posttoday

วิกฤตศรัทธา-กับความจริงที่ควรพิจารณา (ตอน ๒)

18 สิงหาคม 2553

ปุจฉา : “...จากภาพหลากหลายของหมู่พระภิกษุสงฆ์ที่ปรากฏต่อสายตาของสังคมในหลายเหตุการณ์ที่ผ่านมา ย่อมให้ความรู้สึกต่อชาวบ้าน-ชาวเมือง ที่นับถือพระพุทธศาสนาในทางที่มิได้เสริมสร้างศรัทธา และแผ่กว้างไปสู่หมู่คนรุ่นใหม่ ให้มีมุมมองต่อพระพุทธศาสนาในทางลบ...จึงใคร่ขอความกรุณาพระอาจารย์อารยะวังโสช่วยให้ความเห็นในประเด็นดังกล่าว เพื่อประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาด้วยเทอญ...” วิสัชนา : จึงไม่แปลกที่พระพุทธศาสนาสั่นกระเทือนด้วยอำนาจของโลกยุคไร้พรมแดน จึงไม่แปลกที่สังคมชาวพุทธในประเทศไทย จะสั่นสะเทือนด้วยกำลังวิกฤตศรัทธาของมหาชน ที่อ้างว่าเป็นชาวพุทธ และจึงไม่แปลกที่ แม้ว่ามหาเถรสมาคมขององค์กรสงฆ์ประเทศไทย จะออกกฎระเบียบมามากมาย เพื่อปกป้องคุ้มครองดูแลพระพุทธศาสนา แต่ยังมีกระแสทำลายเกิดขึ้นมาโดยตลอด อันมีผลให้พระพุทธศาสนาสั่นคลอน โดยความไม่แปลกดังกล่าวนั้น คงจะสรุปชี้แจงแสดงให้เห็นได้ถึงเหตุปัจจัย อันเป็นไปของเรื่องหลากหลายมากรสเหล่านั้นว่า “เพราะอะไร...ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ !?”การค้นหาเหตุปัจจัยของปัญหาหลากหลายอันส่งผลกระเทือนต่อสถาบันแห่งพุทธศาสนา จนก้าวสู่ยุควิกฤตศรัทธานั้น จึงเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาอย่างยิ

ปุจฉา : “...จากภาพหลากหลายของหมู่พระภิกษุสงฆ์ที่ปรากฏต่อสายตาของสังคมในหลายเหตุการณ์ที่ผ่านมา ย่อมให้ความรู้สึกต่อชาวบ้าน-ชาวเมือง ที่นับถือพระพุทธศาสนาในทางที่มิได้เสริมสร้างศรัทธา และแผ่กว้างไปสู่หมู่คนรุ่นใหม่ ให้มีมุมมองต่อพระพุทธศาสนาในทางลบ...จึงใคร่ขอความกรุณาพระอาจารย์อารยะวังโสช่วยให้ความเห็นในประเด็นดังกล่าว เพื่อประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาด้วยเทอญ...”

วิสัชนา : จึงไม่แปลกที่พระพุทธศาสนาสั่นกระเทือนด้วยอำนาจของโลกยุคไร้พรมแดน จึงไม่แปลกที่สังคมชาวพุทธในประเทศไทย จะสั่นสะเทือนด้วยกำลังวิกฤตศรัทธาของมหาชน ที่อ้างว่าเป็นชาวพุทธ และจึงไม่แปลกที่ แม้ว่ามหาเถรสมาคมขององค์กรสงฆ์ประเทศไทย จะออกกฎระเบียบมามากมาย เพื่อปกป้องคุ้มครองดูแลพระพุทธศาสนา แต่ยังมีกระแสทำลายเกิดขึ้นมาโดยตลอด อันมีผลให้พระพุทธศาสนาสั่นคลอน โดยความไม่แปลกดังกล่าวนั้น คงจะสรุปชี้แจงแสดงให้เห็นได้ถึงเหตุปัจจัย อันเป็นไปของเรื่องหลากหลายมากรสเหล่านั้นว่า “เพราะอะไร...ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ !?”

การค้นหาเหตุปัจจัยของปัญหาหลากหลายอันส่งผลกระเทือนต่อสถาบันแห่งพุทธศาสนา จนก้าวสู่ยุควิกฤตศรัทธานั้น จึงเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาอย่างยิ่ง เพื่อสืบสาวเข้าหาเงื่อนไขของปัญหา เพื่อเข้าให้ถึงตัวปัญหาที่แท้จริง... โดยศึกษาจากสภาวธรรมที่ปรากฏเกิดขึ้นในทางลบ หรือที่เรียกว่าภัยต่อพระพุทธศาสนาในหลากหลายรูปแบบ มากด้วยวิธีการ แต่มีจุดมุ่งหมายอันเดียวกัน ซึ่งได้แก่การย่ำยีพระพุทธ การมุ่งฉุดพระธรรม การเหยียบย่ำพระสงฆ์ เติมแต่งด้วยการไม่เสริมสร้างจากนักการเมือง ไม่ค่อยได้รับการหนุนเนืองจากรัฐบาล และประการสำคัญเกิดความร้าวฉานในหมู่ชาวพุทธ จึงทำให้พุทธศาสนาเข้าสู่ภาวะวิกฤตศรัทธา วิกลทางความเห็น นำไปสู่ความวิวาทในหมู่ชนที่นับถือพระพุทธศาสนา จนเกิดความวิปโยคไปทั่วแผ่นดิน ดังเหตุการณ์เผาบ้านผลาญเมืองที่ผ่านมาของชนในชาติผู้มีพุทธศาสนาเป็นสรณะ

จากความวุ่นวายทางสังคมจนแผ่กระจายอำนาจทำลายไปทั่วทุกภาค และประสานพลังความฉิบหายไปทั่วโลกในรูปแบบลัทธิก่อการร้าย จึงส่งผลสนับสนุนให้เกิดภัยคุกคามต่อพระพุทธศาสนา โดยจัดรูปแบบเป็น ภัยใน ภัยนอก และภัยจากลัทธิการเมืองใหม่ มีการระดมความเคลื่อนไหว ทั้งสัมพันธ์กันและไม่สัมพันธ์กัน แต่จุดมุ่งหมายนั้นไม่ได้แตกต่างกันมากนักกับการมุ่งเป้าคุกคามทำลายหลักแห่งใจของชาวไทย อันได้แก่ พระพุทธศาสนา ซึ่งสาธุชนต้องยอมรับว่า กระบวนการทำลายพระพุทธศาสนามีมาโดยตลอดตั้งแต่สมัยพระพุทธองค์ยังมีพระชนม์อยู่ หรือนับเนื่องเบื้องต้นตั้งแต่กำลังจะอุบัติเกิดพระพุทธศาสนาขึ้นในโลกแห่งนี้

เมื่อพญามาราธิราชนำกองกำลังติดอาวุธ พร้อมกรีธาทัพมาข่มขู่ขับไล่พระมหาโพธิสัตว์ ซึ่งกำลังจะตรัสรู้ในพระอริยสัจธรรม อันมีจุดมุ่งหมายเพื่อความสิ้นทุกข์ ณ รัตนบัลลังก์ ใต้ควงพระศรีมหาโพธิ์ (พุทธคยา) หรือ การส่งนารีมาพิฆาตพระพุทธองค์ ว่าด้วยธิดาพญามารทั้งสามได้แก่ นางตัณหา นางราคี นางอรดี หรือการทำร้ายต้องการประหารชีวิตพระพุทธองค์ สมัยเทวทัต เปิดยุทธการต้องการกลืนพระพุทธศาสนา จนนำไปสู่การทำสังฆเภทของเทวทัตเกือบสำเร็จ แต่พ่ายแพ้ต่ออำนาจกรรมชั่วของตนเองจนธรณีสูบตาย หรือกรณีนางจิญจมานวิกา นางวสุนทรี อันเป็นแผนชั่วร้ายที่ต้องการทำลายพระพุทธศาสนาให้สิ้นฤทธิ์ หมดเดช เสื่อมธรรม|ไป...

แต่ก็ไม่สำเร็จ แม้ว่าต่อมาพระพุทธศาสนาจะเข้าสู่ยุคมี พระธรรมวินัย ทำหน้าที่แทนพระพุทธองค์ด้วย เพราะทรงเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว มีวิกฤตศรัทธาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนนำไปสู่การปรับปรุงคณะสงฆ์ ด้วยการกระทำสังคายนาพระธรรมวินัยของคณะสงฆ์ เพื่อการสืบอายุพระพุทธศาสนาไม่ให้สูญหายไปจากโลกนี้ แต่ก็มิใช่ว่าพระพุทธศาสนาจะเดินทางมาอย่างราบเรียบ ดังเหตุการณ์ในแผ่นดินเกิดของพระพุทธศาสนา ได้แก่ ชมพูทวีป จนในที่สุด พระพุทธศาสนาได้อ่อนกำลังลงและสูญสิ้นไปเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๗

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพระพุทธศาสนาได้สูญสิ้นไปจากชมพูทวีป แต่ก็มิได้หมายความว่าพระพุทธศาสนาสูญหายไปจากโลกนี้ เมื่อเกิดการแตกหน่อแตกกอพระพุทธศาสนาไปในพื้นที่นอกเขตชมพูทวีปมีท่าทีว่าจะไปได้ดีด้วย โดยเฉพาะในเขตสุวรรณภูมิหรือแผ่นดินประเทศไทยในปัจจุบัน แต่ก็มิใช่ว่าจะหมดสิ้นปัญหาหรือไม่มีปัญหา รุกเร้า ก่อกวน รบกวน เพื่อให้พระพุทธศาสนาวิกลวิกาลนำไปสู่ความวิวาทของหมู่ชน จนวิกฤตศรัทธาก่อเกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา ซึ่งหากศึกษาให้ลึก เพ่งพินิจให้ละเอียด เพื่อเข้าให้ถึง มองให้เห็นในตัวของปัญหาอันจะได้นำไปสู่การแก้ไขเพื่อขจัดปัญหาให้หมดไป ก็คงจะเข้าใจตรงกันได้ไม่ยากว่า “ปัญหาวิกฤตการณ์ในทุกกาลสมัยของพระพุทธศาสนา ก็มาจากคนภายในพระพุทธศาสนา อันได้แก่ พุทธบริษัทที่อ่อนแอ อ่อนด้อยและอ่อนล้าต่อการศึกษาปฏิบัติให้เข้าถึง-ให้เข้าใจ-ให้รู้จริงในคุณค่าของพระพุทธศาสนา ทั้งนี้ด้วยนิสัยของหมู่ชนผู้คล้องความเหลวไหลในดวงจิตมายาวนาน จนเป็นจริตอันก่อเกิดจิตสันดานที่..