posttoday

พุทโธ (2)

16 กุมภาพันธ์ 2557

อาการที่ 2 ว่า สนิทานํ ธมฺมํ เทเสติโน อนิทานํ พระองค์ทรงแสดงธรรมประกอบด้วยเหตุด้วยนิทาน

อาการที่ 2 ว่า สนิทานํ ธมฺมํ เทเสติโน อนิทานํ พระองค์ทรงแสดงธรรมประกอบด้วยเหตุด้วยนิทาน ไม่ได้แสดงธรรมโดยเหลวไหล คำที่ว่ามีเหตุมีนิทาน คือพระองค์แสดงของที่มี ถ้าไม่มีแล้วพระองค์ก็ไม่เทศนา ข้อนี้เป็นข้อสำคัญมาก ของที่ไม่มีนั้นหาพะยานหลักฐานไม่ได้ พระองค์จึงไม่ทรงเทศน์ ถึงใครจะอ้อนวอนกราบทูลอย่างไรๆ พระองค์ก็ไม่เทศน์เหมือนอย่างในอัพยากตปัญหา ใจความว่า ถึงใครๆ จะเข้าไปทูลถามว่า คนเรานี้ตายไปแล้วเกิดอีกหรือ หรือตายไปแล้วไม่เกิดอีก และโลกเรานี้เที่ยงหรือไม่เที่ยง มีที่สุดหรือไม่มีที่สุด เป็นต้น ผู้ที่ถามอย่างนี้พระองค์ไม่ได้เทศนา เพราะขาดพะยานหาพะยานไม่ได้ ยกเลิก ถ้าหากว่าจะแนะนำสั่งสอนเพราะขาดพะยานเหล่านี้ ก็จะเป็นที่สงสัยแก่ศิษยานุศิษย์ไม่มีที่สุด ที่พระองค์สั่งสอนนั้น มิได้ขาดจากเหตุ คือตัวของตัวไปเลย มีตัวของตัวเป็นเหตุทุกอย่างทีเดียว ข้อนี้ต้องหมายว่าพระองค์ชี้ในร่างกายนี้ให้เข้าใจ

คำที่ว่าวิชชาไม่ต้องหมายอย่างอื่น คือหมายความรู้ตัวทีเดียว จึงนับว่าเป็นผู้มีวิชชาที่ไปรู้ภายนอกเหมือนอย่างรู้จักเครื่องจักรเครื่องยนต์ต่างๆ นั้นใช้ไม่ได้

รู้เช่นนั้นคงตกอยู่ในวิชชาของอวิชชา คือเป็นวิชชาสมุทัยนั่นเอง ไม่ใช่วิชชาของมรรค

มรรคคือ รู้ตัวของตัว อันนี้ต้องกำหนดให้เข้าใจไว้

ที่พระองค์เทศนาสั่งสอนเวไนยสัตว์ว่าสพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา สังขารธรรมทั้งสิ้นเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งสิ้นไม่ใช่ตัวเป็นอนัตตา ที่แสดงอย่างนี้ก็หมายตัวของเราเอง เพราะเหตุนั้น ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรจึงว่า ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ ปัญญาจักษุของพระโกณฑัญญะเกิดขึ้น หมายปัญญาที่เห็นธรรมว่า สรรพสิ่งทั้งปวงปรากฏเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมดับไปเป็นธรรมดา ท่านแสดงไว้อย่างนี้ อันนี้แสดงประเภทของสังขาร ถึงในบทว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพสงฺขารา ทุกฺขา สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ก็ว่าในสังขาร ถ้าเป็นสังขารแล้วย่อมเป็นของไม่เที่ยงทั้งนั้น พระพุทธเจ้าจะเกิดก็ตาม ไม่เกิดก็ตาม เราจะรู้ก็ตาม ไม่รู้ก็ตาม ย่อมเป็นธรรมฐิติ ธรรมนิยาม ตั้งอยู่อย่างนั้น

