posttoday

นักวิชาการ แนะรัฐชะลอขึ้นเดือนข้าราชการ ชี้ช่วงนี้ไม่เหมาะสร้างภาระคลัง

12 พฤศจิกายน 2566

รศ.ดร.สมชาย ประเมินการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และฐานะการคลัง ยังไม่เอื้อให้ปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ชี้ขณะนี้รัฐมีภาระผูกพันงบประมาณสูงกว่า 70% ต่อGDP แล้ว และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่งบกระตุ้นเศรษฐกิจเหลือเพียง 20% แนะหากเดินหน้า ให้ขยับเงินเดือนชั้นผู้น้อยก่อน

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง กล่าวถึงกรณที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาความเหมาะสมในการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำและการปรับอัตราเงินเดือนสำหรับกลุ่มข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ว่า เห็นด้วยหากรัฐจะมีแนวคิดปรับขึ้นขึ้นเดือนให้กับราชการ เพราะต้องยอมรับว่า เงินเดือนข้าราชการไทยส่วนใหญ่เฉลี่ยอยู่ในอัตราที่น้อย แต่อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการเกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดิน ที่ต้องมีภาระผูมขึ้นต่อเนื่อง และหากดูภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ยังไม่ดีนัก จึงมองว่า สถานการณ์โดยรวมยังไม่เหมาะกับการเพิ่มภากพันด้านงบประจำที่เพิ่ระด้านการคลังให้กับประเทศ

 

“เข้าใจดีถึงความจำเป็น และถือเป็นสัญาญาประชาคมที่รัฐบาลหาเสียงไว้ แต่มองว่า ยังไม่ใช่เวลานี้ เพราะยังมี 2 ข้อจำกัด ที่รัฐบาลต้องคิด คือ จากบริบทในแง่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และข้อจำกัดด้านการคลัง ที่ยังไม่เอื้ออำนวย หากจะทำรัฐบาลต้องใช้ดุลยภาพว่า ขึ้นในระดับที่การคลังรับได้ ไม่ให้เกิดภาระด้านการคลังในอนาคต คือไม่ขึ้นเวอร์เกินไป ” รศ.ดร.สมชาย กล่าว

 

ทั้งนี้ หากดูสัดส่วนด้านงบประมาณการลงทุนของไทย ขณะนี้เหลือประมาณ 20% ของจีดีพี เท่านั้น ซึ่งต่ำมาก เพราะโดยทั่วไปงบลงทุนควรอยู่ประมาณ 30% ต่อจีดีพี สาเหตุเพราะงบประจำของไทยพุ่งขึ้นอยู่ตลอดเวลา ตอนนี้ขยับไปอยู่ที่ 76-77%ต่อจีดีพีแล้ว และนับวันก็มีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นไปอีก ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่รัฐบาลควรคำนึงให้มาก เพราะถ้างบลงทุนมีน้อย เท่ากับว่าแรงกระตุ้นเศรษฐกิจไทยก็จะน้อยลง

 

ขณะนี้เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่ต่ำมาก ซึ่งหมายความว่า ความสามารถของภาครัฐในการจัดเก็บภาษีจะถูกจำกัดมากขึ้น เห็นได้จากช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการเติบโตของไทย เฉลี่ยอยู่ที่ 2% ถือว่าต่ำสุดในอาเซียน โดยเศรษฐกิจอาเซียเติบโตเฉลี่ยประมาณ 5% ซึ่งไทยเติบโตเฉลี่ยอยู่ในอันดับ 9 หรือ 10  นั่นเพราะขีดความสามารถการแข่งขันของไทยตกต่ำลงมา

 

ประกอบกับ รัฐบาลในขณะนี้เป็นรัฐบาลผสม ซึ่งแต่ละพรรคก็มีนโนยายคล้ายกัน คือ การใช้งบประมาณเพื่อลดแลกแจกแถม ซึ่งจะมีแต่ค่าใช้จ่าย แต่รายรับกลับไม่ชัดเจน และรายจ่ายส่วนนี้ก็จะไปเพิ่มอยู่ในงบประจำของประเทศ 

 

นอกจากนี้ ในอนาคตไทยจะมีปัญหาเรื่องด้านการคลังค่อนข้างมาก จากภาระการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  โดยวันนี้ พบว่า คนวัยทำงานอายุตั้งแต่ 15-59 ปี มีสัดส่วน 65% จะต้องดูแลคนที่ไม่ทำงาน หรือผู้สูงอายุ 35% แต่อีก 10 ปีข้างหน้าคนทำงานจะลดเหลือ 55% แต่คนที่ไม่ทำงาน หรือคนชราจะเพิ่มมากขึ้นไปอีก จึงเห็นว่า นี่ยังเป็นข้อจำกัดของการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการในขณะนี้ 

 

ที่สำคัญขึ้นเงินเดือนแล้ว เพื่อให้ข้าราชการอยู่ได้แล้ว ภาครัฐต้องรีสกิล พัฒนาขีดความสามารถการทำงานของข้าราชการควบคู่ไปด้วย เพราะตอนนี้โลกกำลังเข้าสู่ยุคดิจิทัล จะมีการใช้ AI เข้ามาร่วมทำงาน หรือแทนที่คนทำงาน ซึ่งต่อไปจะเกิด Disruption  คือ พอขึ้นเงินเดือนมาถึงจุดหนึ่ง ต่อไปเชื่อว่าจะตามมาด้วยการลดจำนวนลงทำงานคน จึงต้องพิจารณาให้ดี นอกจากนี้รัฐบาล ต้องมีการขยายระยะเวลาเกษียณ ซึ่งจะช่วยลดภาระด้านการคลังได้ในระยะยาว

 

"รัฐบาลควรรออีกสักระยะ คือ รอให้เศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจนกว่านี้ และรอความชัดเจนนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ของรัฐบาลก่อน เพราะเกี่ยวข้องกับงบประมาณด้วย หรือหากจะเดินหน้าก็อาจพิจารณาปรับขึ้นเงินเดือนในของข้าราชการชั้นผู้น้อยไปก่อน หรือเพิ่มเงินเดือนให้ผู้น้อยมากกว่าข้าราชการขั้นกลาง หรือชั้นผู้ใญ่ ก็เป็นอีกทางที่ช่วยลดภาระด้านการคลังได้" รศ.ดร.สมชาย กล่าว