posttoday

Digital Future Shock : ประเทศไทยกับความท้าทายที่ต้องเผชิญและปรับตัว

18 กุมภาพันธ์ 2567

ความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น New Digital Economic Community, Digital Innovation, Demographic Change และ Energy Natural Resources and Environment ทำให้ประเทศไทยต้องตระหนักถึงขีดความสามารถของประเทศบนฐานความรู้และทรัพยากร

ช่วงนี้ภารกิจติดพันเยอะมากเลยทำให้หายหน้าหายตาไปจากคุณผู้อ่านหลายสัปดาห์ แต่เชื่อไหมครับว่า ระหว่างที่สะสางงานต่าง ๆ ผมกลับฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัจจัยภายนอก ทั้งกระแสโลกาภิวัฒน์ และดิจิทัลภิวัฒน์ รวมถึงผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจที่มีความเปราะบาง ซึ่งอาจทำให้เราไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับคลื่นความเปลี่ยนแปลงหรือวิวัฒนาการของเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลที่ได้รับการพัฒนาและนำไปใช้อย่างไร้พรมแดน จนเกิดสภาวะที่เรียกว่า Digital Future Shock

นอกจากนี้ สิ่งที่เรากำลังเผชิญ รวมถึงความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น New Digital Economic Community, Digital Innovation, Demographic Change และ Energy Natural Resources and Environment ทำให้ประเทศไทยต้องตระหนักถึงขีดความสามารถของประเทศบนฐานความรู้และทรัพยากร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศในอนาคตตามไปด้วย

ดังนั้นเพื่อให้คนไทยสามารถ Perform Better, Think Faster and Live Better จึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงของคนในทุกระดับและทุกช่วงวัย ควบคู่ไปกับการพัฒนาของ 4 กลุ่มเทคโนโลยี ได้แก่ Digital Data ที่หมายรวมถึง Blockchain, Cloud, Big Data และ AI, Digital Automation และ Robotics, Digital Access และ Digital Connectivity

ผมเชื่อว่า การให้ความสำคัญกับปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นและการพัฒนา Digital Economy Stability and Sustainability (เศรษฐกิจดิจิทัลที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความมั่นคงและยั่งยืน) Value Creation from Digital Knowledge Application (การเพิ่มมูลค่าด้วยฐานความรู้ดิจิทัล) Global and Regional Digital Economy Position (การเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจดิจิทัลระดับโลกและระดับภูมิภาค) และ Proactive Digital Policy to Create Positive Externally (นโยบายดิจิทัลเชิงลึกที่ไม่ใช่แค่ตั้งรับอย่างเดียว) จะช่วยรองรับแรงกระแทกจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้ เรื่องที่ไทยควรให้ความสำคัญในอนาคต ยังประกอบด้วย ดิจิทัลเพื่อสังคมและวิถีชีวิตใหม่ ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและการค้ารูปแบบใหม่ ดิจิทัลเพื่อเกษตรกรรมดิจิทัล ดิจิทัลเพื่อการสร้างข้อได้เปรียบทางภูมิรัฐศาสตร์ ดิจิทัลเพื่อการกระจายอำนาจและความเจริญอย่างทั่วถึง ดิจิทัลเพื่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะโลกร้อน ดิจิทัลเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต และดิจิทัลเพื่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสนวัตกรรมดิจิทัล

ผมอยากให้คนไทยทุกคนเป็นคนที่ ‘คิดเป็น ทำเป็น และทำได้’ อีกทั้งมีโอกาสในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัฒน์ และดิจิทัลภิวัฒน์ กับกระแสประชาคมดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงในทุกมิติ

โดย :  ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)