ส่วนนี้แสดงชั้นสังขาร ถ้ามีสังขารแล้วต้องมีวิสังขาร

คำที่ว่าสังขารก็ปรากฏจากธรรมที่เป็นวิสังขาร เพราะเหตุนั้น โยคาวจรผู้แสวงหาของจริง เมื่อไปพบของที่ไม่มีจริง ก็จงค้นหาถือเอาแต่ของจริง อย่าถือเอาของที่ไม่จริงของจริงก็มีอยู่ที่ของไม่จริงนั่นเอง เหมือนอย่างเรามาพิจารณาว่าสังขารเป็นของไม่เที่ยง แล้วค้นเข้าไปหาให้ถึงตัว เมื่อค้นไปๆ ก็จะพบตัววิสังขารอีกที่ 1 อย่าไปถือแต่สังขารว่าตัวเราไม่เที่ยง ตัวเราเป็นทุกข์ ถ้าอย่างนี้ตัวของเราก็ต้องจมอยู่ในกองทุกข์นั่นเอง ตกลงเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาตะพึดตะพือไปทีเดียว เช่นนี้จะเอาความสุขที่ไหนมาเล่า เพราะไปยืนตายอยู่ที่ของไม่เที่ยงเสียแล้ว

เหตุนั้นให้พิจารณาสังขาร ค้นหาวิสังขารของที่มีจริงให้ได้จริง

ธรรมชาติของวิสังขารนั้นเป็นธรรมไม่ใช่ตัว แต่ไม่มีอนิจจังทุกขัง ต้องตรวจต้องตรองให้เห็น ต้องเห็นที่ตัวของเราจึงจะใช้ได้

พระพุทธเจ้าพระองค์เทศนามีเหตุมีนิทานอย่างนี้เอง ไม่ใช่เป็นของเหลวไหล อันนี้เป็นข้อสำคัญอัน 1 ในข้อที่ 3 ว่า สปฺปาฏิหาริยํ ธมฺมํ เทเสติ โน อปฺปาฏิหาริยํ พระองค์เทศนามีปาฏิหาริย์ คือกำจัดข้าศึกได้ ถ้าเราเป็นคนมีศีลแล้ว ข้าศึกคือความทุศีลก็ไม่แผ้วพานเพราะมีศีลเป็นปกติจนไม่ต้องลูบๆ คลำๆ อีกแล้วสีลัพพตปรามาส ก็ดับไป ถ้าบัลลุโลกุตตรธรรมแล้ว โลกิยธรรมที่หยาบก็ดับไปไม่มีเหลือเลย วิจิกิจฉาความสงสัยที่มีอยู่ในตนของตนก็ไม่มี เพราะเห็นธรรมที่เป็นปัจจุบันที่ตั้งขึ้น เห็นอดีตอนาคตรวมกันอยู่แห่งเดียวแล้ว หมดความใช้ได้ พระพุทธเจ้าพระองค์เทศนามีเหตุมีนิทานอย่างนี้เอง ไม่ใช่เป็นของเหลวไหล

อันนี้เป็นข้อสำคัญอัน 1 ในข้อที่ 3 ว่า สปฺปาฏิหาริยํ ธมฺมํ เทเสติ โน อปฺปาฏิหาริยํ

พระองค์เทศนามีปาฏิหาริย์ คือกำจัดข้าศึกได้ ถ้าเราเป็นคนมีศีลแล้ว ข้าศึกคือความทุศีลก็ไม่แผ้วพานเพราะมีศีลเป็นปกติจนไม่ต้องลูบๆ คลำๆ อีกแล้ว สีลัพพตปรามาส ก็ดับไป ถ้าบัลลุโลกุตตรธรรมแล้ว โลกิยธรรมที่หยาบก็ดับไปไม่มีเหลือเลย วิจิกิจฉาความสงสัยที่มีอยู่ในตนของตนก็ไม่มีเพราะเห็นธรรมที่เป็นปัจจุบันที่ตั้งขึ้น เห็นอดีตอนาคตรวมกันอยู่แห่งเดียวแล้ว หมดความสงสัยทีเดียว เมื่อยังชัดใจไม่ได้ ความสงสัยก็มีอยู่ร่ำไป การที่จะให้สิ้นความสงสัยต้องค้นให้ถึงธรรมฐิติธรรมนิยามขั้นในคือวิสังขาร จึงจะหายสงสัยได้ ถ้าค้นไม่ได้ก็ต้องสงสัยอยู่วันยังค่ำ บ่นไปอะไรไปว่าอะไรหนอๆ อยู่ร่ำไป

ข้อที่ว่าพระองค์ทรงแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ก็คือนำกิเลสซึ่งเป็นปรปักษ์ออกจากใจเสียได้นั้นเอง เพระเหตุนั้นควรนิยมตามที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนาในโคตมกเจติยธรรมปริยายว่า พระองค์ทรงแสดงเพื่อความรู้ยิ่งเห็นจริง และทรงแสดงมีเหตุมีผลจริง มีปาฏิหาริย์ การเทศนาก็เทศน์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา นี่เอง ไม่ใช่ที่อื่นเลย และไม่ได้หวังต่อลาภสักการแต่อย่างใดๆ การเทศนาก็ต้องมีพระมหากรุณาว่าสัตว์ทั้งหลายเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน มีเจตนาที่จะให้รู้จริงเห็นจริงด้วยกัน ให้บังเกิดขึ้นในใจของตน คือให้มีความสุขความสำราญเกิดขึ้นในตน

