posttoday

การประชุมนานาชาติ ณ เมืองพาราณสี อินเดียกรณีพระธรรมวินัยกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ (ตอน ๒)

22 กุมภาพันธ์ 2556

สำหรับ “ธรรมส่องโลก” ครั้งนี้ ขอนำคำบรรยายที่เขียนขึ้น เพื่อส่งไปร่วมประชุมแทนตัวอาตมาที่ไม่สามารถเดินทางไปได้

โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส

สำหรับ “ธรรมส่องโลก” ครั้งนี้ ขอนำคำบรรยายที่เขียนขึ้น เพื่อส่งไปร่วมประชุมแทนตัวอาตมาที่ไม่สามารถเดินทางไปได้ เพราะต้องเตรียมงานการนำพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) รุ่นที่ ๑๙ ไปศึกษาปฏิบัติ ณ สังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย เป็นเวลา ๑๐ วัน โดยอาตมาต้องเตรียมตัวเดินทางไปอินเดียตั้งแต่วันที่ ๒๑ ก.พ. ๒๕๕๖ ทั้งนี้คงจะได้จัดงานมาฆบูชา ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร เป็นครั้งที่ ๔ ในวันที่ ๒๕ ก.พ. ๒๕๕๖ นี้ โดยพระธรรมทูตทั้งหมดจะได้เข้าร่วมงานนี้พร้อมเพรียงกัน เพื่อประกาศความสามัคคีในหมู่สงฆ์ อันเป็นพลังธรรมที่สร้างสรรค์โลกให้มีสันติสุขด้วยอำนาจแห่งธรรม

อาตมาจึงไม่สามารถเดินทางไปร่วมประชุมในงานประชุมนานาชาติทางวิชาการครั้งนี้ได้ ทั้งที่เป็นโอกาสสำคัญอย่างยิ่งที่จะได้นำเสนอ “หลักนิติธรรม” ตามพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนา อันควรเป็นรากฐานแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญทั้งปวงของสังคมโลก แต่ถึงแม้จะไม่สามารถไปร่วมประชุมในวันที่ ๑๕๑๖ ก.พ. ๒๕๕๖ นี้ได้ ก็มิใช่หมายความว่าไม่มีโอกาสแสดงความเห็นต่อที่ประชุมในฐานะ Guests of Honors รายที่ ๑ จึงได้ขออนุญาตจัดส่งคำบรรยายเบื้องต้นเข้าที่ประชุมแทน ซึ่งคงจะมีประโยชน์ต่อผู้ร่วมประชุมอยู่บ้าง ในความเข้าใจที่ถูกต้องต่อพระพุทธศาสนา และคงจะนำเสนอความเห็นความรู้ในครั้งต่อไปด้วยตนเอง

เมื่อมีคณะศรัทธาเห็นว่า น่าจะนำคำบรรยายฯ ลงตีพิมพ์ใน “ธรรมส่องโลก” จึงเห็นควร บัดนี้ขอสาธุชนพึงได้ติดตาม กรณีบทบรรยายจากการประชุมนานาชาติ ณ เมืองพาราณสี อินเดีย เรื่อง “Buddhist Jurisprudence and The Constitutional Law” ซึ่งอาตมาขอนำเสนอ กรณีการออกแบบวางรากฐานพระวินัยในพระพุทธศาสนา ไว้เป็นกรณีศึกษา จะได้เห็นถึงจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของพระวินัย อันเป็นนิติธรรมในพระพุทธศาสนา

อ่านต่อฉบับวันจันทร์