posttoday

การประชุมนานาชาติ ณ เมืองพาราณสี อินเดีย กรณีพระธรรมวินัยกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ (ตอน ๘)

04 มีนาคม 2556

เมื่อนั้น โลก สัตว์โลกจะมีความสงบสุข แต่เมื่อไหร่ ๓ กฎ เริ่มผันแปร

โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส

เมื่อนั้น โลก สัตว์โลกจะมีความสงบสุข แต่เมื่อไหร่ ๓ กฎ เริ่มผันแปร โลกก็จะก้าวสู่ความเร่าร้อนหายนะ และใน ๓ กฎดังกล่าว หัวใจแท้ก็คือ หลักธรรม อันแสดงการทำงานในรูปของกฎแห่งธรรม ที่เป็น ธรรมชาติ เป็นไปตามธรรมนิยาม แสดงความเป็นอิทัปปัจจัย ประกาศความจริงแท้ที่ปรากฏมีอยู่ในธรรมชาติว่า สรรพสิ่งทั้งปวงย่อมเป็นไปอย่างนี้ มีอยู่อย่างนี้ในทุกกาลสมัย ได้แก่ ความไม่เที่ยง ความทุกข์ และความเป็นอนัตตา ที่เรียกชื่อธรรมว่า พระไตรลักษณญาณ นั่นเอง

ตัวกฎความจริงดังกล่าว จึงกำกับให้กฎศาสนา กฎหมาย และกฎสังคม ต้องมีความสัมพันธ์กัน และมีความจริงเป็นอย่างเดียวกัน จึงไม่ใช่ข้อแปลกแยกจากกันในระหว่าง ๓ กฎดังกล่าว เพียงแต่แยกย้ายแปรรูปร่างต่อความสัมพันธ์ต่อบุคคล สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งแท้จริงของความหมายใน ๓ กฎดังกล่าว ย่อมเป็นสัจธรรมที่ดำรงอยู่ได้ไม่ผันแปร เป็นอมตธรรม และทนต่อการพิสูจน์

จึงสามารถที่จะดำรงและสืบเนื่องอยู่ต่อไปในทุกกาลสมัย... นั่นหมายถึง เป็นการดำรงอยู่โดยธรรม เพื่อประกาศความเป็นหลักธรรมวินัยหรือหลักศีลธรรมแห่งการดำรงชีวิตของสัตว์สังคมในโลกนี้ ที่หากมุ่งหมายพัฒนาชีวิตอยู่บนหลักธรรมที่ปรากฏอยู่ในรูป ๓ กฎ ได้แก่ กฎศาสนา กฎหมาย และกฎสังคม ซึ่งมีธัมมะร้อยเรียง ๓ กฎให้รวมอยู่ด้วยกันได้อย่างไม่แปลกแยกออกจากกัน จนเกิดอำนาจธรรมขึ้นจากการรวมตัวกันให้เป็นที่พึ่งพาของสัตว์สังคม ที่สามารถเข้าถึงอำนาจแห่งธรรม เพื่อเป็นหลักดำเนินชีวิตโดยยึดธรรมาธิปไตย เป็นระบบระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติ ดังเขตปกครองในพระพุทธศาสนาที่วางรากฐานการปกครองโดยการพึ่งธรรม เคารพธรรม มีธรรมเป็นธงชัย มีธรรมเป็นตราชู อาศัยอำนาจแห่งธรรมในการจัดการปกครอง ทั้งต่อบุคคลและสังคม จึงเกิดพุทธบัญญัติ ขึ้น ที่เรียกว่า พระวินัย

อ่านต่อฉบับพรุ่งนี้