posttoday

ผ่าแนวคิด Zero Waste หมู่บ้านคามิคัตสึ เมืองต้นแบบปลอดขยะ แห่งแดนปลาดิบ

05 ธันวาคม 2566

เอไอเอส ผนึก กลุ่มเซ็นทรัล ลงพื้นที่ หมู่บ้านคามิคัตสึ ประเทศญี่ปุ่น ซึมซับแนวคิด Zero Waste กับการแยกขยะมากถึง 45 ประเภท ผ่านหลักการ ลดขยะ ใช้ซ้ำ และรีไซเคิล สู่เมืองต้นแบบปลอดขยะระดับโลก พร้อมนำมาต่อยอดสร้างโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน สู่เป้าหมาย Net Zero ปี 2050

หมู่บ้านคามิคัตสึ  เมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ ในเกาะชินโชกุ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงโด่งดังเรื่องปลอดขยะและการจัดการขยะอันดับต้นๆของโลก จนกลายเป็นต้นแบบการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน และเป็นหนึ่งในสถานที่เรียนรู้ของคนรักสิ่งแวดล้อมจากทั่วโลกที่หมุนเวียนกันมาซึมซับและศึกษาโมเดลการบริหารจัดการขยะกันอย่างต่อเนื่อง

ผ่าแนวคิด Zero Waste หมู่บ้านคามิคัตสึ เมืองต้นแบบปลอดขยะ แห่งแดนปลาดิบ

โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากปัญหาด้านการจัดการขยะที่มีต้นทุนในการขนส่งสูงและข้อจำกัดด้านกฎหมายเกี่ยวกับการเผาขยะ จนปัจจุบันหมู่บ้านคามิคัตสึ สามารถแยกขยะได้ 45 ประเภท และสร้างรายได้ต่อปีอยู่ที่ประมาณ 880,000-2,000,000 เยน 

ผ่าแนวคิด Zero Waste หมู่บ้านคามิคัตสึ เมืองต้นแบบปลอดขยะ แห่งแดนปลาดิบ

ซาโตชิ โนโนยามะ นายกเทศมนตรี และ ซีอีโอ บริษัทพังเกีย อาคาดามี่ด้านการแยกขยะ เล่าถึงจุดเริ่มต้นก่อนจะมาเป็นเมืองต้นแบบปลอดขยะที่หลายคนทั่วโลกอยากค้นหา ว่า ย้อนไปเมื่อปี 1997 หมู่บ้านไม่สามารถใช้เตาเผาขยะได้ เนื่องจากมีกฎหมายออกมาบังคับห้ามเผาขยะ ทำให้รูปแบบการกำจัดขยะต้องรวบรวมใส่ตู้คอนเทนเนอร์ไปกำจัดที่ จ.ยามากุจิ ซึ่งเป็นจังหวัดที่สามารถรับกำจัดขยะได้ ทว่า ด้วยต้นทุนในการขนส่งผ่านตู้คอนเทนเนอร์ที่มีค่าใช้จ่ายต่อตู้ถึง 170,000 เยน และใช้เวลาเพียง 2 วัน ตู้คอนเทนเนอร์ดังกล่าวก็เต็มแล้ว ทำให้หมู่บ้านต้องใช้งบประมาณรัฐในการกำจัดขยะปีละกว่า 30 ล้านเยน 

เปลี่ยนขยะให้เป็นเงินสู่ต้นแบบปลอดขยะ
ด้วยเหตุนี้ ทำให้ หมู่บ้านคามิคัตสึ  ต้องมีการวางแผนในการกำจัดขยะให้มีปริมาณน้อยลง เริ่มด้วยการแยกขยะเป็น 33 หมวดหมู่ เพื่อทำขยะให้กลายเป็นเงิน มีการนำเงินของรัฐสนับสนุนให้ทุกครัวเรือนมีถังหมักปุ๋ยจากเศษอาหาร โดยประชาชนออกเงินเพียงบางส่วน ทั้งนี้เพื่อให้ขยะเหลือน้อยที่สุด และในปี 2003 จึงได้ออกปฏิญญาขยะเป็นศูนย์ (Zero Waste)

