป็นแค่เจ้าหน้าที่ แต่มีอำนาจยิ่งใหญ่กว่าผู้บริหารระดับสูงบางรูป บางคน  โครงการ ก่อสร้าง จัดซื้อ จัดจ้าง เบ็ดเสร็จ จบที่เดียว จริงหรือไม่ ?? ในฐานะศิษย์เก่า..กำลังหาข้อมูล?? และรวมทั้งส่วนอื่น ๆ ที่วางหมาก วางเกม ส่งคนเป็นงานบ้าง ไม่เป็นบ้าง ที่ซ้ำร้ายกว่านั่น..มีระบบลูกหลานเข้ามาเกี่ยวข้อง!!

การกลับมาของพระพรหมบัณฑิต หวังว่าจะแก้ปัญหาที่มีทั้งภายในและภายนอกได้ การกลับมาของพระพรหมบัณฑิต หวังว่าจะฟื้นฟูชื่อเสียงของ มจร ให้กลับมาเหมือนเดิมและยิ่งใหญ่กว่าเดิมได้

เล่าเรื่องมหาจุฬา ฯ : การกลับมาของ “พระพรหมบัณฑิต”

โดยเฉพาะผู้บริหารระดับกลาง ทำอย่างไรให้พวกท่านเหล่านี้ “มีกำลังใจ อุ่นใจ และสบายใจ” ในการขับเคลื่อนงาน มิให้ปล่อยให้ฆราวาสลาพรตบางคน บางกลุ่ม สร้างอาณาจักรให้ตัวเอง แบ่งเค๊ก เหมือนพรรคการเมืองข้างนอก

แบ่งเค๊กไม่พอ..บางคนนั่งรองอธิการบดี หลุดแล้ว ก็ยังมาครองตำแหน่ง รองคณบดีบ้าง ผู้ช่วยอธิการบดีต่อบ้าง ซ้ำบางคนนั่งอยู่ในหน่วยงานที่สร้างรายได้ให้กับ มจร มา 20 กว่าปี ไม่ยอมลาออก เพราะผลประโยชน์ดี ทั้ง ๆที่มีอายุใกล้เข้าโลงแล้ว ??

แบบนี้..คนรุ่นใหม่ที่ไหนจะมีกำลังใจ เพราะมองไม่เห็นอนาคตการเติบโตของตัวเอง..ไปปลูกผัก ยังเห็นความเจริญ ความงามของผักและพืชไปส่องพระเครื่อง สบายใจ กว่ามานั่งปวดหัวกับการทำงาน “ท่ามกลางความวุ่นวาย” และ มองไม่เห็นอนาคต

มหาจุฬาฯ อยู่ได้นอกจากงบประมาณอันเป็นภาษีของประชาชนทั่วไปแล้ว...อีกสิ่งหนึ่ง คือ สัญลักษณ์ของ “ผ้าเหลือง” ตัวที่ดึงศรัทธาและผู้สนับสนุนจากข้างนอกได้

เล่าเรื่องมหาจุฬา ฯ : การกลับมาของ “พระพรหมบัณฑิต”

อย่าให้ !! ฆราวาสมีอำนาจเหนือพระสงฆ์..อย่าให้ความเกรงใจ..ทำลาย มจร จมอยู่ร่ำไป

ในฐานะศิษย์เก่า..การกลับมาของพระพรหมบัณฑิต นอกจากความดีใจแล้ว ยังพอมองเห็นอนาคตของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ออกว่า..จะก้าวต่อไปอย่างไรท่ามกลางวิกฤติระบบการศึกษาที่ทั่วโลกกำลังประสบปัญหา

และหวังว่าการกลับมาคราวนี้..อย่าให้ความเมตตานำความถูกต้อง??