posttoday

เซียนไม่ควรพลาด! พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก

26 พฤษภาคม 2562

พระนางพญาเป็นพระศิลปะสุโขทัย อายุการสร้างประมาณ 400 ปีสันนิษฐานว่า พระวิสุทธิกษัตริย์ พระมเหสีของพระมหาธรรมราชา และพระราชมารดาใน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างพระนางพญาขึ้น ในคราวบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดราชบูรณะ ราวปี พ.ศ. 2090 - 2100

โดย อ.ชวินทร์ [email protected]

พระนางพญาเป็นพระศิลปะสุโขทัย อายุการสร้างประมาณ 400 ปีสันนิษฐานว่า พระวิสุทธิกษัตริย์ พระมเหสีของพระมหาธรรมราชา และพระราชมารดาใน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างพระนางพญาขึ้น ในคราวบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดราชบูรณะ ราวปี พ.ศ. 2090 - 2100

เซียนไม่ควรพลาด! พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก

วันนี้มาชมพระนางพญา องค์สวยอีกองค์ หนึ่งในพระชุดเบญจภาคีที่ทุกคนใฝ่หา พุทธคุณของพระนางพญา เด่นด้านเมตตา แคล้วคลาด องค์ที่นำมาให้ชมเป็นพิมพ์สังฆาฏิ เนื้อจัด พิมพ์ติดคมชัดถือว่าเป็นพระดูง่ายเชียวครับ

พระนางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก มีทั้งหมด 7 พิมพ์มาตรฐานที่วงการยอมรับคือ 1.นางพญา พิมพ์เข่าโค้ง (ถือเป็นพิมพ์ใหญ่และนิยมที่สุด) 2.นางพญา พิมพ์เข่าตรง (ถือเป็นพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เข่าตรงธรรมดา) 3.นางพญา พิมพ์เข่าตรง ( ถือเป็นพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า) 4.นางพญา พิมพ์อกนูนใหญ่ (ถือเป็นพิมพ์ใหญ่) 5.นางพญา พิมพ์สังฆาฏิ (ถือเป็นพิมพ์กลาง) 6.นางพญา พิมพ์อกนูนเล็ก (ถือเป็นพิมพ์เล็ก) 7.นางพญา พิมพ์เทวดา หรือพิมพ์อกแฟบ (ถือเป็นพิมพ์เล็ก)

พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ ในอดีตมีชื่อว่า พิมพ์สวมชฎาหรืออีกชื่อคือ พิมพ์สามเหลี่ยม จุดเด่นตามแม่พิมพ์มาจากเส้นสังฆาฎิที่หนาพาดกลางพระอุระ เส้นพระกรรณที่หนาใหญ่เชื่อมกับพระเกศและเส้นครอบพระเศียรมองเหมือนองค์พระสวมชฎา ส่วนชื่อพิมพ์สามเหลี่ยม เพราะมองลักษณะพิมพ์คล้ายสามเหลี่ยมเกือบด้านเท่านั่นเอง

เซียนไม่ควรพลาด! พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก

ส่วนพระพักตร์ขององค์พระจะกว้างและสอบลงมาที่คาง ส่วนมากจะไม่เห็นหน้าตา ที่หน้าผากจะยุบเป็นตำหนิแม่พิมพ์ของพิมพ์สังฆาฏิ หูขวาหรือพระกรรณขวาขององค์พระยาวลงมาเป็นเส้นจรดไหล่ จะเห็นเนื้อเกินที่ต้นแขนขวาอันเป็นเอกลักษณ์สำคัญเช่นกัน และปลายหูซ้ายหรือพระกรรณซ้าย (ขวามือเรา) จะเห็นเหมือนหางแซงแซว หูซ้ายจะยาวจรดไหล่ และพาดต่อลงมาเป็นเส้นขอบจีวร และปลายหูขวาองค์นี้เป็นหางนกแซงแซวเช่นกัน ซึ่งถือได้ว่าพิมพ์ติดค่อนข้างชัดทีเดียวครับ

จะเห็นหลุมบริเวณหัวไหล่ซ้ายมองเหมือนเบ้าขนมครก จะเห็นได้ชัดอันเป็นเอกลักษณ์ของพิมพ์นี้ และปลายไหล่ทั้งสองข้างจะเทลาดลงไปสู่ขอบทั้งสองด้าน เส้นสังฆาฏิกว้างเป็นแผ่นหนาเห็นได้ชัด แขนขวาวางพาดบนตัก และแขนซ้ายจะงอเป็นขอเบ็ด นอกจากนี้ให้สังเกตที่ข้อมือขวาขององค์พระที่วางบนหัวเข่า จะเป็นการวางมือแบบหักข้อมือ โดยมือวางหักออกด้านนอก มองดูเม็ดแร่ในองค์พระจะไม่มีแร่คม สีที่พบคือ ขาวขุ่น ขาวใส สีน้ำตาลและสีดำ และย้ำอีกครั้งว่าเม็ดแร่ต้องไม่คมและบางองค์จะปรากฏพระที่แร่ลอยอีกส่วนด้วยอันเกิดจากการแช่น้ำในกรุเนื่องจากน้ำท่วมกรุมานานนั่นเอง

ด้านพุทธศิลป์ของพระนางพญานั้น เป็นพระพุทธปางมารวิชัย ไม่มีฐาน ไม่มีซุ้ม ขอบตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมชิดกับองค์พระประธาน หลังเรียบเป็นส่วนใหญ่ จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ของผิวหลังที่เรียบและมีส่วนผสมของกรวดที่ฝังอยู่ในเนื้อดิน ด้วยอายุยาวของพระนานกว่า 400 ปี เกิดการหดตัวของดินตามธรรมชาติ ทำให้เห็นดินที่หุ้มอยู่บนกรวดหดตัวลงด้วยเรียกว่าเม็ดผด และสีขององค์พระมี 4 สีคือ ดำ แดง เหลือง และเขียว ซึ่งเกิดจากดินที่ถูกเผาและได้รับความร้อนต่างกันในขณะวางเผาอยู่ในเตา อันเป็นที่มาของขนาดองค์พระด้วย ถ้าโดนความร้อนมากย่อมหดตัวมากที่สุดและขนาดจะเล็กที่สุดซึ่งก็คือสีเขียว

เซียนไม่ควรพลาด! พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก

พระนางพญาเป็นพระศิลปะสุโขทัย อายุการสร้างประมาณ 400 ปีสันนิษฐานว่า พระวิสุทธิกษัตริย์ พระมเหสีของพระมหาธรรมราชา และพระราชมารดาใน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างพระนางพญาขึ้น ในคราวบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดราชบูรณะ ราวปี พ.ศ. 2090 - 2100 ขณะนั้นพิษณุโลกเป็นเมืองลูกหลวง และ พระวิสุทธิกษัตรีย์ ดำรงพระอิสริยยศเป็น แม่เมืองสองแคว และพระมหาธรรมราชา ทรงพระอิสริยยศที่ พระอุปราชแห่งกรุงศรีอยุธยา

พระนางพญาแตกกรุเมื่อคราวพระเจดีย์ซึ่งบรรจุพระนางพญาภายในวัดได้เกิดพังทลายลงมา องค์พระได้กระจัดกระจายเกลื่อนไปทั่วบริเวณวัด และเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสหัวเมืองพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ.2444 เพื่อทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจําลอง และทรงเสด็จไปที่วัดนางพญาด้วย และทางวัดนางพญาได้ทูลเกล้าถวาย พระนางพญาให้กับพระองค์ท่าน

นอกจากนั้น พระองค์ทรงแจกจ่ายพระนางพญาให้กับข้าราชบริพารและผู้ติดตามเสด็จทุกคน และยังมีพระส่วนที่เหลือจากการแจกจ่าย พระองค์ท่านทรงนํากลับมาที่พระนคร ได้บรรจุกรุไว้ที่วัดสังกัจจายน์และวัดปราสาทบุญญาวาส (ต่อมามีการพบพระนางพญาพิษณุโลกที่วัดทั้ง 2 แห่งนี้ ซึ่งหลักฐานตรงกับบันทึกการเสด็จประพาสของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5