“ไตรรัตน์” ฟ้องบอร์ด กสทช. เสียงข้างมาก ปมซื้อลิขสิทธิ์บอลโลก
“ไตรรัตน์” ยื่นฟ้องศาลอาญาฯ บอร์ด กสทช. เสียงข้างมาก 4 คน กับ รองเลขาธิการด้านกระจายเสียง 1 คน รวม 5 คน กล่าวหาเรื่องการสนับสนุนค่าใช้จ่ายซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก เปลี่ยนรักษาการเลขาธิการ กสทช. แทนตัวเอง โดยมิชอบ นัดฟังคำสั่ง 3 ต.ค.66
เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 เวลา 10.30 นาฬิกา นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องพลอากาศโท ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ ที่ 1 ศาสตราจารย์ ดร.พิรงรอง รามสูต ที่ 2 รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภัช ศุภชลาศัย ที่ 3 รองศาสตราจารย์ ดร.สมภพ ภูริวิกรัยพงศ์ ที่ 4 ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ภูมิศิษฐ์ มหาเวสน์ศิริ ที่ 5 เป็นจำเลย ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อท 155/2566
ข้อหา เป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86, 157 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นรองเลขาธิการ กสทช. สายงานยุทธศาสตร์และกิจการองค์กร และเป็นพนักงานผู้ปฏิบัติงานของสำนักงาน กสทช. ตามระเบียบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และเป็นผู้รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ โดยจำเลยที่ 1 เป็น กรรมการ กสทช. ด้านกิจการกระจายเสียง จำเลยที่ 2 เป็น กรรมการ กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ จำเลยที่ 3 เป็นกรรมการ กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์และจำเลยที่ 4 เป็นกรรมการ กสทช. ด้านกิจการโทรคมนาคม ส่วนจำเลยที่ 5 เป็นรองเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ และเป็นพนักงาน ผู้ปฏิบัติงานของสำนักงาน กสทช.
เหตุคดีนี้เกิดจาก เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 คณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มีคำสั่งคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ลับ) ที่ 7/2566 เรื่อง แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการดำเนินการของสำนักงาน กสทช. เกี่ยวกับการสนับสนุน ค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดรายการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย โดยอนุกรรมการที่ ได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้เสนอให้เข้ามาทำหน้าที่ในคณะอนุกรรมการเองทั้งสิ้น อันอาจมีการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศที่เกี่ยวข้องและมติที่ ประชุม กสทช. รวมทั้งข้อเสนอของ กกท. ที่ได้ยื่นการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กองทุน กทปส.) ตลอดจนบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ที่ได้ทำไว้กับสำนักงาน กสทช. ต่อมาเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2566
คณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง จัดทำรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริง (ลับ) โดย คณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวได้ประชุมพิจารณามีความเห็นในการประชุมคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 6/2566 ด้วยคะแนนเสียงส่วนมาก 4 เสียง มีความเห็นว่า กรณีการดำเนินการสำนักงาน กสทช. เกี่ยวกับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดรายการแข่งฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย อาจมีการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศที่เกี่ยวข้อง และมติที่ ประชุม กสทช. รวมทั้งข้อเสนอของ กกท. ที่ได้ยื่นการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กองทุน กทปส.) ตลอดจนบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Mou) ที่ได้ทำกับสำนักงาน กสทช. ส่วนอนุกรรมการอีก 2 เสียง ไม่ลงความเห็น ความเห็นของคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เป็นแต่เพียงความเห็นลอย ๆ ว่า อาจมีการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศที่เกี่ยวข้อง และ มติที่ ประชุม กสทช. รวมทั้งข้อเสนอของ กกท. ที่ได้ยื่นการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กองทุน กทปส.) เท่านั้น
และในวันประชุม กสทช. ครั้งที่ 13/2566 วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2566 ระเบียบวาระที่ 5.22 : รายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการดำเนินการของสำนักงาน กสทช. เกี่ยวกับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด รายการแข่งขัน ฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายนั้น ที่ประชุมได้มีมติ ดังนี้
1.รับทราบรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงกรณีการดำเนินการของสำนักงาน กสทช. เกี่ยวกับการสนับสนุน ค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์ การถ่ายทอดสดรายการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย
2. ที่ประชุมมีการพิจารณาข้อเสนอตามรายงานฯ ข้อ 1 ที่เสนอว่า “การดำเนินการของ การกระทำของ นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล (โจทก์) รองเลขาธิการ กสทช. รักษาการแทน เลขาธิการ กสทช. เกี่ยวกับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดรายการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบ สุดท้าย อาจมีการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศที่เกี่ยวข้อง
และมติ ที่ประชุม กสทช. รวมทั้งข้อเสนอของ กกท. ที่ได้ยื่นขอรับการสนับสนุนจากกองทุน กทปส. ตลอดจน บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ที่ได้ทำไว้กับสำนักงาน กสทช. โดยจำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 4 ได้ลงมติ เสียงข้างมากให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยโจทก์ และ ลงมติให้มีการเปลี่ยนตัว รองเลขาธิการ กสทช. รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. (หมายถึงโจทก์) จนกว่าการสอบสวนจะเสร็จสิ้น การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ที่พิจารณาลงมติระเบียบวาระที่ 5 .22 เป็นการกระทำที่ขัดต่อ ระเบียบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วย ข้อบังคับการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ พ.ศ. 2555 ข้อ 21 และข้อ 29
จำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 4 ในฐานะ กสทช. จึงไม่มีอำนาจและ หน้าที่ในการลงมติให้ประธานกรรมการหรือสำนักงาน กสทช. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย โจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 4 ได้สมคบกันเพื่อใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะกรรมการ กสทช. โดยวาง แผนการและแบ่งหน้าที่กันทำเพื่อให้ที่ประชุม กสทช. ในการประชุม กสทช. ครั้งที่ 13/2566 วาระที่ 5.22 มีมติปลดโจทก์ออกจากตำแหน่งรักษาการเลขาธิการ กสทช. โดยมีเจตนาทุจริตเพื่อเอื้อประโยชน์ มีมติปลดโจทก์ออกจากตำแหน่งรักษาการเลขาธิการ กสทช. โดยมีเจตนาทุจริตเพื่อเอื้อประโยชน์ให้จำเลยที่ 5 โดยเสนอให้ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งจำเลยที่ 5 เป็นผู้รักษาการเลขาธิการ กสทช. แทนโจทก์ซึ่งจะเห็นได้จากพฤติการณ์ของจำเลยแต่ละคนที่ได้ร่วมกันวางแผนและดำเนินการ โดยแบ่งหน้าที่กันทำ ก่อนจะมีการประชุม
ยังมี ข้อ 2 ที่ว่า “การกระทำของ กกท. และพนักงานที่เกี่ยวข้อง อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศที่เกี่ยวข้อง และ มติที่ประชุมของ กสทช. รวมทั้งข้อเสนอของ กกท. ที่ได้ยื่นขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน ตลอดจนบันทึกข้อตกลงความร่วมมือที่ได้ทำไว้กับสำนักงาน กสทช. จึงสมควรส่งเรื่องให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบ กรณีดังกล่าวเพื่อดำเนินการต่อไป...”
แต่ด้วยเจตนาทุจริตที่มีต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 4 ซึ่งรวมกันเป็นเสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุม มิได้หยิบยกข้อเสนอพิจารณาข้อที่ 2 ข้างต้นมาพิจารณาแต่อย่างใด แต่จำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 4 กลับร่วมกันผลักดันโดยอาศัยคะแนนเสียง 4 เสียง ซึ่งเป็นเสียงข้างมาก ลงมติเพียงเฉพาะตามความประสงค์ของจำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 4 ทั้งที่เป็นการกระทำผิดกฎหมาย ระเบียบ และเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือโดยทุจริต แม้จะได้รับการทักท้วงและคัดค้านจากประธาน และกรรมการเสียงข้างน้อยก็ตาม
ที่ประชุม กสทช. จะได้มีการพิจารณาทบทวนมติดังกล่าว และมีการลงมติใหม่อีกครั้งให้สานักงาน กสทช. ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยตามระเบียบ กสทช. ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2565 แล้วก็ตาม แต่ด้วยเจตนาทุจริตจำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 4 ก็ยืนยันเสนอและลงมติไม่เห็นชอบให้โจทก์ดำรงตาแหน่งรักษาการ เลขาธิการ กสทช. จนกว่าการสอบสวนจะเสร็จสิ้น
ทั้งนี้ เพื่อเปิดทางให้จำเลยที่ 5 มาดำรงตำแหน่งแทนโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอให้ที่ประชุมมีมติให้แต่งตั้งจำเลยที่ 5 เป็นผู้รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. และจำเลยที่ 4 เป็นผู้สนับสนุน
โดยอ้างความอาวุโสของจำเลยที่ 5 จากนั้นจำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 4 ก็ลงมติเห็นชอบ ทั้งที่ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาการแทน การปฏิบัติการแทน และการปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทน ในตำแหน่งเลขาธิการ กสทช. และพนักงาน กสทช. พ.ศ. 2555 ในข้อ 6 กำหนดให้ประธานโดยการเห็นชอบของ กสทช. แต่งตั้งรองเลขาธิการคนหนึ่งตามเห็นสมควรเป็นผู้รักษาการแทน จึงเป็นอำนาจของประธานโดยแท้ในการที่จะเสนอผู้ใดตามที่เห็นสมควร จำเลยทั้งสี่ทราบดีว่าประธาน กสทช.ได้เดินทางไปต่างประเทศ ไม่สามารถลงนามคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 5 เป็นรักษาการแทนเลขาธิการตามมติที่ประชุมได้ ประกอบกับจำเลยที่ 5 มีเวลาปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งฯ ของโจทก์ที่ให้รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. จนถึงวันที่ 18 มิถุนายน 2566 จำเลยทั้งสี่โดยทุจริตเพื่อให้จำเลยที่ 5 ได้เข้ารับตำแหน่งรักษาการแทนเลขาธิการ กสทช.
ได้เร่งรีบจัดทำบันทึกข้อความด่วนที่สุดถึงจำเลยที่ 5 ในฐานะรองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติรักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ให้ตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์ การที่จำเลยที่ 5 มีคำสั่งแต่งตั้งให้ศาสตราจารย์ ส. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมาเป็นประธานกรรมการสอบสวน ซึ่งโดยปกติแล้วจะต้องมีการติดต่อประสานกับบุคคลนั้นก่อนว่ายินดีจะรับเป็นประธานกรรมการสอบสวนหรือไม่ และต้องตรวจสอบว่าบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติตามประกาศฯ ข้อ 3 หรือไม่ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร
แต่จำเลยที่ 5 ซึ่งเพิ่งได้รับหนังสือจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เพียงวัน กลับสามารถออกคาสั่งแต่งตั้งกรรมการสอบสวนลงวันที่ 16 มิถุนายน 2566 ได้ทันที แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 5 รับรู้ล่วงหน้าและสมคบกับจำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 4 มาก่อนจึงได้จัดเตรียมและติดต่อบุคคลที่ตนเองไว้ใจได้มารับหน้าที่เป็นประธาน
ภายหลังการประชุม กสทช. เสร็จสิ้น รวมถึงหมดโอกาสในการเจริญเติบโตในหน้าที่การงานจากการกระทำของจำเลยทั้งห้า ทำให้โจทก์ได้รับผลกระทบต่อการพิจารณาคัดเลือกแต่งตั้งดำรงตำแหน่งเลขาธิการ กสทช. ซึ่งจะมีขึ้นในภายภาคหน้าต่อไปด้วย จำเลยที่ 5 เป็นรองเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ และเป็นผู้รักษาการแทนโจทก์ แต่จำเลยที่ 5 โดยเจตนาทุจริตกลับ จัดทำบันทึกข้อความ ด่วนที่สุด (ลับ) ส่วนงานเลขานุการ กสทช. สายกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (สท.) ที่ สทช 2300/58 วันที่ 16 มิถุนายน 2566 แต่งตั้งตนเองเป็นพนักงานผู้รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. แทนโจทก์ โดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งรักษาการแทนเลขาธิการกสทช. และตนเองจะได้ดำรงตำแหน่งแทน
จึงเป็นการจงใจปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ด้วยกฎหมายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการสนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหาย เป็นการร่วมกันปฏิบัติหรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต หรือเป็นเจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือตำแหน่งหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172
อีกทั้งภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 4 ได้ร่วมกันลงมติตามระเบียบวาระ 5.22 ในการประชุม กสทช. ครั้งที่ 13/2566 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2566 และจำเลยที่ 5 ได้จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยโจทก์แล้ว ปรากฏว่าสื่อมวลชนได้มีการนาเสนอและเผยแพร่ข่าวที่ กสทช. มีมติปลดโจทก์ และให้โจทก์หยุดปฏิบัติหน้าที่ ผ่านทางสื่อหลายสานัก หลายช่องทางด้วยกันทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงจาก การนำเสนอข่าวดังกล่าว ชื่อเสียง รวมถึงเสียโอกาสในหน้าที่การงาน
เหตุคดีนี้เกิดที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโ ทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โจทก์มิได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพราะประสงค์จะดำเนินคดีด้วยตนเอง
ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางรับคดีไว้เพื่อตรวจคำฟ้อง ให้นัดฟังคำสั่ง หรือคำพิพากษา ในวันที่ 3 ตุลาคม 2566 เวลา 9.30 นาฬิกา