posttoday

"สมโภชน์"เปิดโรงงานแบตฯ-ประกอบรถEVครบวงจร ตอกย้ำแบรนด์ไทยเบอร์หนึ่ง

02 เมษายน 2567

"สมโภชน์ อาหุนัย" ซีอีโอ "พลังงานบริสุทธิ์(EA)" เปิดโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน พร้อมโรงประกอบรถไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ครบวงจร เดินหน้าเต็มขุมพลังสู่เป้าหมายกำลังผลิต 50 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี

     นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA กล่าวต้อนรับคณะผู้บริหารเนชั่นว่า วันนี้จะพาเยี่ยมชม "บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด" ซึ่งเป็นโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนแห่งแรกในอาเซียน มีพื้นที่ 80,000 ตารางเมตร หรือกว่า 91 ไร่ ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม บลูเทคซิตี้ มีเนื้อที่ 2,500 ไร่ และเตรียมตั้งอีก 11 โรงงานเพื่อรองรับกำลังผลิตแบตฯ 50 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี

\"สมโภชน์\"เปิดโรงงานแบตฯ-ประกอบรถEVครบวงจร ตอกย้ำแบรนด์ไทยเบอร์หนึ่ง

     นอกจากนี้ ยังมี "บริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จำกัด (AAB)" ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกลุ่ม EA และ กลุ่ม NEX Point ทำธุรกิจผลิตและประกอบรถไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ทุกประเภท ทั้ง รถหัวลาก , หัวรถจักร , รถเมล์ , รถทัวร์ , รถบรรทุกขนาดเล็ก , เรือ , รถกระบะ เป็นต้น ทำครบวงจรนับตั้งแต่การผลิต, ประกอบ, จัดจำหน่าย ตลอดจนการขายและให้บริการหลังการขาย บนพื้นที่ 55,000 ตารางเมตร กำลังการผลิต 3,000-5,000 คันต่อปี

\"สมโภชน์\"เปิดโรงงานแบตฯ-ประกอบรถEVครบวงจร ตอกย้ำแบรนด์ไทยเบอร์หนึ่ง

     ภายในโรงงาน AAB ประกอบด้วย "โรงชุบสารกันสนิม (ETP)" ใหญ่ที่สุดในอาเซียนมีที่นี่ที่เดียว สามารถนำรถบัสความยาว 12 เมตรลงไปชุบสารได้ทั้งคัน มีทั้งหมด 12 บ่อ มูลค่าราว 20 ล้านบาทต่อบ่อ จากนั้นจะนำโครงรถที่ได้มา "โรงพ่นสีด้วยโรบอท" เพื่อความสม่ำเสมอของสีและประหยัดเวลา ฉีดพียูทำหน้าที่ซอฟท์เรื่องเสียง เวลาฝนตกกระทบและความร้อน จากนั้นจะนำไปเก็บปูพื้นและปูทับด้วย PVC ผิวสวยอีกชั้น ซึ่งในมาตรฐานข้อกำหนดการขนส่งจะกำหนดชัดว่าวัสดุใดต้องผ่านมาตรฐานการลามไฟ เป็นต้น

     จากนั้นรถจะถูกส่งไปยัง "ลานประกอบ" เพื่อประกอบใส่แบตเตอรี่และเครื่องใช้ต่างๆ หลังจากประกอบเสร็จแล้ว รถจะถูกส่งไปไป "ทดสอบระบบ" ทั้งอัตราการเร่ง การเบรก มีการอัดน้ำเข้าไปเพื่อดูว่ามีน้ำรั่ว น้ำซึมตรงจุดไหนหรือไม่ พร้อมทดสอบการขับขึ้นเนินลงเนิน ขับบนพื้นผิวขรุขระ และการขับลงน้ำ เป็นต้น จากนั้นจะมีการส่งมอบรถไฟฟ้าให้แก่ลูกค้า 

     ทั้งหมดที่พูดถึงนี้ถือว่าครบวงจรที่สุด นี่คือสิ่งที่เราตั้งใจ และ อยากให้เห็นว่าคนไทยสามารถทำในสิ่งที่ต่างประเทศทำได้เช่นกัน 

     " เราไม่ได้ผลิตอะไรที่เหมือนชาวบ้าน ตอนที่เราเริ่มคิดเรื่องพวกนี้เราพยายามคิดว่าพอธุรกิจเริ่มบูม เริ่มมีการแข่งขัน เราจะสู้กับต่างชาติได้ยังไง เราเลยเริ่มคิดถึงเรื่องอินโนเวชั่น จริงๆสิ่งที่เราทำมันเป็นเรื่องอินโนเวชั่นและคอนเซ็ปต์ต่างๆที่เราทำ คีย์เวิร์ดคือพอเรามีอินโนเวชั่นเราก็ไปทำเรื่องสิทธิบัตรเป็นหลัก พอเราได้คอนเซ็ปต์นี้เชื่อว่าถ้าเราทำของใหม่ๆและทำอินโนเวชั่น แล้วมีโพรเทคชั่นเรื่องของสิทธิบัตรจะทำให้เวลาทำธุรกิจไปข้างหน้า การแข่งขันที่คนจะเข้ามาแข่งจะยากขึ้น และเราจับอุตสาหกรรมที่ไม่เหมือนกับตลาดใหญ่ๆเพราะถ้าเราไปสู้กับยักษ์ใหญ่ตรงๆ เราสู้ไม่ได้ เราไปจับตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ที่เราคิดว่ายังพอสู้ได้

\"สมโภชน์\"เปิดโรงงานแบตฯ-ประกอบรถEVครบวงจร ตอกย้ำแบรนด์ไทยเบอร์หนึ่ง

 

      นี่คือภาพใหญ่ที่เราทำ เหมือนเป็นยุทธศาสตร์ที่เราเดินมา แต่ที่สำคัญคือตั้งแต่เราเดินมาจนถึงวันนี้ที่เราบอกว่าเราดูรัฐบาลทำโน่นทำนี่ ก็แอบน้อยใจนิดๆว่าเราไม่เคยได้ความช่วยเหลือ ผมอยากให้สนับสนุนเรื่อง Made in Thailand มากขึ้น เพราะช่วยให้เงินตราอยู่ในประเทศและจะทำให้เศรษฐกิจไทยโต ไม่งั้นจะเหมือนทัวร์ศูนย์เหรียญเหมือนที่เราเห็น เวลาคนมาลงทุนเราจะดูแต่ตัวเลขว่ามาลงทุนกี่แสนล้านเท่านั้น แต่จริงๆเงินเขาเอากลับไปหมด อย่างในอดีตผลิตรถยนต์ในไทย คนไทยได้ค่าแรงราว 5,000 บาทต่อคันเท่านั้น ผมคิดว่าถ้าอุตสาหกรรมปลายน้ำผลิตในไทยเยอะๆ คนไทยเป็นเจ้าของจะทำให้รายได้ เงินต่างๆอยู่ในประเทศไทยเยอะขึ้น เราจึงพยายามทำตรงนี้ "

 

    \"สมโภชน์\"เปิดโรงงานแบตฯ-ประกอบรถEVครบวงจร ตอกย้ำแบรนด์ไทยเบอร์หนึ่ง นายฉัตรพล ศรีประทุม ผู้อำนวยการ โครงการกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวว่า เรื่องของพลังงานในประเทศต้องบาลานซ์ใน 3 เรื่อง คือ 1.พลังงานสะอาด เพราะทั่วโลกให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

     2.ราคา ด้วยการใช้พลังงานสะอาดทั้งหมดในขั้นตอนการผลิตในบางช่วงบางเวลาราคาอาจจะแพง และ 3.ความมั่นคงของประเทศ เพราะหากใช้เฉพาะโซลาร์กับลม ในช่วงเวลากลางคืนจะทำอย่างไร

     ทั้ง 3 สิ่งนี้ต้องบาลานซ์กัน แต่การจะทำให้บาลานซ์ได้ด้วยการใช้แบตเตอรี่เข้ามากักเก็บพลังงานในบางช่วงเวลา ซึ่งผมไม่ได้บอกว่าต้องใช้แบตฯ 100 % เพราะบางช่วงเวลา 17.00 - 22.00 น. ช่วงพีคการใช้ไฟพุ่ง ค่าไฟอาจแพงขึ้นก็อาจใช้ไฟจากโซลาร์ที่สามารถผลิตได้ หรือบางทีประเทศเราอาจใช้พลังงานไฮโดรเจนจากเพื่อนบ้านถือเป็นพลังงานสะอาดเหมือนกันเพียงแต่อาจต้องบาลานซ์เรื่องความมั่นคงของประเทศเช่นกัน

\"สมโภชน์\"เปิดโรงงานแบตฯ-ประกอบรถEVครบวงจร ตอกย้ำแบรนด์ไทยเบอร์หนึ่ง

     ทั้งนี้กลุ่ม EA มองสถานการณ์ตั้งแต่ 7-8 ปีที่ผ่านมาแล้วว่านอกจากพลังงานทดแทน เชื่อว่ายานยนต์ไฟฟ้าต้องมาแน่ๆ เพียงแต่จะทำอย่างไรให้ธุรกิจเกิดขึ้นในไทยให้ได้เร็วที่สุดเพราะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกค่อนข้างสำคัญแต่ไทยไม่ได้มีวอลุ่มหรือประชากรใหญ่มากเหมือนจีน ดังนั้นเราจะทำอย่างไรจึงนำจุดแข็งของเรามาเดินหน้าธุรกิจอย่างเต็มกำลัง

     "EA ลงทุนในอมิตาไต้หวัน ถือหุ้น 71.2% แล้วมาขยายในไทย ในอีก 3 เดือนจะเห็นกำลังการผลิตแบตฯเป็น 4 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี จากนั้นจะขยายเป็น 8 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี ช่วงเวลาที่ใช้ไฟเยอะคนต้องการสำรองไฟฟ้า เทรนด์ energy storageก็จะเกิดขึ้น ตอนนี้ทำแบต NMC แต่ปีหน้าขยาย LFP เพิ่ม เรามี Ultra fast  charge ภายใน 15นาที และกำลังศึกษาการนำแบตฯเก่ามารีไซเคิลเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด เรามีโรงประกอบรถอีวีแบบครบวงจร และมีไทยสมายให้บริการเดินรถนี่คือความตั้งใจและในอนาคตก็จะขยายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง"

\"สมโภชน์\"เปิดโรงงานแบตฯ-ประกอบรถEVครบวงจร ตอกย้ำแบรนด์ไทยเบอร์หนึ่ง