posttoday

อะไรคือ ปาราชิกสังฆาทิเสสของภิกษุในพุทธศาสนา!!! (ตอน ๖)

09 กันยายน 2556

แต่ภิกษุผู้บริโภคปัจจัย ๔ โดยไม่พิจารณา ย่อมจะมีศีลไม่หมดจด ผลทานของทายกจะไม่มีอานิสงส์มาก ด้วยทักษิณาไม่วิสุทธิ

โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส

แต่ภิกษุผู้บริโภคปัจจัย ๔ โดยไม่พิจารณา ย่อมจะมีศีลไม่หมดจด ผลทานของทายกจะไม่มีอานิสงส์มาก ด้วยทักษิณาไม่วิสุทธิ คือ ไม่หมดจดแห่งทักษิณา ภิกษุนั้นเมื่อทำเป็นเหตุจากภิกษุที่ทำให้ผลแห่งทักษิณานั้นตกไป ภิกษุผู้กระทำนั้นต้องติดหนี้ผลทานแก่ทายก หรือศรัทธาญาติโยมผู้ให้ จึงเรียกว่า เป็นผู้บริโภคติดหนี้ ดังพระบาลีที่กล่าวในคัมภีร์มหาฎีกาว่า

อิณวเสน ปริโภโค อิณปริโภโคฯ ปฏิคฺ.

คาหกโต ทกฺขิณาวิสุทฺธิยา อภาวโต อิณํ คเหตฺวา ปริโภโค วิยาติ อตฺโถ

แปลว่า การบริโภคโดยความเป็นหนี้ ชื่อว่า การบริโภคติดหนี้ หมายความว่า เหมือนการบริโภคโดยติดหนี้ เพราะไม่มีความหมดจดแห่งทักษิณา และดังพระบาลีที่สืบต่อในความหมายดังกล่าวว่า

ยถา อิณายิโก อตฺตโน รุจิยา อิจฺฉิตํ.

เทสํ คนฺตุ ลภติ เอวํ อิณปริโภคยุตฺโต โลกโต นิสฺสริตุ น. ลภตีติฯ

แปลว่า ลูกหนี้ย่อมเดินทางไปไหนมาไหนตามความต้องการของตนไม่ได้ ฉันใด ภิกษุผู้บริโภคติดหนี้จะพ้นไปจากโลกนี้ไม่ได้ ฉันนั้น ภิกษุที่ละเลยไม่พิจารณาประโยชน์ของปัจจัย ๔ มักมีความผูกพันในปัจจัยและอาจไปเกิดในทุคติ

ดังที่มีพระฎีกาจารย์กล่าวว่า ภิกษุผู้บริโภคหนี้จะพ้นไปจากโลกนี้ไม่ได้ ซึ่งมีเรื่องของพระติสสะในคัมภีร์ธรรมบทกล่าวโดยสรุปย่อว่า ในพุทธกาลมีภิกษุรูปหนึ่งชื่อติสสะ ผูกพันในจีวร เมื่อมรณภาพแล้วไปเกิดเป็นเล็น คือ สัตว์เล็กๆ เมื่อเหล่าภิกษุจะแบ่งปันจีวรของท่าน ตัวเล็น คือ พระภิกษุรูปนี้ที่ตายไปแล้วไปเป็นเดรัจฉานเป็นเล็นเล็กๆ ก็ร้องห้ามว่าอย่าแย่งจีวรของฉัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้ยินเสียงนั้นด้วยทิพยโสต จึงทรงพระดำริว่า ถ้าภิกษุแบ่งปันจีวร ณ ขณะนั้น เล็นตัวนั้นก็คือพระภิกษุที่ตายไปแล้วนั้น ก็จะโกรธและตกหนักในวิบากหรือผลแห่งกรรมที่โกรธนั้น ย่อมให้ตกลึกลงไปในทุคติในอบายภูมิ ด้วยพระมหากรุณาอันยิ่งของพระพุทธองค์ จึงทรงพระดำรัสกับพระสงฆ์เหล่านั้นว่า

(อ่านต่อฉบับหน้า)