posttoday

การประชุมนานาชาติณ เมืองพาราณสี อินเดียกรณีพระธรรมวินัยกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ (ตอน ๑๔)

12 มีนาคม 2556

จากภาวะจิตสำนึก ดังนั้น กฎหมายกับศีลนี้ แท้จริงแล้วก็คือ หลักการอันเดียวกัน ที่อยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม “กรรมนิยาม”

โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส

จากภาวะจิตสำนึก ดังนั้น กฎหมายกับศีลนี้ แท้จริงแล้วก็คือ หลักการอันเดียวกัน ที่อยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม “กรรมนิยาม” เพียงแต่กฎหมายถูกออกแบบให้มุ่งสู่ผลสำเร็จในการป้องกันอย่างรวดเร็ว เป็นปัจจุบัน เพื่อให้คุณให้โทษ ณ ปัจจุบันนั้นๆ เมื่อกระทำการความผิดใดๆ ฝ่าฝืนกฎหมาย ก็ต้องมีบทลงโทษอย่างฉับพลัน ตามมาตรากำหนดในกฎหมายนั้น ที่ต้องมุ่งสู่ธรรมเป็นสำคัญ เพื่อความสันติสุขของสังคม เพื่อให้สังคมเคลื่อนไหวอย่างถูกทิศทาง ไม่แปรปรวนผิดเพี้ยนไปจากวิถีธรรมที่มุ่งสู่สันติ

นั่นหมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวกับจุดมุ่งหมายของศีลธรรมในศาสนาทุกประการ ที่แสดงอำนาจศีลในรูปของครุธรรมมายาวนาน เพื่อหวังสังคมไปสู่สันติและความสุข ครุธรรมจึงเป็นทั้งตัวกฎแห่งสังคม เป็นทั้งตัวกฎแห่งศาสนา เป็นทั้งตัวบทกฎหมาย ซึ่งเป็นพื้นฐานของชาวโลกที่จะต้องให้ความเคารพ ให้การยอมรับ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสันติ เพื่อการพัฒนาการไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของสังคมนั้นๆ เป็นชุมชนอารยธรรม ในฐานะที่มนุษย์มีความเป็นสัตว์ประเสริฐ... ครุธรรมคือพื้นฐานของศาสนาในทุกศาสนา

ที่วางรูปแบบควบคุมการปฏิบัติเพื่อการไม่กระทำทุจริตทางกาย วาจา และใจ ดังนั้นด้วยแนวทางและเป้าหมายที่มุ่งสู่ “ธรรม” เหมือนกัน ด้วยความตั้งอยู่บนพื้นฐาน “ครุธรรม” อันเดียวกัน กฎหมายและศาสนาจึงเป็นหนึ่งเดียวกันโดยปริยาย ดังคำกล่าวที่ว่า

“สังคมที่ดีต้องมีหลักครุธรรม และหลักครุธรรมที่ดีก็คือ หลักพื้นฐานของทุกศาสนานั่นเอง”

อ่านต่อฉบับพรุ่งนี้