posttoday

เจาะภารกิจ EECi หนุนงานวิจัย-นวัตกรรม เสริมแกร่งเกษตรอัจฉริยะ

25 กันยายน 2566

จับตาบทบาท EECi ส่งต่องานวิจัย-นวัตกรรม จากหิ้งสู่ห้างเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร เสริมเขี้ยวเล็บ SME เผยแผน 2566-2570 ขยาย 4 กลุ่มคลัสเตอร์ ไม้ผล ประมงเพาะเลี้ยง สมุนไพร และปศุสัตว์ หนุนเกษตรอัจฉริยะรอบด้าน

เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation :EECI) ซึ่งสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารและพัฒนา EECi เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมจากห้องปฏิบัติการไปสู่การใช้ประโยชน์ใน 6 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ (1) เกษตรสมัยใหม่และเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง(2) เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (3) แบตเตอรี่และการขนส่งสมัยใหม่ (4) ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (5) การบินและอวกาศ และ (6) เครื่องมือแพทย์ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับมูลค่าภาคเกษตร สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไทย และ รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศ

EECi จึงถูกพัฒนาให้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการนำนวัตกรรมเข้าไปผลักดันอุตสาหกรรมและพัฒนาประเทศด้วยการปิดช่องว่างทางเทคโนโลยีผ่านการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานและกลไกที่จะรองรับงานวิจัยขยายผล (Translational Research) และการปรับแปลงเทคโนโลยีจากต่างประเทศให้เข้ากับบริบทของไทย (Technology Localization)

โดยหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สำคัญคือการขับเคลื่อนเกษตรสมัยใหม่ในการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร เพื่อเพิ่มศักยภาพ SME ไทยสามารถมีผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างและสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับชุมชน 

เจาะภารกิจ EECi หนุนงานวิจัย-นวัตกรรม เสริมแกร่งเกษตรอัจฉริยะ

โรงเรือนอัจฉริยะ เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรส่งต่อ SME
ในพื้นที่ EECi มีโรงเรือนอัจฉริยะ (Smart Greenhouse) ในการทำหน้าที่เป็นแหล่งคัดเลือกพืชและสมุนไพรที่มีคุณสมบัติและความสามารถในการผลิตสารสำคัญทางอาหารและยาสูง และใช้ในการพัฒนาการผลิตพืชในระบบปิดที่สามารถควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเติบโตของพืชและสมุนไพรแต่ละชนิด ที่ใช้พื้นที่น้อยได้ผลผลิตสูงที่มีความปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างและโลหะหนัก

เจาะภารกิจ EECi หนุนงานวิจัย-นวัตกรรม เสริมแกร่งเกษตรอัจฉริยะ

ในโรงเรือนอัจฉริยะได้คัดเลือกสายพันธุ์ดีของบัวบก ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน และกระชายดำที่มีปริมาณสารสำคัญสูงปลูกในโรงเรือน และได้สูตรระบบการผลิตของพืชสมุนไพรดังกล่าว ที่มีประสิทธิภาพสูง โดยระบบการผลิตขมิ้นชันปลอดโรคในโรงเรือนปลูกพืชอัจฉริยะที่มีการบริหารจัดการด้านการให้น้ำ ให้ปุ๋ย การกระตุ้นด้วย stimulants และ ควบคุมระยะของทรงพุ่มได้ สามารถปลูกในระยะชิดในระบบโรงเรือน ให้ผลผลิตหัวพันธุ์มากกว่าการผลิตในแปลงประมาณ 2.5 เท่า มูลค่าของหัวพันธุ์สูงกว่าการเหง้าขมิ้นตามราคาท้องตลาด ประมาณ 10 เท่า 

เจาะภารกิจ EECi หนุนงานวิจัย-นวัตกรรม เสริมแกร่งเกษตรอัจฉริยะ

รวมถึงได้ขยายผลพันธุ์ดีและสูตรการเพาะปลูกสมุนไพรดังกล่าวสู่ผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ร่วมกันเป็นพื้นที่สาธิตเทคโนโลยี ตัวอย่างได้แก่ สวนบ้านบัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เป็นพื้นที่สาธิตสำหรับการปลูกฟ้าทะลายโจรสายพันธุ์ดี สวนกำนัน สาคร อ.วังจันทร์ เป็นพื้นที่สาธิตสำหรับการปลูกกระชายดำสายพันธุ์ดี ผลิตจากระบบ tissue culture รวมถึงมีวิสาหกิจชุมชนรับผลผลิตจากโรงเรือนไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ตัวอย่างด้วย คือ

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มลุฟฟาลา รับผลผลิตบัวบกไปทดลองผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องสำอางค์ และ โรงพยาบาลวังจันทร์รับผลผลิตฟ้าทะลายโจรไปทดลองผลิตภัณฑ์กลุ่มยาสมุนไพร
ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะสู่ชุมชน

เจาะภารกิจ EECi หนุนงานวิจัย-นวัตกรรม เสริมแกร่งเกษตรอัจฉริยะ

ในพื้นที่ได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ (Smart Agriculture) ให้แก่ชุมชนและเกษตรกรในพื้นที่ EEC โดยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับชุมชนแล้วทั้งสิ้น 347 ชุมชน และมีเกษตรกร ทั่วไปในพื้นที่ภาคตะวันออกที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวนทั้งสิ้น 4,776 คน ใน 3 จังหวัด (ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา) โดยมีเทคโนโลยีที่นำไปถ่ายทอดจำนวน 60 เทคโนโลยี อาทิเช่น

เจาะภารกิจ EECi หนุนงานวิจัย-นวัตกรรม เสริมแกร่งเกษตรอัจฉริยะ เทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ผักอินทรีย์/ผักปลอดภัย,เทคโนโลยีการแปรรูป: มังคุด สมุนไพร, เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะกับไม้ผล: ทุเรียน สละ ขนุน และลำไย, เทคโนโลยีปศุสัตว์: โค และระบบอัจฉริยะกับการผลิตสัตว์น้ำ: กุ้ง ปลา เป็นตัน ซึ่งสามารถสร้งมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ 267 ล้านบาท มีตัวอย่างผลงานเด่น ดังนี้

สวนบัวแก้ว จ.ระยอง ที่ใช้เทคโนโลยีระบบการให้น้ำอัจฉริยะ เป็นระบบเพิ่มความแม่นยำโดยใช้เซ็นเซอร์ควบคุมการให้น้ำระดับปลายราก ทำให้เกษตรกรสามารถลดการใช้น้ำ 809 เฉลี่ยลดลง 1,100 ลบ.ม. ต่อปี ต่อไร่ ลดความเสียหายจากทุเรียนร่วง โดยสวนทุเรียน 70 ไร่ ใช้คนงานเพียงแค่ 4 คน ซึ่งในปี 2565 นายสมบูรณ์ งามเสงี่ยม เจ้าของสวนบัวแก้วมีรายได้เพิ่มขึ้น 7.9 ล้านบาท และยังนำเทคโนโลยีไปขยายผลความรู้ให้กับกลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียนสมาชิก 40 คน

เจาะภารกิจ EECi หนุนงานวิจัย-นวัตกรรม เสริมแกร่งเกษตรอัจฉริยะ

วิสาหกิจชุมชน จ. ฉะเชิงเทรา ใช้เทคโนโลยีระบบการให้น้ำอัจฉริยะในโรงเรือน ยกระดับผลผลิตมีคุณภาพเพิ่มขึ้น จำนวน 6 โรงเรือน ลดการใช้สารเคมีป้องกันแมลง ทำให้ปลูกผักได้ ได้จำนวนรอบเพิ่มขึ้น จาก 6 รอบต่อปี เป็น 8 รอบต่อปี ซึ่งในปี 2565 นายวิรัช โปร่งจิต เจ้าของสวนสามารถสร้างรายได้เพิ่ม 80,000 - 100,000 ต่อโรงเรือน ต่อปี และวิสาหกิจชุมชน จ.ฉะเชิงเทรา กลายเป็นศูนย์เรียนรู้ในชุมชน และยังนำเทคโนโลยีไปขยายผลให้กับสมาชิก 30 คน

เจาะภารกิจ EECi หนุนงานวิจัย-นวัตกรรม เสริมแกร่งเกษตรอัจฉริยะ

แผน 4 ปี ส่งนวัตกรรมอัจฉริยะ ขยาย 4 กลุ่มคลัสเตอร์
EECi จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาการเกษตรในเขต EEC โดยในปีงบประมาณ 2565 ได้ดำเนินการไปแล้ว 2 โครงการได้แก่ โครงการการพัฒนาสารสกัดและผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรในพื้นที่ EEC และ โครงการจัดการเพิ่มมูลค่าเปลือกทุเรียน มังคุด และเงาะ โดยวิธีสกัดสารออกฤทธิ์สำหรับผลิตภัณฑ์ด้านเครื่องสำอาง เวชสำอาง และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

โดยจะขยายการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาการเกษตรฯ เพิ่มเติมในปีงบประมาณ 2566-2570 ให้ครอบคลุม 4 คลัสเตอร์เปัาหมาย ได้แก่ ไม้ผล ประมงเพาะเลี้ยง สมุนไพร และปศุสัตว์ ด้วยโครงการ ต่างๆ อาทิ 

โครงการขยายผลการยกระดับประสิทธิภาพการผลิต การบริหารระบบปุ้ยหลัก-รอง-เสริม การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปสินค้าเกษตรกลุ่มทุเรียน-มังคุด- มะม่วงด้วยเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ โครงการยกระดับการผลิตปลานิลและกุ้งขาวสมัยใหม่ ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีดิจิทัล โครงการขยายผลเทคโนโลยีแพลตฟอร์มไปสู่ผู้ใช้งาน การจัดการโคเนื้อเขตร้อนขึ้นด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI  

โครงการพัฒนาระบบการผลิตต้นและเมล็ดพันธุ์พืชสมุนไพรเศรษฐกิจ ในโรงเรือนไฮโดรโปนิกส์ระดับขยายขนาด เช่น ฟ้าทะลายโจรและบัวบก และโครงการพัฒนาระบบการผลิตกัญซงให้ได้ผลผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพสูงตามศักยภาพของพันธุ์ภายใต้สภาวะโรงเรือนปลูกพืช เป็นต้น

บทบาท ของ EECi นับจากนี้จะเข้มข้นขึ้นอย่างต่อเนื่องในการเป็นตัวกลางปิดช่องว่างของประเทศไทยที่มีการลงทุนเกี่ยวกับงานวิจัยให้ออกไปสู่การใช้งานเชิงพาณิชย์ ตามแนวคิด จากหิ้ง สู่ ห้าง โดยเฉพาะ SME ไทยที่จะมีแต้มต่อในการสร้างรายได้อย่างยั่งยืน