posttoday

มุทิตา-สักการธรรมแด่พระเถรจารย์นามพระเทพโมลี (ตอน ๔)

19 พฤศจิกายน 2555

พระสมณโคดมมาแล้วสู่ประเทศ เป็นประดุจมีเขาเป็นคอกของชาวมคธ ได้นำศิษย์ของสัญชัยปริพพาชกออกบวชแล้ว บัดนี้จักให้ใครบวชอีกยังไม่รู้

พระสมณโคดมมาแล้วสู่ประเทศ เป็นประดุจมีเขาเป็นคอกของชาวมคธ ได้นำศิษย์ของสัญชัยปริพพาชกออกบวชแล้ว บัดนี้จักให้ใครบวชอีกยังไม่รู้

โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส

อาคโต โข มหาสมโณ มคธานํ คิริพฺพชํ

สพฺเพ สญฺชเย เนตฺวาน กํสุทานิ นยิสฺสติ

แปลความว่า

พระสมณโคดมมาแล้วสู่ประเทศ เป็นประดุจมีเขาเป็นคอกของชาวมคธ ได้นำศิษย์ของสัญชัยปริพพาชกออกบวชแล้ว บัดนี้จักให้ใครบวชอีกยังไม่รู้

พระภิกษุทั้งหลายได้ทราบคำดังกล่าวแล้ว จึงนำไปกราบทูลสมเด็จพระบรมศาสดาให้ทรงทราบ ซึ่งทรงรับสั่งว่า ไม่ควรเดือดร้อนใจ เสียงอย่างนี้จะมีได้อย่างนานก็เจ็ดวัน เมื่อครบเจ็ดวันก็จะสงบหายไปเอง

และเพื่อป้องกันไม่ให้เสียงนั้นลุกลามต่อไป ขอให้เธอทั้งหลายกล่าวคาถาตอบชาวเมืองเหล่านั้นว่า

นยนฺติ เว มหาวีรา สทฺธมฺเมน ตถาคตา

ธมฺเมน นียมานานํ กาอุสุยฺยา วิชานตํ

แปลความว่า

พระตถาคตทั้งหลาย ผู้มีความแกล้วกล้าเป็นอันมาก ย่อมแนะนำคนทั้งหลาย โดยธรรมที่จะทำให้สงบระงับ ไม่ใช่ธรรมที่ก่อความวุ่นวาย เมื่อท่านรู้อยู่แก่ใจแล้วว่า พระตถาคตทรงแนะนำโดยธรรมดังนี้ “จะไปริษยากันทำไมเล่า” ดังนี้

จากพระคาถาดังกล่าวของพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งทรงแสดงให้เห็น ความไม่ควรริษยากัน... พระธรรมปาโมกข์ (สมณศักดิ์ในขณะนั้นของพระเดชพระคุณสมเด็จฯ) ได้นำมาแจกแจงแสดงให้เห็นประโยชน์แห่งการดำเนินตามคำสั่งสอนดังกล่าว โดยเน้นย้ำว่า เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า อย่าโกรธ อย่าริษยา และได้อธิบายรูปศัพท์คำว่า ริษยานั้นบางครั้งใช้คำว่า อรติ แปลว่า ความไม่ยินดีด้วย โดยแสดงให้เห็นโทษแห่งความริษยา หรืออรติ ดังคำว่า อรติ โลกนาสิกา แปลว่า ความริษยายังโลกให้ฉิบหาย และได้อธิบายอีกลักษณะหนึ่งว่า ความริษยาจะนำไปสู่การเพ่งโทษ คือว่า พอใครได้ดีขึ้นแล้ว คอยคิดแต่ในแง่โทษ แง่คุณไม่ต้องนึก คุณเขามีถมไปแต่ไม่นึก มานึกแต่เพียงว่า “อะไรหนาที่ไม่ดีในคนนั้น” ยกขึ้นติให้ได้... ท่านพระธรรมปาโมกข์ (ในขณะนั้น) ได้แสดงต่อไปว่า ความริษยาให้แก้ด้วยมุทิตาในพรหมวิหารคือ ทำใจให้พลอยยินดี หรือจะภาวนาว่า“ดีเหมือนกันฯ” ก็ได้...แต่อย่าดีแต่ปาก ให้ดีถึงใจ แล้วจะสบายใจ เป็นการเจริญมุทิตา ซึ่งวิธีการเจริญมุทิตา

อ่านต่อฉบับพรุ่งนี้