posttoday

ชูเกียรติ ห่วงอิสราเอล-ปาเลสไตน์ บานปลาย กระทบตลาดข้าวตะวันออกกลาง

18 ตุลาคม 2566

สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ชี้สงคราม อิสราเอล-ปาเลสไตน์ กระทบส่งออกข้าวไทยน้อย แต่หวั่นสถานการณ์ขยายวงกว้างไปยังกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นตลาดส่งออกข้าวไทยที่สำคัญของไทย ห่วง Logistics ป่วน กระทบการส่งมอบสินค้า

นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า จากเหตุความไม่สงบระหว่างอิสราเอล และปาเลสไตน์ ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์การส่งออกข้าวไทยไม่มากนัก เนื่องจากยังสามารถส่งออกข้าวไปยังอิสราเอลได้ปกติ ขณะที่ไทยมีปริมาณการส่งออกข้าวไปยังอิสราเอลเพียง 4.5 หมื่นล้านตันต่อปี อย่างไรก็ตามทางสมาคมฯ รวมถึงผู้ส่งออกยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมรับมือหากสถานกาณ์ความไม่สงบขยายวงกว้างออกไปยังภูมิภาคตะวันออกกลาง เพราะถือเป็นอีกหนึ่งตลาดส่งออกข้าวที่สำคัญของไทย

“ตอนนี้ถือว่าไม่น่าห่วง เพราะอิสราเอลซื้อข้าวกับเราไม่มาก เพียง 4.5 หมื่นตันต่อปี แต่ยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หากความขัดแย้งขยายวงออกไปยังประเทศในตะวันออกกลาง เพราะภูมิภาคตะวันออกกลางถือเป็นตลาดการส่งออกข้าวที่สำคัญของไทย และอาจทำให้การเดินเรือผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีปัญหา ซึ่งกระทบต่อ Logistics ทำให้การขนส่งสินค้ายากลำบาก จะทำให้การส่งมอบสินค้าเกิดปัญหาขึ้น” นายชูเกียรติ กล่าว

 

สำหรับภาพรวมสถานการณ์ส่งออกข้าวไทยในปี 2566 ถือว่า ผ่านไปได้ด้วยดี โดยรวมประเทศผู้ซื้อข้าวหลักของโลก ได้มีการซื้อข้าวจากตลาดไปปริมาณมากแล้ว มีเพียงอินโดนีเซีย ที่ยังมีความต้องการซื้อข้าวอย่างต่อเนื่อง โดยอินโดซื้อข้าวไทยไปแล้ว ประมาณ 1.2 แสนตัน ขณะที่เวียดนามขณะนี้ไม่มีสต๊อกข้าวแล้ว เนื่องจากได้ขายไปเยอะแล้ว ทำให้ราคาข้าวเวียดนามมีราคาสูงกว่าไทย ต้องรอฤดูกาลผลิตในปีหน้า ที่จะมีข้าวออกสู่ตลาดในช่วงเดือนก.พ.2567 ทำให้จากช่วงนี้ ไปจนถึงเดือน ก.พ.ปีหน้า คาดว่า สถานะการส่งออกข้าวไทยถือว่ายังไปได้ดีอยู่ 

“ประเมินว่า ยอดการส่งออกทั้งปี 2566 จะอยู่ที่ 8.1-8.2 ล้านตัน ซึ่งขึ้นอยู่อีก 1-2 เดือนที่เหลือจะเป็นอย่างไร ซึ่งปกติ พ.ย.และธ.ค. ข้าวใหม่เริ่มออกผลผลิตใหม่ จะมีการส่งออกข้าวใหม่ค่อยข้างมาก เฉลี่ยเดือนละ 7-8 แสนตัน แต่ปีหน้า จะเป็นปีที่ท้าทาย โดยเฉพาะจากปัจจัยการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทว่าจะไปทิศทางไหน ถ้าอ่อนสามารถเราก็สามารถแข่งขันง่ายขึ้น แต่ถ้าค่าเงินแข็งค่าขึ้นมาจะเป็นปัญหาต่อการส่งออกข้าวของเรา”นายชูเกียรติ กล่าว

 

นอกจากนี้ นโยบายอินเดียเป็นตัวแปรสำคัฐที่ต้องจับตา ว่า สุดท้ายรับอินเดียจะแบนส่งออกข้าวอยู่หรือไม่ ซึ่งจากการประเมินของ EIC ผลผลิตข้าวในปีหน้าของอินเดีย อาจต่ำลงเล็กน้อย แต่ไม่ได้ถึงอยู่ในภาวะขาดแคลน เพราะปริมาณผลผลิตมีจำนวนลดลง ดังนั้นมีโอกาสสูงที่อินเดียจะกลับมาส่งออกอีกครั้ง ส่วนเมียนมา ปีนี้ ส่งออกข้าวได้ ล้านกว่าตัน และคิดว่าในปีนี้ ปรากฎการณ์เอลนีโญไม่ได้ส่งผลกระทบเท่าไร แต่ราคาที่สูงขึ้นต่อเนื่องจากต้นปี ที่ทำให้หลายประเทศมีการซื้อกักตุนข้าวไว้ค่อนข้างมาก โดยตอนนี้ ข้าวไทยเฉลี่ยเกวียนละ 1.2 หมื่นบาท ถือว่าสูง ปกติอยู่ที่เกวียนละ 7-8 พันบาทจึงเชื่อว่าสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรปลูกข้าวเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่อง

 

อย่างไรก็ตาม ในปีหน้า ยังต้องติดตาม ปรากฎการณ์ เอลนีโญ ที่อาจทำให้เกิดวิกฤตแล้งหรือไม่ หากเกิดขึ้น คาดกันว่า วิกฤตน่าจะยาวนานถึง 2 ปี ถือเป็นตัวแปรสำคัญของสถานการณ์ข้าวไทยด้วยเช่นกัน


สำหรับ ประมาณปี 2567 คาดว่าปริมาณการส่งออกข้าวไทย จะลดลงจากหลายปัจจัย หลังจากประเทศผู้ซื้อได้ซื้อข้าวไปเยอะแล้วในปีนี้ เช่น อินโด ปีนี้ซื้อไปไม่ต่ำกว่า 2.5 ล้านตัน ปีหน้าคาดว่าจะซื้อข้าวน้อยลง เหลือ 7-8 แสนตัน ทำให้ปริมาณซื้อในตลาดโลกหายไป ล้านกว่าตัน ปีหน้าเราตั้งไว้ 7.5 ล้านตัน ปรับลดจากปีนี้ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศอื่นๆ 

 

เช่นเดียว กับ ฟิลิปปินส์ ซื้อไปในปริมาณที่เยอะแล้วเช่นกัน แต่ผลพวงไม่ได้ตกอยู่ที่ไทย แต่ไปอยู่ที่เวียดนาม เพราะปัจจุบันคนฟิลิปปินส์ นิยมรสชาติข้าวเวียดนามมาก ขณะที่ข้าวเวียดนามมีราคาถูกกว่าไทย อักทั้งมีหลายชนิดให้เลือก ทำให้ไทยส่งออกข้าวไปยังฟิลิปปินส์ได้น้อยมา

 

ซึ่งจากการรับฟังของผู้ซื้อที่ให้เหตุผลว่า ทำไมเดี๋ยวนี้ซื้อข้าวหอมไทยลดลงเรื่อยๆ เพราะตอนนี้ข้าวเวียดนามมีการพัฒนาไปมาก ทั้งรสชาต และรสสัมผัสที่เป็นที่นิยมของคนฟิลิปปินส์ คือ มีความเหนียมนุ่ม คุณภาพใกล้เคียงข้าวไทย จากก่อนที่ข้าวเขามีความแข็งมากกว่าข้าวไทย และชนิดข้าวที่มีความหลากหลาย นอกจากนี้ข้าวเวียดนามยังมีราคาถูกว่า 100-200 เหรียญสหรัฐฯ จึงทำตลาดง่ายกว่า แถมข้าวก็หอมทั้งปี เพราะเวียดนามปลูกข้าวหอมทั้งปี ขณะที่ข้าวหอมไทยปลูกปีละครั้ง ทำให้ความหอมอยู่ไม่นาน ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่ทำให้เขามาซื้อข้าวไทย

 

"ซื้อข้าวเวียดนามมีมาจินขายที่ดีกว่าเรา ราคาข้าวเวียดนามจะยืนพื้นกว่าไทย ขณะที่ราคาข้าวไทยก็ไม่มีเสถียรภาพ เพราะไทยมีเรื่องการเก็งกำไรค่อนข้างมาก ไทยทั้งบริโภคและส่งออก โรงสีมักจะเก็บข้าวไว้เพื่อให้ได้ราคาก่อนออกขาย ทำให้ลูกค้าที่ซื้อข้าวไทยทำตลาดค่อนข้างยาก จึงอยากฝากให้หน่วยงานเข้ามาแก้ปัญหา และพัฒนาข้าวไทยมากขึ้น"นายชูเกียรติ กล่าว

 

ดังนั้น ถ้าไทยไม่ปรับปรุงเรื่องพันธุ์ข้าว พัฒนาเรื่องต้นทุนการผลิต ผลผลิตต่อไร ก็ต้องยอมรับว่า ต่อไปมาร์เก็ตแชร์ข้าวไทยก็จะลดลงไปเรื่อยๆ การซื้อขายข้าวโลกไม่เหมือนในอดีตที่คู่แข่งน้อย จึงสามารถทำราคาได้ แต่ตอนนี้สถานการเปลี่ยน คู่แข่งเยอะ มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวผลิตต่อไรเยอะราคาถูกว่า ทำให้ไทยแข็งขันลำบากมาก

 

สำหรับ ปริมาณการส่งออกข้าวไทย ช่วง 9 เดือนปี 2566 พบว่า ไทยส่งออกข้าวไปยังตลาดโลกประมาณ 6.2 ล้านตัน ขณะที่ เวียดนามอยู่ที่ 6.7 ล้านตัน และอินเดียส่งออกอยู่ที่ 15 ล้านตัน