posttoday

มจร กำลังเสริม “สิ่งที่คณะสงฆ์ทำหายไป”

27 กันยายน 2563

โดย อุทัย มณี 

****************

ผมเป็นศิษย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยรุ่นที่ 46 มีความภาคภูมิใจทุกครั้งเมื่อนึกถึงสถาบันที่องค์รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาขึ้นแห่งนี้

ยุคหนึ่งเจ้าอาวาสหลายวัด มักกีดกันไม่ให้พระภิกษุ-สามเณรในวัดเข้ามาศึกษาในสถาบันแห่งนี้ เพราะมองว่า เรียนไปแล้ว มันเป็นวิชาทางโลก เดรัจฉานวิชา

ปัจจุบันตั้งแต่ระดับมหาเถรสมาคมจนถึงระดับพระสังฆาธิการทุกชนชั้น หากเป็นคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ส่วนมากคือ ผลผลิตของมหาจุฬา ฯ

มจร กำลังเสริม “สิ่งที่คณะสงฆ์ทำหายไป”

ปัจจุบันคนของ มจร ทำงานสนองงานคณะสงฆ์ ทุกมิติทุกชนชั้น มหาเถรสมาคมมอบงานให้คนของ มจร รับงานไปทำหลายโครงการ

ทั้งหมดทั้งมวล ที่สนองงานคณะสงฆ์ครอบคลุมทั้ง 6 ด้านได้ มิใช่ เพราะจบประโยคสูง ๆ อย่างเดียว แต่ที่ทำได้ คิดเป็น คิดได้ ทำงานเป็น ทำงานได้...ส่วนหนึ่ง เพราะความรู้อันเกิดและสะสมมาจากการเรียนรู้จาก มหาจุฬา ฯ และเครือข่ายที่มีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือ

สิ่งหนึ่งที่มหาจุฬาฯ กำลังทำและคิดว่าทะลวงกล่องดวงใจของการ “ปฎิรูปกิจการพระพุทธศาสนา” ของมหาเถรสมาคม ที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐบาลแล้วโดยตรงนั่นคือ “การตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน” ประเดิมศูนย์แรก ที่มหาจุฬา ฯ วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา

มจร กำลังเสริม “สิ่งที่คณะสงฆ์ทำหายไป”

หลังลงนามร่วมกับกระทรวงยุติธรรรม ตอนนี้เริ่มขยับและเขยื้อนแล้ว เพื่อขับเคลื่อนต่อยังวิทยาเขตของ มจร ทั่วประเทศ รวมทั้งรักษาการเจ้าคณะใหญ่หนกลาง เปิดทางให้อบรมพระสังฆาธิการในภาคกลางด้วย เพื่อเป็นนักไกล่เกลี่ยขอพิพาทของประชาชนในชุมชน ในหมู่บ้าน

บทบาทเดิมของเจ้าอาวาสในสังคมไทย คือ หนึ่ง เป็นผู้ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งในสังคม สอง เป็น ผู้นำในการพัฒนาทุกด้าน และสาม เป็นผู้ประสานระหว่างชุมชนกับภาครัฐ

ช่วงหลัง ๆ ราชการแย่งชิงบทบาทตรงนี้ไป อาจเป็นเพราะพระสงฆ์เรา ตามความก้าวหน้า ความเจริญของวิทยาการสมัยใหม่ แต่ยุคนี้ พระสงฆ์ส่วนใหญ่ ก้าวทันสังคม มีความรู้กันมาก แต่หากจะขาดบ้างก็เป็นเพียง “ทักษะประสบการณ์”

การดำเนินการศูนย์ไกล่เกลี่ยภาคประชาชนของ มหาจุฬา ฯ จึงคิดว่า มาถูกทาง เพราะนอกจากตรงกับเป้าหมายของการปฎิรูปกิจการพระพุทธศาสนาที่ต้องการให้ “วัดเป็นศูนย์กลาง” ของชุมชนแล้ว ยกสองก็คือ ทวงบทบาทเดิมของเจ้าอาวาสกลับคืนมาสู่สังคม

เรื่องการขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทประชาชนนี้ อยากเห็นผู้บริหารมหาจุฬา ฯ เสนอให้เป็น มติ ของมหาเถรสมาคมและให้รัฐบาลเห็นชอบ เพื่อจะได้มีงบประมาณ มีบุคลากรในการขับเคลื่อนให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เหมือนกับโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 และ โครงการวัดประชารัฐสร้างสุข

เชียร์ครับ...