เมืองของเราไม่มีรถขนขยะ ไม่มีถังขยะส่วนรวม เป้าหมายของเราคือทำอย่างไรไม่ให้โลกสกปรก ขยะต้องแยกได้ 80% เหลือเป็นการฝังกลบ ให้น้อยที่สุด 

เขากล่าวต่อว่า สำหรับขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้คือของใช้ที่มีส่วนประกอบในการทำหลายอย่าง เช่น ยาง กาว หนังยาง จากรองเท้า กระเป๋า เป็นต้น รวมถึงขยะอันตราย เช่น หน้ากากอนามัย ทิชชูที่ใช้แล้ว ผ้าอ้อมสำเร็จรูป เป็นต้น ดังนั้นการจะทำให้ขยะเป็นศูนย์ได้ ต้องเริ่มจากผู้ผลิต ที่ต้องคำนึงถึงปลายทางว่าสินค้าที่ผลิตจะไปอยู่ที่ไหน จะกลายเป็นขยะต่อไปหรือไม่ 

ผ่าแนวคิด Zero Waste หมู่บ้านคามิคัตสึ เมืองต้นแบบปลอดขยะ แห่งแดนปลาดิบ ผ่าแนวคิด Zero Waste หมู่บ้านคามิคัตสึ เมืองต้นแบบปลอดขยะ แห่งแดนปลาดิบ ผ่าแนวคิด Zero Waste หมู่บ้านคามิคัตสึ เมืองต้นแบบปลอดขยะ แห่งแดนปลาดิบ ผ่าแนวคิด Zero Waste หมู่บ้านคามิคัตสึ เมืองต้นแบบปลอดขยะ แห่งแดนปลาดิบ ผ่าแนวคิด Zero Waste หมู่บ้านคามิคัตสึ เมืองต้นแบบปลอดขยะ แห่งแดนปลาดิบ

การบริหารจัดการขยะของหมู่บ้านดูแลโดยเทศบาลผ่านการใช้งบประมาณชองรัฐ ปัจจุบัน หมู่บ้านคามิคัตสึ  มีศูนย์ Kamikatsu-cho Zero Waste Center เพื่อให้คนในหมู่บ้านนำขยะมาแลก ต่อวันมีชาวบ้านมาทิ้งและแยกขยะอยู่ที่ 30 คน ขยะที่แยกได้มีทั้งสิ้น 45 ประเภท สามารถสร้างรายได้ต่อปีอยู่ที่ 880,000-2,000,000 เยน มีต้นทุนในการกำจัดขยะอยู่ที่ปีละ 6 ล้านเยน โดยทุกวันจะมีบริษัทเอกชนเข้ามาที่ศูนย์แยกขยะเพื่อมารับซื้อขยะรีไซเคิล เช่น ราคากระป๋อง 1 กิโลกรัม อยู่ที่ 160 เยน เงินที่ได้จะกลายเป็นยอดสะสมในการสำรองไว้เพื่อเป็นทุนการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมต่อไป

ผ่าแนวคิด Zero Waste หมู่บ้านคามิคัตสึ เมืองต้นแบบปลอดขยะ แห่งแดนปลาดิบ

สำหรับ ศูนย์ Kamikatsu-cho Zero Waste Center ก่อสร้างขึ้นเป็นรูปเครื่องหมายคำถาม เพื่อต้องการตั้งคำถามกับผู้ทิ้งขยะได้ตระหนักถึงทิ้งขยะแบบถูกวิธี และคิดก่อนจะซื้อสินค้า ว่าปลายทางของขยะจะเป็นเช่นไร และทำไมต้องทิ้งขยะ นอกจากศูนย์นี้คือแหล่งคัดแยกขยะของหมู่บ้านแล้ว สิ่งของเหลือใช้ทั้งเสื้อผ้า ของใช้ในบ้านก็จะมีการนำมาวางเรียงรายเพื่อรอให้นำกลับไปใช้ใหม่ 

ผ่าแนวคิด Zero Waste หมู่บ้านคามิคัตสึ เมืองต้นแบบปลอดขยะ แห่งแดนปลาดิบ ผ่าแนวคิด Zero Waste หมู่บ้านคามิคัตสึ เมืองต้นแบบปลอดขยะ แห่งแดนปลาดิบ ผ่าแนวคิด Zero Waste หมู่บ้านคามิคัตสึ เมืองต้นแบบปลอดขยะ แห่งแดนปลาดิบ

