posttoday

"บัวแก้ว"อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวายวัดในอินเดีย

30 ตุลาคม 2562

กระทรวงการต่างประเทศ อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน หรือกฐินหลวงไปทอดถวายพระที่วัดในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย

โดย สมาน? สุดโต

กระทรวงการต่างประเทศ อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน หรือกฐินหลวงไปทอดถวายพระที่วัดในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 23-27 ต.ค. 2562? โดยมี นายเจษฎา กตเวทิน รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน พร้อมทั้ง สำนักงานของกระทรวงการต่างประเทศในอินเดียทั้ง 4 แห่งมาร่วมงานบุญตั้งแต่ต้นจนจบ ได้แก่ นายชุตินทร คงศักดิ์ เอกอัครราชทูตไทยประจำนครเดลีและภรรยา

นายธนวัต ศิริกุล รักษาการกงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบ และภรรยา นายนิธิรุจน์ โผนประเสริฐ กงสุลใหญ่ ณ เมืองเชนไน น.ส.สวียา สันติพิทักษ์ กงสุลใหญ่ ณ เมืองโกลกะตา นางอรพินทร์ ลิลิตธรรม ผู้อำนวยการกองทูตวัฒนธรรม กรมสารนิเทศ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศ จากสถานทูตไทย ณ กรุงนิวเดลี รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากสถานกงสุลใหญ่ เมืองโกลกะตา ได้ร่วมงานและปฏิบัติงานอย่างเข้มแข็ง

"บัวแก้ว"อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวายวัดในอินเดีย

ทั้งนี้ ประชาชนชาวชาวอัสสัมที่เรียกว่าไทคำยัง ทั้งหนุ่มสาวและสูงวัยที่เป็นเผ่าไท ในกลุ่มไทอาหมที่วัดแห่งนี้ตั้งอยู่มีจำนวน 100 หลังคาเรือน ประชากรประมาณ 500 คน มาช่วยงานด้วยความปีติยินดี โดยจัดพิธีต้อนรับอย่างสมเกียรติ เช่น ตั้งแถวต้อนรับคณะตลอดทางเข้าวัด

สำหรับวัดนี้สร้างเมื่อ พ.ศ.? 2493 ชื่อว่า พุทธโจลาโปถาร์ นิกายเถรวาท ตั้งอยู่ในหมู่บ้านโจลาโปถาร์ ส่วนเจ้าอาวาสเป็นพระเถระอาวุโสของรัฐอัสสัม อายุ 94 ปี เรียนจบชั้นปาลิอาจาริยะ จาก นวนาลันทา รัฐพิหารในยุคต้นๆ นอกจากเป็นเจ้าอาวาสยังมีสมณศักดิ์ที่พระธรรมรัตนะสาสนวังสะมหาเถโร

ผลงานการเผยแพร่ ได้แปลภาษาบาลีเป็นภาษาอัสสัมถึง 45 เล่ม ที่น่าทึ่งสำหรับพวกเราชาวไทยที่ไปทอดกฐินพระราชทาน เมื่อพบว่าไทคำยัง นามสกุล Shyam.หรืออกเสียงว่าสยาม ทั้งหมู่บ้าน

"บัวแก้ว"อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวายวัดในอินเดีย

พระมหนิพนธ์ ญาณวีโร ป.ธ.7วัดไทยพุทธคยา ในฐานะเลขานุการหัวหน้าพระธรรมทูตไทยอินเดีย เนปาลซึ่งได้รับมอบหมายให้ไปจัดระเบียบพิธีสงฆ์ แปลกใจที่พบว่า คนไทคำยัง มีนามสกุลสยาม Shyam เพราะว่าไม่เคยทราบมาก่อนแม้ว่าจะช่วยงานกฐินในรัฐมาอย่างสม่ำเสมอ (เผ่าไทอาหมในรัฐอัสสัมแบ่งเป็น 7 เผ่าคือ Khampti., Shyami, .Turung, Pakgeyal, Aitone. Dowaniya, Man.)

พระมหานิพนธ์ กล่าวว่า ไทผาเก มีวัฒนธรรมและภาษาคล้ายกับภาษาไทยมากเช่นนับ 1 ถึง 20 หรือ ซาวเหมือนกันมีลอยกระทง เหมือนกัน ไทคำยัง สามารถรักษาเอกลักษณ์การแต่งกายได้ดี เช่น ผู้ชายนุ่งโสร่งลายต่างๆ ไม่จำกัดสี สตรีถ้าเข้าวัดแต่งชุดขาวเป็นส่วนมาก อาหารการกินเป็นของชนเผ่า ค่อนข้างเผ็ดและส่วนหนึ่งก็แบบอินเดีย

กระทรวงการต่างประเทศ รับพระราชทานผ้าพระกฐินไปทอดวัดในประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งอินเดียและเนปาล ตั้งแต่นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ พ.ศ.2538 โดยมี จุดประสงค์เพื่อใช้รากฐานทางวัฒนธรรมร่วมกันระหว่างชาวไทยกับมิตรประเทศเป็นการส้างสัมพันธ์ระดับประชาชนกับประชาชน

"บัวแก้ว"อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวายวัดในอินเดีย

นายเจษฎา กตเวทิน รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า รู้สึกประทับใจที่คนออกมาแยะมาก ส่วนใหญ่มีเชื้อสายเผ่าไท มีศาสนาพุทธเป็นเครื่องยึดเหนียวจิตใจ ซึ่งไม่คิดว่า คนในอินเดียยังมีแนวคิดนี้อยู่ ส่วนกระทรวงการต่างประเทศ ถือว่ากฐินพระราชทานเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายที่จะใช้พระพุทธศาสนาเป็นจุดรวมในการกระชับความสัมพันธ์ ระดับประชาชนกับประชาชน การมีศาสนาร่วมกันมีพลังมาก เหมือนคนพูดภาษาเดียวกันมีวัฒนธรรมเหมือนกันย่อมมีพลัง

สำหรับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออินเดียนั้นมีคนไทอาหม หรือเชื้อสายไทยมากกึง 3-4 ล้านคน มีภาษาและวัฒนธรรมคล้ายกัน ขณะที่ประเทศไทยก็กำลังใช้ North East.India. เป็นประตูเปิดเข้ามากระชับความสัมพันธ์ ระดับประชาชนกับประชาชน? ซึ่งเป็นจังหวะดีที่เขาเปิด แต่ก่อนนั้นเป็นเขตความมั่นคง ไม่เปิดให้ใครเข้ามาง่ายๆ

นายเจษฎา กล่าวว่า อินเดียมีนโบายรุกไปทางตะวันออกเพื่อเปิดประตูเข้าสู่เอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งเมียนมา และไทย ส่วนงานนำผ้ากฐินพระราชทานไปทอดในปะเทศต่างๆนั้น ปีนี้จัดไป 6 ประเทศคือ เมียนมา สปป.ลาว ศรีลังกา กัมพูชา เวียตนาม และ อินเดีย สำหรับอินเดียนั้นทิ้งไม่ได้ เพราะเป็นประเทศต้นกำเนิดพุทธศาสนา

"บัวแก้ว"อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวายวัดในอินเดีย

"บัวแก้ว"อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวายวัดในอินเดีย

"บัวแก้ว"อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวายวัดในอินเดีย

"บัวแก้ว"อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวายวัดในอินเดีย

"บัวแก้ว"อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวายวัดในอินเดีย