posttoday

ออมสินเดินหน้า Net Zero วางเป้า 8 ปี ลดคาร์บอน 64%

20 ธันวาคม 2566

วิทัย ชู CSV ปรับธุรกิจแก้ปัญหาความยากจน ลดความเลื่อมล้ำ ปักธง Net Zero ตั้งเป้าลดคาร์บอน 64% ใน 2030 พร้อมเดินหน้าหนุนผู้ประกอบการออกกรีนบอนด์ ด้วยการลดดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียม หลังปล่อยสินเชื่อไปแล้วกว่า 3 หมื่นล้าน

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสิน กล่าวในงานสัมมนาภายใต้หัวข้อ “GREEN ECONOMY LANDBRIDGE โอกาสทอง?” ซึ่งจัดโดย หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ว่า 3 ปีที่ผ่านมาธนาคารออมสินวางได้วาง position ธนาคารเป็นธนาคารเพื่อสังคม (Bank Social) ตามแนวทางธุรกิจสู่ความยั่งยืน(sustainability) ซึ่งประเทศไทยพบว่า มีปัญหาเชิงโครงสร้างของไทย ส่วนหนึ่งคือเรื่องของความความยากจน และความเลื่อมล้ำ ซึ่งธุรกิจของธนาคารออมสิน 3 ปีที่ผ่านมาได้เปลี่ยนทบบาทอย่างชัดเจน จากเดิมเกือบเหมือนแบงก์พาณิชย์ โดยเน้นทำงานเพื่อสังคมเป็นหลัก เพิ่มการดูแลลูกค้าจากล้านกว่าคน เป็น 1.4 ล้านคน ตอนนี้มี 3.5 ล้านคน 

 

โดยธนาคารได้แบ่งเป็น 2 คือ ด้านหนึ่งทำธุรกิจเชิงแบงก์พาณิชย์ปกติ และอีกด้านหนึ่งแบ่งกำไรจากส่วนนี้มาดูแลภาระกิจเชิงสังคม และขณะเดียวกันก็มีกำไรเพิ่มขึ้น และสนับสนุนภารกิจด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการทำธุรกิจที่มีกำไรเพิ่มขึ้นได้ด้วย และสามารถช่วยสังคมได้ด้วย  

ซึ่ง สอดคล้องกับแนวคิดการสร้างคุณค่าร่วม Creating Shared Value(CSV)เปลี่ยน CSR เป็น CSV ทำให้กำไรสูง รายได้สูงขึ้น และเกิดความยั่งยืน เป็นการนำปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นมาใส่ในโอกาสทางธุรกิจ ทำให้ขยายธุรกิจได้ ช่วยคนได้ กำไรสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดความยั่งยืน แต่ก็ยอมรับว่า ดูเหมือนง่ายแต่ทำไม่ง่าย ดูเหมือนเล็กแต่เป็นเรื่องใหญ่ แต่เราสามารถเริ่มจากจุดเล็กๆได้ 

 

ยกตัวอย่าง เช่น สมัยก่อนเดิมมีเพียง ธุรกิจธนาคาร จะมีธนาคารรัฐ ธนาคารพาณิชย์ และสหกรณ์ ซึ่งปัจจุบันธุรกิจสมัยใหม่ มีทั้งธุรกิจ พิโกไฟแนนซ์ นาโนไฟแนนซ์และลีสซิ่ง ทั้งหมดกินส่วนแบ่งทางการตลาด เพราะจัดอยู่ในกลุ่มฐานราก เราจึงเปลี่ยนแนวทางในการช่วยคน เช่น เราทำสินเชื่อจำนำทะเบียนมอเตอร์ไซค์ ซึ่เป็นกลุ่มคนจนคนฐานราก ลดดอกเบี้ย 10% จาก 28% เหลือ 18% มีคนใช้บริการ 2 ล้านคน ที่ปล่อยสินเชื่อไป จากผู้ใช้บริการ 5 ล้านคนทั้งตลาด ทำให้เกิดธุรกิจใหม่ และเราทำนอนแบงก์ที่ช่วยคนจนมากขึ้น ก็เป็นธุรกิจใหม่ที่ทำให้มีกำไร 

 

"เป็นเรื่องจริงที่เราจะสามารถการขยายธุรกิจใหม่ ด้วยการสอดรับในการช่วยสังคม สิ่งแวดล้อมทำให้เกิดธุรกิจใหม่เกิดขึ้น และสามารถลดต้นทุนได้ ทำให้เกิดความยั่งยืน ตั้งแต่ช่วงโควิดที่ผ่านมา ออมสินได้ทำทั้งหมดกว่า 63 โครงการ มีผู้เข้ามาใช้บริการ 18 ล้านคนในโครงการต่างๆ” นายวิทัย กล่าว

