posttoday

จากคลินิกคนมีบุตรยากครบวงจร "GFC" ก้าวสู่ IPO ตลาด mai

25 มิถุนายน 2566

ไอพีโอป้ายแดงแรงฤทธิ์! "เจเนซีส เฟอรท์ลีตีเซ็นเตอร์(GFC)" คลินิกครบวงจรสำหรับคนมีบุตรยาก ศูนย์รวมนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยรายแรกในตลาดหลักทรัพย์ mai

จากคลินิกคนมีบุตรยากครบวงจร \"GFC\" ก้าวสู่ IPO ตลาด mai " จากผู้ประกอบการ SME และผู้ที่เคยได้รับการปรึกษาการมีบุตรยากมาก่อน สู่การรวมตัวทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและนักวิทยาศาสตร์ ผู้ชำนาญการที่มีประสบการณ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ประสบการณ์กว่า 20 ปี

ร่วมกันปลูกปั้น "บมจ.เจเนซีส เฟอรท์ลีตีเซ็นเตอร์ (GFC)" คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ภายใต้ชื่อ “Genesis Fertility Center” ย่านพระราม 3 ให้บริการทางการแพทย์สำหรับผู้มีปัญหามีบุตรยากแบบครบวงจร ตั้งแต่ให้คำปรึกษา ตลอดจนการเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม ถือเป็นรายแรกในตลาดหลักทรัพย์ mai "

 

จากคลินิกคนมีบุตรยากครบวงจร \"GFC\" ก้าวสู่ IPO ตลาด mai       "กรพัส อัจฉริยมานีกูล" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจเนซีส เฟอรท์ลีตีเซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ GFC กล่าวกับ "ทีมข่าวโพสต์ทูเดย์" ว่า ย้อนกลับไปในวันก่อตั้ง "GFC" ในวันที่ 8 ธันวาคม 2559 ทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 10 ล้านบาท

     แม้ระยะเวลาการก่อตั้งผ่านมาไม่นานนัก แต่ความพิเศษของ "GFC" คือ ปณิธานของทีมบริหารและบุคลากรผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้า นำโดย รศ.นพ.พิทักษ์ เลาห์เกริกเกียรติ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านสูตินรีเวชและเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ที่มีประสบการณ์ด้านการให้บริการทางการแพทย์ สำหรับผู้มีปัญหามีบุตรยากมากกว่า 20 ปี

จากคลินิกคนมีบุตรยากครบวงจร \"GFC\" ก้าวสู่ IPO ตลาด mai      รวมถึง นพ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ สูตินรีแพทย์ , พญ.ปรวัน ตั้งธรรม แพทย์ผู้ชำนาญการด้านการเจริญพันธุ์ , น.ส.ปิยะดา วิรัตน์พงษ์ นักวิทยาศาสตร์หรือนักเทคนิคการแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการเจริญพันธุ์ และ นางภาสิริ อรวัฒนศรีกุล นักธุรกิจผู้มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ที่ต้องการสร้างคลินิกที่ให้บริการผู้ที่มีบุตรยากแบบครบวงจร

     ซึ่งในตอนนั้นเน้นให้บริการเฉพาะคนไทย เพื่อหวังว่าจะช่วยแก้ปัญหาการมีบุตรยากและช่วยเพิ่มจำนวนประชากร สร้างสังคมคนรุ่นใหม่ที่แข็งแรงออกมา จึงร่วมกันก่อตั้งคลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา “Genesis Fertility Center” ย่านพระราม 3 เกิดขึ้นแห่งแรกในไทย ปัจจุบันมีลูกค้า ทั้ง คนไทยและต่างชาติ

 

จากคลินิกคนมีบุตรยากครบวงจร \"GFC\" ก้าวสู่ IPO ตลาด mai      ปัจจุบันมีบริษัทย่อย คือ 1.บริษัท จีโนโซมิกส์ จำกัด (GSM) ดำเนินธุรกิจการให้บริการตรวจพันธุกรรมของตัวอ่อน (Next generation sequencing : NGS) อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 พิจารณารับทราบการหยุดดำเนินงานชั่วคราวของ GSM ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 เนื่องจากอยู่ในระหว่างการย้ายที่ตั้งสำนักงานไปอยู่ที่คลินิก GFC สาขาสุวรรณภูมิ-พระราม 9

จากคลินิกคนมีบุตรยากครบวงจร \"GFC\" ก้าวสู่ IPO ตลาด mai      บริษัทอยู่ระหว่างการปรับปรุงอาคารเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของผู้ใช้บริการและขยายพื้นที่การให้บริการมากขึ้น ทั้งนี้ การให้บริการตรวจพันธุกรรมของตัวอ่อน (Next generation sequencing : NGS) จะสามารถให้บริการได้ตามปกติภายใต้ GFC แทน โดยไม่มีผลกระทบทางด้านรายได้ของกลุ่มบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ

     และ 2. บริษัท จีเอฟซี เฟอร์ทิลีตี กรุ๊ป จำกัด (GFCFG) ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้ง จัดตั้งขึ้นสำหรับการลงทุนในกิจการอื่นที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจอื่นๆที่ก่อให้เกิดประโยชน์ หรือ สนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัท ทั้งนี้ GFCFG ยังไม่มีรายได้เชิงพาณิชย์

 

สัดส่วนรายได้ ?

     รายได้หลักมาจากการให้บริการรักษาผู้มีบุตรยากด้วยวิธี ICSI คิดเป็นสัดส่วนรายได้ ราว 70-80%  จากคลินิกคนมีบุตรยากครบวงจร \"GFC\" ก้าวสู่ IPO ตลาด mai

     และ การให้บริการตรวจพันธุกรรมของตัวอ่อน (Next generation sequencing : NGS) สัดส่วนราว 20%

     ส่วนที่เหลือรับรู้รายได้จากการให้บริการตรวจเบื้องต้นก่อนให้คำแนะนำหรือรักษา , การให้บริการรักษาผู้มีบุตรยากด้วยวิธี IUI (Intrauterine insemination) 

     ปัจจุบัน GFC มีทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำระแล้ว 80 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ จำนวน 160 ล้านหุ้น และ ภายหลังการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทัพย์ฯจะมีหุ้นสามัญ เพิ่มเป็น 220 ล้านหุ้น

      โดยจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 60 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท คิดเป็น 27.27% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมด 

    จากคลินิกคนมีบุตรยากครบวงจร \"GFC\" ก้าวสู่ IPO ตลาด mai  และ คาดว่าจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai ภายในปี 2566 ในหมวดธุรกิจบริการ ซึ่ง GFC ถือเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการทางการแพทย์สำหรับผู้มีบุตรยาก รายแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ มีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิ

     "เบื้องต้นอยู่ระหว่างในการประเมินภาวะตลาดและหลายสถานการณ์ ซึ่งคาดว่าในไตรมาส 3/2566 น่าจะมีความชัดเจนมากกว่านี้"

 

ทำไม? ตัดสินใจเข้าตลาด mai

     การตัดสินใจเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ mai ครั้งนี้ เพื่อเพิ่มศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถการเติบโตในอนาคต สู่เป้าหมายการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ที่ดีที่สุด ภายใต้นวัตกรรมและเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย จากคลินิกคนมีบุตรยากครบวงจร \"GFC\" ก้าวสู่ IPO ตลาด mai

     ซึ่งจะเห็นได้จากการนำเทคโนโลยี Early Embryo Viability Assessment (EEVA) เป็นการนำระบบ AI จากประเทศสหรัฐอเมริกามาช่วยประเมินตัวอ่อน ซึ่งเป็นที่แรกในประเทศไทย ในปี 2563 ได้พัฒนาให้สามารถแสดงผลข้อมูลเกี่ยวกับตัวอ่อน และวิเคราะห์คุณภาพของตัวอ่อนอย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ

     สอดรับกับวิสัยทัศน์การเป็นหนึ่งในผู้นำด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ในภูมิภาคอาเซียน ที่มีความมั่นคง ยั่งยืน และยึดมั่นในหลักจริยธรรม

      สำหรับเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้ จะนำไปลงทุนโครงการคลินิกสาขาสุวรรณภูมิ-พระราม 9 เพื่อรองรับงานบริการลูกค้าคนไทยและต่างชาติในอนาคต รวมถึงเป็นศูนย์อบรมนักเทคนิคการแพทย์ เพื่อเพิ่มจำนวนนักเทคนิคการแพทย์ให้สอดคล้องกับการขยายตัวของกลุ่มบริษัท คาดใช้เงินลงทุนราว 450 ล้านบาท ประกอบด้วย ที่ดิน อาคาร และ ส่วนปรับปรุงอาคารคลินิก

จากคลินิกคนมีบุตรยากครบวงจร \"GFC\" ก้าวสู่ IPO ตลาด mai      อีกทั้ง ลงทุนโครงการคลินิก สาขาอุบลราชธานี คาดเปิดดำเนินการในปี 2567 เพื่อขยายฐานการให้บริการรักษาภาวะมีบุตรยากไปยังกลุ่มลูกค้าในพื้นที่และ จังหวัดใกล้เคียง ซึ่งเป็นการร่วมทุนกับแพทย์ในพื้นที่ในสัดส่วน 60% (บริษัท) อีก 40% (แพทย์ในพื้นที่) คาดใช้งบลงทุนราว 35 ล้านบาท

     นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงการลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการให้บริการทางการแพทย์สำหรับผู้มีปัญหามีบุตรยาก เพื่อขยายขอบเขตการให้บริการให้ครอบคลุมในพื้นที่ที่มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น

 

 

ภาพอีก 3 ปีเป็นอย่างไร ? จากคลินิกคนมีบุตรยากครบวงจร \"GFC\" ก้าวสู่ IPO ตลาด mai

     "GFC" เน้นเรื่องความพร้อมและคุณภาพทั้งเทคโนโลยี นวัตกรรม และบุคลากร ถือเป็นหัวใจสำคัญ เพื่อเตรียมพร้อมแผนการขยายสาขาตามหัวเมืองสำคัญๆทั่วประเทศไทย จากนั้นขยายตามเมืองรองต่างๆ เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าทั่วไทยและต่างประเทศ

     และ ด้วยศักยภาพความเชี่ยวชาญ บวกความทุ่มเทในการให้บริการทางการแพทย์สำหรับผู้มีบุตรยากของ GFC จึงสะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตของผลการดำเนินงานในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเติบโตอย่างต่อเนื่อง

     โดยปี 2563 บริษัทมีรายได้จากการให้บริการ 214.42 ล้านบาท กำไรสุทธิ 66.55 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 31.04% 

จากคลินิกคนมีบุตรยากครบวงจร \"GFC\" ก้าวสู่ IPO ตลาด mai      อีกทั้งในปี 2564 มีรายได้จากการให้บริการ 242.12 ล้านบาท กำไรสุทธิ 69.63 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 28.76%

     และ ปี 2565 มีรายได้จากการให้บริการ 275.91 ล้านบาท กำไรสุทธิ 65.68 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 23.81% ผลจากจำนวนผู้เข้ามารับบริการรักษาภาวะมีบุตรยาก ด้วยวิธี ICSI เพิ่มขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายในการบริหารที่เพิ่มขึ้นเช่นกันส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลง

     อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลังจากคลินิก GFC สาขาสุวรรณภูมิ พระราม 9 และสาขาอุบลราชธานีแล้วเสร็จและเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการจะส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

 

อยากให้หุ้นเป็นแบบไหน?

     "GFC" สามารถเป็นได้ทั้งหุ้น Growth Stock หรือ Defensive Stock เป็นได้ทั้งหมด เพราะเป้าหมายการเติบโตของธุรกิจในอนาคตค่อนข้างสูง 

     "ฝากถึงนักลงทุนทุกท่าน อยากให้นักลงทุนเติบโตไปด้วยกัน การลงทุนครั้งนี้ค่อนข้างชัดเจนเพราะนำเงินไปลงทุนในสาขาที่ 2 และ 3 เป็นการสร้างฐานการเติบโตให้แข็งแกร่ง เป็นการเริ่มต้นการเติบโตไปพร้อมกัน"