โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส
เจริญพรสาธุชนผู้มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา... มีปุจฉาจากโยมศิริกาญจน์ ในกรณีฮินดูและพระพุทธศาสนา มีคำสั่งสอนในพื้นฐานให้มีศีลและหิริโอตตัปปะเป็นเครื่องผูกมัดพันธะสัญญาจิตในระดับคุณธรรมว่า จะไม่เบียดเบียนกัน (วิหิงสา) ไม่อาฆาตเอาคืนย่อมเป็น Inner peace – true peace... ในศาสนพุทธ เรายังมีคุณธรรมระดับพรหมวิหาร เข้าใจเรื่องของกรรมนิยาม และรู้ให้อภัยแบบไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ อันนี้จะมีในศาสนาฮินดู ด้วยหรือไม่เจ้าคะ!?
จากปุจฉาดังกล่าว เกิดขึ้นด้วยอาตมาได้เขียน เรื่อง การหลีกเลี่ยงความขัดแย้งด้วยศาสนา (พุทธและฮินดู) ...สู่การสร้างสันติภาพโลก ในชื่อภาษาอังกฤษว่า Can Religions Interaction (Hinduism - Buddhism), Lead to Global Peace… ซึ่งเป็นหัวข้อที่จะนำไปสู่การประชุมทางวิชาการ ในระหว่างวันที่ ๓-๕ ก.ย. ๒๕๕๘ นี้ สนับสนุนการจัดงานดังกล่าวโดยรัฐบาลอินเดีย...
รัฐบาลอินเดียให้ความสำคัญกับการจัดประชุมในครั้งนี้ นับว่าอยู่ในระดับสูงสุด ดังที่ทราบว่า นอกจากมีรัฐมนตรีในรัฐบาลอินเดียที่เกี่ยวข้องเข้ามากำกับดูแลตลอดรายการแล้ว ...ท่านนายกรัฐมนตรี โมดี ของอินเดีย ยังอยู่ร่วมรับฟังการบรรยายตลอดรายการ และจะร่วมนำคณะผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนาแต่ละประเทศไปสู่พุทธคยาด้วยเครื่องบินเที่ยวพิเศษ ในวันที่ ๕ ก.ย. ๒๕๕๘ เพื่อร่วมกันถวายสักการบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ พระศรีมหาโพธิ์ พุทธคยา/อินเดีย โดยมีองค์กรและสถาบันการศึกษาทางพระพุทธศาสนาในเขตนาลันทา-พุทธคยา มาร่วมต้อนรับอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะมหาโพธิสมาคมฯ ศูนย์พุทธคยา/อินเดีย
อาตมาได้รับนิมนต์เข้าร่วมประชุมใหญ่ในครั้งนี้ ที่นครเดลี สาธารณรัฐอินเดีย ด้วย และเป็นผู้บรรยายในหัวข้อเรื่อง Can Religions Interaction... ตามที่กล่าวมา ในวันที่ ๓ ก.ย. ๒๕๕๘ เวลาประมาณบ่ายโมง ซึ่งเป็นวันแรกของการประชุม และคงอยู่ร่วมประชุมด้วยทุก Session ตลอดจนถึงร่วมเดินทางเที่ยวบินพิเศษ ไปถวายสักการะสังเวชนียสถานที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ พระศรีมหาโพธิ์ พุทธคยาฯ ด้วย...
จึงนับว่าเป็นมงคลชีวิตอันยิ่งใหญ่ ที่ได้มีโอกาสไปถวายสักการบูชาในระหว่างพรรษา พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยเฉพาะการมีโอกาสนำเสนอหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเพื่อการสร้างสันติภาพโลก
ดังบทความที่ได้นำเสนอไปในเรื่อง ศาสนา...กับการสร้างสันติภาพโลก ด้วยการจำเพาะลงไปที่พระพุทธศาสนา-ฮินดู จนมาสู่คำถามดังกล่าว
จริงๆ แล้ว การปฏิรูปตนเองของแต่ละศาสนาในชมพูทวีปนั้น เกิดขึ้นจากอิทธิพลของพระพุทธศาสนา ที่แผ่กว้างไปทั่วชมพูทวีป โดยวางหลักสันติธรรม เพื่อสันติภาพ-สันติสุขไว้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะหลักวิหิงสาธรรม ซึ่งต่อมาฮินดูที่ปฏิรูปตนเองมาจากพราหมณ์ในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ได้รับหลักธรรมดังกล่าว แล้วนำไปบูรณาการเข้ากับแนวทางของความเชื่อตามลัทธิเทวนิยม จึงเป็นอหิงสาแบบฮินดู... มีการปลูกฝังความเชื่อมั่นไปในกฎแห่งกรรม ...แต่เป็นไปในแนวกรรมลิขิต จึงยังปรากฏระบบวรรณะให้แลดูรู้ว่านี่คือ พราหมณ์แปลงร่าง...
ดังนั้น แม้ว่าจะมีชื่อหลักธรรมที่คล้ายกัน... แนวปฏิบัติใกล้เคียงกัน ด้วยการลอกเลียนจนกลืนกันระหว่างศาสนา แต่มิใช่ว่าความหมายแห่งธรรมจะเหมือนกัน แม้ว่าในขั้นพื้นฐานระดับศีลธรรมจะมีความใกล้เคียงกัน แต่ความละเอียดประณีตของคำสั่งสอนนั้นต่างกัน และอย่างสิ้นเชิงเมื่อแสดงถึงที่สุดแห่งธรรมะ ด้วยความเชื่อที่อยู่ตรงข้ามกัน แม้เป็นเส้นตรงที่ดูเหมือนไปในแนวเดียวกัน แต่จุดมุ่งหมายในทิศทางนั้นแตกต่างกันอย่างชัดเจน ...จึงต้องพิจารณาให้ลึกละเอียดลงไปในสารธรรมที่แท้จริงของแต่ละศาสนา เพื่อการเข้าใจถึงความเหมือนในความต่าง... และความต่างในความเหมือน แม้ว่าในระดับศีลธรรมจะสามารถนำไปสู่สันติสุข-สันติภาพได้เช่นเดียวกัน!!
เจริญพร
ช่างไม้ชาวดัตช์ลงทุนต่อเรือโนอาห์ในตำนาน
วันที่ 27 พ.ย. 2561
ใครคือหนุ่มมะกันที่ถูกชนเผ่าฆาตกรรมบนเกาะห่างไกล
วันที่ 22 พ.ย. 2561
ศาสนา “กาวด่าย” ในเวียดนาม
วันที่ 07 พ.ย. 2561
ศาลเกาหลีใต้ชี้สามารถใช้ "มโนธรรมทางศาสนา" ปฎิเสธเข้าเกณฑ์ทหารได้
วันที่ 02 พ.ย. 2561
ซาอุฯจับแรงงานฟิลิปปินส์ เหตุจัดฉลอง 'ฮาโลวีน'
วันที่ 31 ต.ค. 2561