posttoday

การทำวัตร คือ ธรรมเนียมพระอริยเจ้า

05 สิงหาคม 2561

วันอาทิตย์ที่ 29 ก.ค. 2561 ตรงกับวันแรม 2 ค่ำ เดือน 88 หลังพระสงฆ์อธิษฐานพรรษา 1 วัน สมหมาย สุภาษิต รองผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์

โดย สมาน สุดโต

วันอาทิตย์ที่ 29 ก.ค. 2561 ตรงกับวันแรม 2 ค่ำ เดือน 88 หลังพระสงฆ์อธิษฐานพรรษา 1 วัน สมหมาย สุภาษิต รองผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เชิญชวนให้ร่วมไปกับบรรดาอาจารย์และผู้บริหาร มจร ที่เดินทางไปทำวัตร หรือทำสามีจิกรรมพระเถระชั้นผู้ใหญ่ในกรุงเทพมหานคร หลายวัด ได้แก่ 1.วัดปากน้ำภาษีเจริญ 2.วัดพิชยญาติการาม 3.วัดชนะสงคราม 4.วัดสามพระยา 5.วัดสระเกศ 6.วัดไตรมิตรวิยาราม ทั้งนี้คณะสงฆ์ถือเป็นพุทธประเพณีที่ผู้น้อยต้องไปถวายความเคารพผู้ใหญ่ หลังอธิษฐานพรรษา

หนังสือคำวัดของพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) อธิบายคำว่า ทำวัตร ว่า การที่ภิกษุสามเณรนำธูปเทียนแพไปสักการะพระเถระผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือในโอกาสต่างๆ เช่น เพื่อขอลาไปอยู่ที่อื่น เพื่อขอขมาในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อรายงานตัว การทำวัตรผู้ใหญ่แบบนี้ถือเป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ ซึ่งคำว่า สามีจิกรรม ก็มีความหมายคล้ายคลึงกัน

การทำวัตร คือ ธรรมเนียมพระอริยเจ้า

พุทธทาสภิกขุ ให้ความหมายและอธิบายล้ำลึกลงไปว่า การทำสามีจิกรรม เพื่อให้เกิดระเบียบในการปกครอง ผู้น้อยต้องเคารพผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นธรรมเนียมของพระอริยเจ้า รวมทั้งอธิบายเรื่องนี้มีความหมาย 3 ประการ

ประการที่ 1 ที่ว่า อุกาสะ วันทามิ ภันเต นั้นคือ คำแสดงความเคารพ

ประการที่ 2 ที่ว่า สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต นั้น คือ คำขอขมาโทษ และอดโทษ

ประการที่ 3 ที่ว่า มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง ฯลฯ นั้น คือ คำขอแลกเปลี่ยนส่วนบุญเพราะฉะนั้น จึงหมายความว่า ในการทำวัตรครั้งนี้เรามาแสดงความเคารพซึ่งกันและกัน มาขอขมาโทษ อดโทษให้กันและกัน มาแสดงความเป็นกันเอง คือ ต่างก็ขอแลกเปลี่ยนส่วนบุญซึ่งกันและกัน

ท่านพุทธทาส อธิบายเรื่องนี้ในหนังสือ ภาษาคน ภาษาธรรม ว่า การอยู่ชนิดที่เสมอกันนั้น เป็นความทุกข์ข้อที่ 1 ที่ว่า อุกาสะ วันทามิ ภันเต คือ เรื่องการแสดงความเคารพนี้ ขอให้ภิกษุสามเณร โดยเฉพาะผู้ที่บวชใหม่นี้ตระหนักและสำเหนียกไว้ในใจให้มาก ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “การอยู่ชนิดที่เสมอกันนั้น เป็นความทุกข์” การอยู่ชนิดที่ไม่ยอมให้ใครเป็นหัวหน้า ไม่มีผู้ใหญ่ ไม่มีผู้น้อย ที่เรียกว่า สัมมานะสังวาโส อยู่เสมอกันหมด ไม่ให้มีสูงมีต่ำ ไม่มีลูกศิษย์ ไม่มีอาจารย์นั้น พระพุทธเจ้าทรงยืนยันว่า เป็นความทุกข์ เป็นเรื่องทุกข์ เป็นทางมาแห่งความทุกข์ยากลำบาก วิบัติฉิบหายมาสู่กันทุกฝ่าย(จากหนังสือภาษาคน ภาษาธรรม หน้า 325)

ส่วนบรรยากาศที่คณะผู้บริหาร มจร ไปทำวัตรพระเถระตามวัดดังกล่าว เท่ากับเป็นการเปิดตัว หรือรายงานตัวของพระราชปริยัติกวี (ศ.ดร.สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ ป.ธ.9 Ph.D.) ในฐานะที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มจร รูปใหม่ (มติสภา มจร วันที่ 24 ก.ค. 2561) แทนพระพรหมบัณฑิต (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.9 Ph.D.)

เมื่อทำสามีจิกรรม สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ รักษาการเจ้าคณะใหญ่หนกลาง วัดพิชยญาติการาม พระราชปริยัติกวี ได้กราบเรียนด้วยวาจาว่า ขอนิมนต์สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เป็นรองอธิการบดี มจร อีกสมัยหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ได้รับการปฏิเสธแต่อย่างใด

มจร จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือ สปป.ลาว

การทำวัตร คือ ธรรมเนียมพระอริยเจ้า

จากสถานการณ์เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย แตกในแขวงอัตตะบือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ส่งผลให้มวลน้ำมหาศาลทะลักเข้าท่วมหมู่บ้านอย่างน้อย 7 แห่งในพื้นที่ท้ายเขื่อน คณะสงฆ์ไทยโดยสมเด็จพระสังฆราชให้ไวยาวัจกรนำส่งกัปปิยภัณฑ์เท่าราคา 1 ล้านบาท และมีพระบัญชาให้คณะสงฆ์หนตะวันออก รวบรวมกัปปิยภัณฑ์พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลือด่วน

ด้าน มจร ซึ่งมีนิสิตสงฆ์ สปป.ลาว เข้ามาศึกษาจำนวนมากก็ได้ระดมสรรพกำลังเพื่อช่วยเหลือเช่นเดียวกัน โดย พระพรหมบัณฑิต รักษาการอธิการบดี มจร ได้จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย สปป.ลาว ขึ้น และมอบหมายให้ พระโสภณวชิราภรณ์ รักษาการรองอธิการบดี ฝ่ายกิจการต่างประเทศ เป็นประธานกรรมการ ดำเนินการช่วยเหลือทั้งเงินและเครื่องอุปโภคบริโภค โดยจัดส่งไปยังเมืองสนามไซ แขวงอัตตะปือ สปป.ลาว ระหว่างวันที่ 2-5 ส.ค. 2561

เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2561 สอนไซ สีพันดอน รองนายกรัฐมนตรี เล็ด ไซยยะพอน เจ้าแขวงอัตตะปือ อุ่นหล้า ไซยยะสิด รองเจ้าแขวงอัตตะปือ เป็นผู้แทนในการรับมอบเครื่องอุปโภคบริโภคที่ มจร จัดไป

มีรายงานว่าผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือจากโครการนี้ ได้แก่ ประชาชนชาติพันธุ์กวยหรือส่วย ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ภายในเมืองสนามไซ จำนวน 8 หมู่บ้าน ผู้แทนพระสงฆ์จำนวน 13 วัด และชาวบ้านจากบ้านมิตรสัมพันธ์ จำนวน 21 ครัวเรือน และที่ศูนย์ผู้ประสบภัยในเมืองสนามไซ 3 ศูนย์ แต่ละศูนย์มีจำนวน 1,500 คน นอกจากนั้นผู้ประสบภัยบางส่วนที่อาศัยอยู่กับญาติๆ ในพื้นที่ใกล้เคียง ประมาณ 2,000 คน รวมมีผู้ประสบภัยราว 6,000 กว่าคน

การผลัดใบ ที่ มจร

การทำวัตร คือ ธรรมเนียมพระอริยเจ้า

พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ธมฺมธโช ป.ธ.9 M.A.) เขียนอนุทินประจำวัน (555 พระอนุจร ติดตามไปต่างแดน) ได้น่าประทับใจ และเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของ มจร มหาวิทยาลัยสงฆ์ชั้นนำแห่งนี้ จึงนำมาถ่ายทอดเพื่อท่านผู้อ่าน ดังนี้

ในสำนักงานอธิการบดี มจร วังน้อย เมื่อเกิดการผลัดใบขึ้น มีการแต่งตั้งรักษาการอธิการบดีและรอการโปรดเกล้าฯ อธิการบดีรูปใหม่ ในวันสุดท้ายของการขนสิ่งของ เช่น หนังสือต่างๆ เข้าห้องสมุด ข้าพเจ้าไปเลือกดูหนังสือที่ถูกใจได้มา 2-3 เล่ม หลังจากที่ผ่านการคัดเลือก
ของผู้อื่นมาหลายวันแล้ว เล่มหนึ่งที่ข้าพเจ้าเคยมีแล้ว แต่หลังจากน้ำท่วม ไม่แน่ใจว่าจะหาได้อีกหรือเปล่า คือ “ภาพชีวิต” ของพระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.9, ดร., ศ.) ตีพิมพ์ในปี 2558 ในวาระครบรอบ 60 ปี (เกิดปีมะแม 17 ก.ย. 2498)

ข้าพเจ้าคัดเลือก “ภาพชีวิต” ของข้าพเจ้าที่อยู่ในเล่มดังกล่าว ในฐานะผู้ร่วมเดินทางเป็นพระอนุจรติดตามไปต่างประเทศรูปหนึ่ง

ชีวิตในต่างแดนที่ร่วมชีวิตกัน ทำให้ใจหาย เมื่อทราบว่า อธิการบดีที่กลายเป็นอดีตอธิการบดีไปตัดสินใจวางมือหลังจากดำรงตำแหน่งอธิการบดี 5 สมัย เป็นเวลา 20 ปี (2540-2561)

แทรกภาพชีวิตที่เคยใช้ชีวิตร่วมกันระยะสั้น 5-6 เดือน ที่ International Students House, University of Delhi, Mall Road ซึ่งภาพถ่ายยังมีพระมหาปัญญา ครุฑวงษ์ (พระราชวิสุทธิเมธี) และพระมหาสมพงษ์ พระมหาอินศร ดวงคิด (พระมงคลธีรคุณ) เป็นต้น

ในการทำงานร่วมกัน นอกจากที่มหาวิทยาลัยจากท่าพระจันทร์ยันถึงวังน้อย ในฐานะที่อธิการบดีเป็นประธานจัดทำหลักสูตร และข้าพเจ้าเป็นกรรมการจัดหนังสือเรียนพระพุทธศาสนา หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 เป็นต้น

งานต่างประเทศ ที่เป็นกาลานุกรมเกี่ยวข้องกับข้าพเจ้า เช่น

- งานฉลอง 250 ปี สยามนิกาย ณ เมืองแคนดี้ ประเทศศรีลังกา (14 พ.ค. 2546) และต่อมามีการฉลอง 260 (2556)

- ร่วมกับคณะสภาผู้นำศาสนาโลก ที่เมืองเยรูซาเลม ประเทศอิสราเอล (13 ธ.ค. 2546) โดยที่ก่อนหน้านั้นเดินทางไปร่วมประชุมที่เมืองเซวิลญา ประเทศสเปน

- ประชุมที่สิงคโปร์ ปี...(น่าจะ พ.ศ. 2547?)

- การลงนามในความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง มจร กับมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนากรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน (21 เม.ย. 2547)

การทำวัตร คือ ธรรมเนียมพระอริยเจ้า

- ประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่ 1 (25 พ.ค. 2547) และประชุมนานาชาติเรื่องเถรวาทและมหายาน ณ ศูนย์การประชุมเอ็สแคป (16-20 ก.ค. 2547) นับจากครั้งที่ 1 จนถึงการประชุมวันสำคัญสากล
ของโลก ครั้งที่ 13 เดินทางไประชุมที่เวียดนาม 2 ครั้ง (2008, 2013 (8-10 พ.ค. 2557) และที่ศรีลังกา (2017)

- ไปร่วมประชุมที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก (1 มิ.ย. 2547)

- ไปช่วยอุทกภัยที่ประเทศเมียนมา พายุนาร์กีสถล่มเมื่อเดือน ก.ย. 2551

- ประชุมสภาผู้นำศาสนาโลก ครั้งที่ 3 ณ เมืองอัสตานา ประเทศคาซัคสถาน (1-2 ก.ค. 2552)

- ประชุม พสล.ครั้งที่ 27 ณ วัดฝ่าเหมิน มณฑลส่านซี (17-18 ต.ค.2557) ซึ่งเป็นครั้งนี้ที่ได้ไปชมสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ด้วยกัน

- เดินทางไปประเทศอียิปต์ (9-12 มี.ค. 2551)

- ร่วมเดินทางไปเยือนประเทศภูฏาน (21-24 มี.ค. 2558)

---เป็นต้น---

เป็นบทสรุป เมื่ออยู่เขาก็รัก เมื่อจากเขาก็อาลัย

รัฐมนตรีอินเดียเดินทางมาอุปสมบทที่เมืองไทย

ศรีราชกุมาร บาโดเล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แห่งแคว้นมหาราษฎร์ อินเดีย เดินทางมาอุปสมบทที่เมืองไทย ณ วัดธาตุทอง กทม. วันที่ 30 ก.ค.-5 ส.ค. 2561 ฉายา “พุทฺธพโล”

แคว้นมหาราษฎร์ มี 36 เมือง เมืองหลวงคือ มุมไบ มีเมืองสำคัญ อาทิ ปูเน่, ออรังกาบัด โดยเฉพาะเมืองนาคปูร์ ที่ ดร.อัมเบดการ์ นำชาวฮินดูกว่า 5 แสนคน ทำพิธีปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2499 มีถ้ำที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนากว่า 1,000 ถ้ำ ทั่วแคว้น
Cr. Lakana Chanram