posttoday

ศึกหม้อเดือด! "เอ็มเคสุกี้" VS "สุกี้ตี๋น้อย" เกมนี้ใครได้-ใครเสีย ?

10 มิถุนายน 2568

สงครามสุกี้เดือด! "เอ็มเคสุกี้ VS สุกี้ตี๋น้อย" งัดโปรโมชันบุฟเฟต์หั่นราคาแบบไม่มีใครยอมใคร แต่รู้หรือไม่ ? เบื้องหลังความอร่อยมี "8 หุ้น" ดาวเด่นผู้ผลิตวัตถุดิบและเจ้าของพื้นที่เช่ารับทรัพย์ถ้วนหน้า

KEY

POINTS

  • สงครามสุกี้เดือด! "เอ็มเคสุกี้ VS สุกี้ตี๋น้อย" งัดโปรโมชันบุฟเฟต์หั่นราคาแบบไม่มีใครยอมใคร
  • แต่รู้หรือไม่ ? เบื้องหลังความอร่อยมี "8 หุ้น" ดาวเด่นผู้ผลิตวัตถุดิบและเจ้าของพื้นที่เช่ารับทรัพย์ถ้วนหน้า

สองยักษ์ใหญ่แห่งวงการ "หม้อสุกี้" เปิดศึกหั่นราคากระตุ้นยอดขายช่วงกลางปี "เอ็มเคสุกี้" เสิร์ฟโปรโมชั่นบุฟเฟต์ 299 ต่อหัวชิงตลาดหม้อร้อน

ศึกหม้อเดือด! \"เอ็มเคสุกี้\" VS \"สุกี้ตี๋น้อย\" เกมนี้ใครได้-ใครเสีย ?

ด้าน "สุกี้ตี๋น้อย" สวนหมัดจัดโปร 199 บาทฉลองยอด 1 ล้านผู้ติดตาม!

ศึกหม้อเดือด! \"เอ็มเคสุกี้\" VS \"สุกี้ตี๋น้อย\" เกมนี้ใครได้-ใครเสีย ?  

ศึกนี้ไม่เพียงแค่ผู้บริโภคที่ได้ประโยชน์ แต่ยังมี "ผู้เล่นในตลาดหุ้น" ที่ซุ่มรอเก็บเกี่ยวโอกาสจากแนวรบที่ซ่อนอยู่หลังหม้อน้ำซุปเดือด!

ฝ่ายวิเคราะห์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) ระบุว่า ฝ่ายวิเคราะห์ประเมินข่าวดังกล่าวค่อนข้างน่าสนใจในแง่ของการเปิดสงครามราคาอย่างชัดแจ้งระหว่างกัน โดยมองพัฒนาการในแต่ละระยะมีประเด็นให้ติดตาม และ จะกระทบต่อกำไรของบริษัทจดทะเบียน รวมถึงมีหุ้นที่ได้รับประโยชน์จากสงครามดังกล่าว

โดยมองระยะของสงครามครั้งนี้มี 3 ระยะ คือ

ระยะแรก "เปิดศึกหั่นราคา" คู่แข่งการค้าจะทำการตัดราคาสินค้าที่มีความคล้ายคลึงกันสวนกันไปมา ระยะนี้สินค้าที่ทั้งสองขายจะมีการปรับเปลี่ยนสินค้าให้แตกต่างกันน้อย เนื่องจากเป็นช่วงที่โฟกัสในส่วนของราคา และ ต้นทุน เพื่อประเมินอัตรากำไรที่บริษัทจะได้รับ รวมถึงประเมินความสามารถในการแข่งขันของคู่แข่ง 

ดังนั้น หุ้นที่ได้รับประโยชน์ในระยะแรก จะเป็นหุ้นที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของสองคู่แข่ง เนื่องจากการปรับลดราคาจะทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าหรือบริการดังกล่าวมากขึ้น ผู้ผลิตวัตถุดิบ และ ผู้ครองปัจจัยการผลิต จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการแข่งขันในระยะนี้