อาศัยเหตุที่พระองค์เทศนาอย่างนี้ จึงทรงตั้งศาสนาขึ้นได้ใหญ่โตเต็มโลก บทว่า พุทฺโธ ในวิธีแนะนำสั่งสอนให้พุทธบริษัทได้รู้แล้วประพฤติปฏิบัติตามด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ก็ให้พากันระลึกดูว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ฉลาดแนะนำสั่งสอนที่จะให้รู้ยิ่งเห็นจริง มีเหตุมีผลจริง มีปาฏิหาริย์จริง อาการแสดงธรรมของพระองค์ทั้ง 3 อย่างนั้น ให้ตรวจดูตนของตนว่า บัดนี้ในตัวของเราเป็นอย่างไร? ได้รู้ได้รับแล้วหรือยัง?

ถ้ารู้จักของจริงในสกลกายของเรานี่แหละว่า ส่วนนี้เป็นสังขาร ส่วนนี้เป็นวิสังขาร เมื่อเพ่งดูเห็นได้แล้ว ก็เชื่อว่าเราได้รับพระมหากรุณา ในข้อที่ว่าพระองค์ได้แนะนำสั่งสอนให้รู้จริงเห็นจริง หรือที่ประกาศสั่งสอนประกอบด้วยเหตุด้วยนิทาน คือธรรมทั้งหลายที่พระองค์แสดงนั้นไม่พ้นไปจากเหตุ เราได้เห็นเหตุเห็นผลแล้วหรือยัง? สังขารหน้าตาเป็นอย่างไร? วิสังขารหน้าตาเป็นอย่างไร? ที่มีอยู่ในตนของเรานี้

ถ้ารู้จริงเห็นจริงแล้วก็แปลว่า เราได้รับพระมหากรุณาคุณเต็มที่ เป็นต้นว่าความโลภ ความโกรธ ความหลง อันนี้เป็นข้าศึกของตัวความโลภเป็นข้าศึกของทาน ถ้าความโลภมีอยู่แล้วให้ทานไม่ได้ ถ้าความโกรธมีอยู่แล้วรักษาศีลไม่ได้ ถ้าความหลงมีอยู่บำเพ็ญภาวนาไม่ได้ ถ้าความโลภ ความโกรธ ความหลงมีอยู่ปฏิบัติไม่ได้อย่างนี้ เหตุนั้นต้องเพิกออกไปเสีย เมื่อเข้าใจแล้วให้ตรองดูว่าทานของเรามีอยู่แล้วหรือ? ศีลรักษากายวาจามีอยู่แล้วหรือ? ภาวนามีแล้วหรือ? ให้ตรวจดู

ถ้าเรามีพร้อมบริบูรณ์แล้ว เพราะได้กระทำอยู่เสมอ เมื่อเช่นนี้ก็ได้ชื่อว่าได้รับพระมหากรุณาของพระพุทธเจ้าแล้ว และจักเห็นได้ว่าตัวของเราเป็นผู้หนึ่งซึ่งเป็นผู้ถึงพระคุณคือ พุทฺโธ ได้แล้ว เบิกบานตามอย่างที่พระองค์แนะนำสั่งสอนแล้ว เพราะแต่ก่อนเราไม่ได้ไม่ถึง ครั้นได้รับคำสั่งสอนจึงเข้าใจปฏิบัติได้แล้ว

เมื่อจะภาวนาในบทว่า พุทฺโธๆ ก็ให้คิดถึงข้อปฏิบัติ ในข้อที่ว่าพระพุทธเจ้าทรงพระนามอย่างนี้ ว่าบัดนี้เราก็ถึงแล้วถึงด้วยอาการอย่างนี้ๆ อันนี้เป็นข้อสำคัญ ในบทว่า พุทโธ เมื่อเข้าใจอย่างนี้แล้ว จงพากันตั้งใจประพฤติปฏิบัติอยู่เสมอ เช่นนี้ก็จะมีคุณวุฒิงอกงามเจริญสุขทุกสรรพราตรีกาล ในศาสนธรรม คำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยปริยายที่ได้วิสัชชนามา ด้วยประการฉะนี้