 

ทั้งนี้ ธนาคารออมสินถือเป็นกำลังหลักที่เข้าไปแก้หนี้ครัวเรือนให้กับคนไทย ตามนโยบายรัฐที่ต้องการให้ธนาคารออมสินเข้ามาแก้หนี้ในระบบให้กับคนไทย เช่น การให้สินเชื่อ 1 หมื่นบาทในช่วงโควิด ธนาคารออมสินสามารถ ดึงคนเข้าสู่ระบบได้ 1.1 ล้านคน ซึ่งตอนนี้คนเหล่านี้กู้ที่ไหนก็ได้ ขณะนั้นการปล่อยสินเชื่อไม่ตรวจเครดิตบูโร ไม่ตรวจสอบหลักเกณฑ์ใดๆ โดยส่วนหนึ่งช่วยดึงให้คนที่อยู่นอกระบบสามารถเข้าสู่ระบบได้ และอีกข้างหนึ่งเป็นกลุ่มที่เป็นหนี้เสีย แต่ต่ำกว่าที่ประมาณที่คาดไว้ ล่าสุด รัฐบาลได้มีการยกหนี้เสียให้กับคนกลุ่มนี้ซึ่งรัฐบาลดูแลกว่า 50% ขณะที่ธนาคารออมสินยังมีมาตรการ ไม่ฟ้อง ไม่ยึดทรัพย์ ไม่ขายทอดตลาด ไม่ฟ้องล้มละลาย


สำหรับแผน  Net Zero โดยธนาคารออมสินได้ประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ต้องจัดการอยู่ที่ 17.2 ล้านตัน ถือว่ามีจำนวนมาก ซึ่งแบ่งเป็น 3 ขอบเขต คือ การใช้น้ำมัน การใช้ไฟฟ้า และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจของเรา เช่น การปล่อยสินเชื่อ แต่ลูกค้าเราไปปล่อยคาร์บอนต่อ ส่วนใหญ่จะเป็นโรงไฟฟ้า ซึ่งออมสินวางเป้าหมายเป็น Net Zero เหมือนทุกๆหน่วยงาน คือ ในปี 2050 โดยใน 8 ปี จะต้องลดปริมาณคาร์บอนจากปัจจุบัน ล่าสุดตั้งให้ได้ 64% ลดจากปัจจุบัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในปี 2030 สำหรับสินเชื่อที่ธนาคารจะไม่ทำสินเชื่อแล้ว คือ  โรงไฟฟ้าถ่านหิน ธุรกิจถ่านหิน เป็นต้น 

 

นอกจากนี้ ธนาคารออมสินได้สร้าง ESG Scores ด้วยการประเมินลูกค้าด้วย ESG  -โดยน้ำหนักประมาณ 40% อยู่ที่ผลต่อสิ่งแวดล้อม หากประเมินแล้วธุรกิจออกมาได้คะแนนสูง 8-10 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ออมสินจะส่งเสริมด้วยการลดดอกเบี้ยให้ หรือไม่เก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ เพื่อส่งเสริมที่เกี่ยวความยั่งยืน หรือ BCG กรีนไฟแนนซ์ซิ่ง และการออกบอนด์ที่เกี่ยวกับความยั่งยืน หรือกรีนบอนด์ เป็นต้น ซึ่งออมสินปล่อยสินเชื่อไปแล้วกว่า 3 หมื่นล้านบาท ส่วนคะแนนต่ำ 0-2 ออมสินจะส่งทีมลงไปช่วยแก้ไขและปรับปรุงกิจการ เพื่อให้คะแนนดีขึ้น เขาจะมี ESC Scores ที่สูงขึ้น ซึ่งที่่ผ่านมาเราได้ปล่อยสินเชื่อตาม ESC Scores ได้ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท 

 

ส่วนบทบาทช่วยสังคมจะช่วยผู้ประกอบการอย่างไรให้ไปมุ่งสู่ธุรกิจสีเขียวนั้น ที่ผ่านมาธนาคารออมสินได้มีโปรดักส์การปล่อยสินเชื่อที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง หลายโครงการ BCG Economy ก็มีมูลค่ากว่า 2 หมื่นกว่าล้าน