ระยะที่สอง คือ "สู้กันจนต้องปรับตัวเข้าหาดุลยภาพใหม่" เป็นการปรับตัวเข้าหาระดับราคาที่ทั้งสองคู่แข่งพอจะมีกำไร แต่จะอยู่ในระดับที่น้อยลงกว่าปกติมาก ผลประกอบการของผู้เล่นในสงครามราคาจะเริ่มเห็นการชะลอตัวเนื่องจากอัตรากำไรจะลดลงตามการหั่นราคา

และ ในธุรกิจที่มีการเปิดสาขาเป็นบุฟเฟต์เพียงบางสาขา จะเห็นปริมาณผู้เข้าใช้บริการที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดในสาขาที่เปิดขายตามปกติจะยังคงมีผู้เข้าใช้หรืออาจลดลงบ้างตามการเข้ามาทดแทนของสินค้าคู่แข่ง หรือ สินค้าของตนที่ผันตัวไปขายแบบบุฟเฟต์ 

ระยะนี้อาจเห็นการปิดตัวลงในบางสาขาที่ไม่ได้เป็นบุฟเฟต์เพื่อลดต้นทุน เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของตนให้มากที่สุด ระยะนี้ผู้ครอบครองปัจจัยการผลิตจะเริ่มถูกส่งซื้อน้อยลง เนื่องจากมีการปิดสาขาในบางสาขาลง และอาจมีการปรับลดเมนูบางเมนูที่ไม่ได้ถูกสั่งบ่อยนักเพื่อคุมต้นทุนให้ได้มากที่สุด

ระยะที่สาม คือ "ต้นทุนสู้ไม่ไหว เปลี่ยนไปสร้างความแตกต่าง" ระยะนี้สงครามราคาจะเข้าสู่ระยะอิ่มตัว ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะเห็นภาพราคาของคู่แข่งชัดเจนว่าอยู่ที่เท่าไหร่

หากยังต้องการแข่งขันเพื่อเป็นเจ้าตลาดจะเข้าสู่การแข่งขันรูปแบบใหม่ คือ การแข่งขันเพื่อความแตกต่าง (Product/Services Differentiation) ผู้เล่นจะแข่งกันออกสินค้าใหม่ ภายใต้ต้นทุนเท่าเดิม ราคาขายเท่าเดิม เพื่อตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น กำไรของบริษัทจดทะเบียนในระยะยาวจะเริ่มแย่ เนื่องจากจะต้องทุ่มลงทุนงบสำหรับการวิจัยและพัฒนาสินค้ามาต่อสู่กับคู่แข่ง

ระยะสุดท้ายจะเป็นการตัดสินสงครามครั้งนี้ว่าใครจะอยู่หรือไป หากสินค้าสามารถตอบโจทย์ของลูกค้าได้มากและไม่สามารถลอกเลียนแบบตามได้จะทำให้ความสามารถการแข่งขันของตนเพิ่มสูงมากอย่างเห็นได้ชัดจะเห็นจำนวนลูกค้าเข้าร้านของตนอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับคู่แข่งและอาจเห็นการออกจากการแข่งขันครั้งนี้ของคู่แข่งหรือธุรกิจอื่นๆที่มีลักษณะคล้ายกัน

ทางฝ่ายวิเคราะห์มองปัจจุบันเข้าสู่ระยะแรกของสงครามราคามีโอกาสที่ผู้ครองปัจจัยการผลิตทั้งในส่วนของวัตถุดิบและพื้นที่เช่าจะยังได้ประโยชน์จากอุปสงค์ที่เร่งตัวและปริมาณคนเข้าใช้บริการที่จะหนุนยอดบริการในห้างมากยิ่งขึ้น

มองเป็นโอกาสเข้าลงทุนใน CPF, BTG, TFG, GFPT, MBK, CPAXT, CRC และ BJC เพื่อรับ Sentiment บวกในระยะสั้น

ข้อมูล SETTRADE

ข่าวล่าสุด

ทรัมป์เรียกร้องให้อิหร่าน “ยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไข”