posttoday

ศาสนาพุทธกับการแก้ไขปัญหาทุจริต (ตอน๗)

25 พฤศจิกายน 2553

ปุจฉา : กราบเรียนพระอาจารย์อารยะวังโส

ปุจฉา : กราบเรียนพระอาจารย์อารยะวังโส

โดย....พระอาจารย์อารยะวังโส

ปุจฉา : กราบเรียนพระอาจารย์อารยะวังโส

การประชุมนานาชาติทางวิชาการว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตครั้งที่ ๑๔ เมื่อวันที่ ๑๐๑๓ พ.ย. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ มีบุคคลสำคัญหลายๆ ท่านจากหลายประเทศ ตลอดจนถึงจากประเทศไทยเข้าร่วมประชุม ดังเช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวสุนทรพจน์ตอนหนึ่งว่า “ปัญหาคอร์รัปชันนั้น ไม่จำกัดประเทศ ไม่จำกัดเชื้อชาติ นับเป็นปัญหาสากลที่ทุกที่ในโลกกำลังเผชิญ และต้องรวมพลังกันแก้ไข ที่สำคัญคือ ต้องเข้าใจว่า ‘There is no such thing as good corruption’ สะท้อนความจริงชัดเจนว่า โลกนี้คอร์รัปชันไม่มีวันเป็นสิ่งที่ดี คอร์รัปชันทุกประเภท ทุกชนิด มีต้นทุนต่อสังคมเสมอ...” ผู้เข้าร่วมประชุมชาวต่างชาติท่านหนึ่งได้มีคำถามทิ้งท้ายไว้ในที่ประชุมว่า “ถ้าการวิปัสสนาเป็นทางออกแล้ว ที่ผ่านมาประเทศไทยมีหลักฐานอะไรบ้างหรือไม่ที่เป็นบทพิสูจน์ว่าเป็นวิธีที่สัมฤทธิผลจริงๆ...”

กราบนมัสการมาด้วยความเคารพอย่างสูง

ศรัทธาธรรมส่องโลก

วิสัชนา : องค์กรพระพุทธศาสนา จึงสืบทอดสืบเนื่องมาด้วยคณะสงฆ์ที่มีคุณภาพ สามารถสร้างความเข้มแข็งมาโดยตลอด ทั้งนี้เพราะการวางรากฐานไว้อย่างดี ดังที่ยกสิกขาบทที่ ๒ ในหมวดปาราชิกขึ้นมาแสดงประกอบ แม้จะยาวนานสืบเนื่องจนถึงวันนี้ สองพันห้าร้อยกว่าปี หากพระสงฆ์ยังประพฤติถูกต้องตามพระธรรมวินัย องค์กรพระพุทธศาสนาก็คงจะยังมีความแข็งแกร่งและสามารถสืบเนื่องต่อไปได้อย่างมีคุณภาพ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับคุณภาพของพระสงฆ์ ในแต่ละยุค ในแต่ละสมัย ในแต่ละเขตแดนพื้นที่...ดังนั้น ความจริงของความเสื่อมหรือความไม่เสื่อมขององค์กรพุทธศาสนา จึงไม่ได้อยู่ที่พระธรรมวินัยมัวหมอง หรือมีคำสั่งสอนไม่ทันสมัย แต่อยู่ที่คณะบุคคลทั้งหลาย ที่เดินทางเข้าสู่พระพุทธศาสนาว่า ได้ปลูกฝังอุดมการณ์ธรรม เพื่อนำไปสู่การศึกษาปฏิบัติไว้อย่างเข้มแข็งหรือไม่

อ่านต่อฉบับพรุ่งนี้