ซาโตชิ โนโนยามะ กล่าวว่า ศูนย์ Kamikatsu-cho Zero Waste Center ยังกลายเป็นสถานที่เรียนรู้เรื่องการจัดการขยะจากทั่วโลกมาศึกษาดูงานผ่าน Zero Waste Academy มีการจัดโปรแกรมพร้อมที่พักเพื่อศึกษาการแยกขยะอย่างจริงจัง และการก่อสร้างอาคารก็ใช้แนวคิดในการนำของเก่ามารีไซเคิล ทำให้การก่อสร้างศูนย์ใช้งบประมาณเพียง 550 ล้านเยน 

ผ่าแนวคิด Zero Waste หมู่บ้านคามิคัตสึ เมืองต้นแบบปลอดขยะ แห่งแดนปลาดิบ ผ่าแนวคิด Zero Waste หมู่บ้านคามิคัตสึ เมืองต้นแบบปลอดขยะ แห่งแดนปลาดิบ 17 ปีหลังจากออกปฏิญญา Zero Waste ในปี 2003 คนในชุมชนทุกคนได้ร่วมกันลดขยะในเมืองคามิคัตสึและได้พิสูจน์ตนเองด้วยสถิติรีไซเคิลขยะได้ในอัตรามากกว่า 80% ซึ่งความท้าทายในการร่วมกันกำจัดขยะของหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งนี้ได้ดึงดูดความสนใจจากคนทั่วโลก และได้ปูทางเมืองแห่งนี้ไปสู่สังคมที่ยั่งยืนโดยเมืองคามิคัตสึมีเป้าหมายในการพัฒนาเมืองให้มีความงามทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เป็นสถานที่ที่ทำให้ทุกคนมีความสุข และสามารถเติมเต็มความฝันของพวกเขาได้ และในฐานะผู้บุกเบิกเรื่องขยะเป็นศูนย์ เมืองคามิคัตสึก็ได้ประกาศนโยบายขยะเป็นศูนย์อีกครั้ง ผ่านเป้าหมายหลัก "การคิดถึงอนาคตของสิ่งแวดล้อมเพื่อลูกหลาน ภายใต้ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล และส่งเสริมผู้อื่นให้ร่วมลงมือ" โดยตั้งเป้าบรรลุเป้าหมายภายในปี 2030

ผ่าแนวคิด Zero Waste หมู่บ้านคามิคัตสึ เมืองต้นแบบปลอดขยะ แห่งแดนปลาดิบ

ต่อยอดสร้างโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน สู่ Net Zero ปี 2050
สมชัย  เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า นโยบายหลักของเรา นอกจากสร้างมาตรฐานของสินค้า บริการ นวัตกรรม และการดูแลลูกค้าอย่างเป็นเลิศแล้ว ยังมีภารกิจในการดูแลสังคม สิ่งแวดล้อม สนับสนุนสู่ Sustainable Nation  โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ใน 2 แกนหลัก คือ

1. ลดผลกระทบผ่านกระบวนการดำเนินธุรกิจ และ 2.ลดและรีไซเคิลของเสียจากการดำเนินธุรกิจและส่งเสริมให้คนไทยร่วมกำจัด E-Waste อย่างถูกวิธี เพราะการมาถึงของ Digital ส่งผลให้เกิดขยะ E-Waste มากขึ้น จนกลายเป็นปัญหาระดับโลก เช่นกรณีมูลค่าขยะ E-Waste ที่ถูกเผาทำลายมีมากถึง 57,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่กลับมีการจัดเก็บอย่างถูกวิธีและรีไซเคิลได้เพียง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น จะเห็นได้ว่า ปริมาณที่สูญหายในระหว่างทางนั้นมีอยู่มหาศาลและสามารถส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมหากกำจัดอย่างไม่ถูกต้อง 

จึงเป็นที่มาของการขับเคลื่อนภารกิจคนไทยไร้ e-waste ในปี 2562 เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้ร่วมมือกับกลุ่มเซ็นทรัลตั้งแต่ปี 2563  รณรงค์และเป็นช่องทางรับทิ้ง E-Waste ได้สะดวกกับประชาชนยิ่งขึ้น ผ่านศูนย์การค้าในกลุ่มเซ็นทรัลที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ 37 สาขาทั่วประเทศ รวมถึงร้าน  Power Buy ผู้นำธุรกิจค้าปลีกศูนย์รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าไอที มือถือ แก็ดเจ็ต อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ครบวงจร รวม 40 สาขาทั่วประเทศ และผ่าน Application   E-Waste Plus ที่เพิ่มเติมเข้ามา อันเป็นการร่วมเสริมพลังกับ 190 องค์กร ขับเคลื่อน HUB of e-waste ศูนย์กลางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะแห่งแรกของไทย ที่มีทั้งความรู้ เครือข่ายที่มาช่วยกันแลกเปลี่ยนไอเดียใหม่ๆ การขยายจุดรับทิ้งให้ครอบคลุม การบริการด้านการขนส่ง และการรีไซเคิลสู่กระบวนการ Zero e-waste to landfill ได้ในท้ายที่สุด

ผ่าแนวคิด Zero Waste หมู่บ้านคามิคัตสึ เมืองต้นแบบปลอดขยะ แห่งแดนปลาดิบ

พิชัย  จิราธิวัฒน์  กรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล กล่าวว่า การจัดการปัญหาขยะอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ต้องเริ่มจากตัวเราเองที่ต้องทำทุกวันและต่อเนื่องจนเป็นนิสัย  และเราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะสำเร็จได้ต้องร่วมมือกันทำจากทุกภาคส่วน จึงเป็นที่มาของการผนึกกำลังกันระหว่าง กลุ่มเซ็นทรัล และ เอไอเอส ซึ่งเป็นพันธมิตรกันมาอย่างยาวนาน การร่วมมือกันครั้งนี้เป็นการสานต่อจากโครงการ การทิ้งขยะ E-Waste อย่างถูกวิธี ซึ่งทาง กลุ่มเซ็นทรัล มุ่งมั่นสานต่อเจตนารมย์ที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านโครงการ “เซ็นทรัล ทำ - ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ” โครงการเพื่อความยั่งยืนดำเนินการโดยกลุ่มเซ็นทรัล ผ่าน 6 แนวทางการขับเคลื่อนเพื่อความยั่งยืน 

1.ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน สร้างอาชีพ และบรรเทาสาธารณภัย (Community & Social Contribution) 

2. ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงโอกาส อย่างเท่าเทียม (Inclusion) การศึกษา (Education) 

3.พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital Development) 

4. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนและการบริหารจัดการขยะมูลฝอย (Circular Economy & Waste Management) 

5.ลดการสูญเสียอาหารในกระบวนการผลิตและลดปริมาณขยะอาหาร (Food Loss & Food Waste Reduction) 

6.ฟื้นฟูสภาพอากาศ ลดมลภาวะ และผลักดันการใช้พลังงานหมุนเวียน (Climate Action) ทำให้เรามีส่วนสำคัญในการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจขององค์กร และขับเคลื่อนการลดการสร้างขยะให้เป็นศูนย์ผ่านแคมเปญ Journey to Zero เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero ในปี 2050 เพื่อสร้างคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมที่ครอบคลุมทุกมิติ เป็นรีแทลแห่งแรกของไทยที่จะพัฒนาให้เป็นศูนย์ต้นแบบในด้านการจัดการขยะทั่วประเทศ เราพร้อมที่จะเร่งปรับและเปลี่ยนเพื่อโลกสีเขียวอย่างยั่งยืน

การเดินหน้าภารกิจศึกษาแนวคิด และกระบวนการจัดการขยะ ในครั้งนี้ ทั้ง 2 บริษัท เห็นพ้องตรงกันว่า เราจะร่วมมือกันทำ ร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน เพราะเรามีเป้าหมายเดียวกัน ที่อยากเห็นประเทศไทยมีโมเดลต้นแบบในการ คัด แยก ทิ้งขยะ ได้อย่างถูกที่และถูกวิธี และยังเป็นการลดการฝังกลบขยะที่จะก่อให้เกิดปัญหาอีกมากมาย พร้อมสร้างพฤติกรรมการใช้สิ่งของอย่างคุ้มค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อสร้างโลกที่น่าอยู่ให้กับคนรุ่นถัดไป