posttoday

หอการค้าฯ ชี้ หนี้ครัวเรือนไทยพุ่งสูงสุดรอบ 15 ปี

27 กรกฎาคม 2566

หอการค้าไทยฯ เผยหนี้ครัวเรือนไทยปี 66 แตะ 5.59 แสนล้าน พุ่งสูงสุดในรอบ 15 ปี ผลพวงจากสงครามทางการค้า-พิษโควิดตั้งแต่ปี 62-63 และจะพีคสุดปี 67 แนะรัฐหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ช่วยแก้ปัญหาระยะสั้น-เร่งให้ความรู้วินัยการ แก้ปัญหาในระยะยาว

นาย ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  เผยผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือนไทยปี 2566 ว่า ครัวเรือนไทยมีหนี้สินรวม 559,408.70 บาท เพิ่มจากปีก่อน 11.5% หรือ 501,711.84 บาท ถือว่าสุงสุดในรอบ 15 นับตั้งแต่เคยการสำรวจมาตั้งปี 2550 แบ่งเป็นหนี้ในระบบ 80.2% และหนี้นอกระบบ 19.8%  อย่างไรก็ตาม แม้ระดับหนี้ครัวเรือนจะมีมูลค่าเพิ่มสูงมากขึ้น แต่ในเชิงเศรษฐศาสตร์ระดับหนี้ ยังไม่น่ากังวล เนื่องจากเป็นหนี้ในระบบ และเป็นระดับที่ยังไม่ทำร้ายเศรษฐกิจไทยในระยะสั้น 

 

“สัดส่วนหนี้ที่เพิ่มขึ้นเป็นผลพวงปัญหา Trade war และสถานกาณ์โควิด ตั้งแต่ปี 62-63 ทำให้คนก่อหนี้มากขึ้น และเสี่ยงเศรษฐกิจฟื้นตัวช้ากว่าที่เป็น ต่อให้มีการเลือกตั้งแต่ความแน่นอนยังไม่ชัด ทำให้เขาคาดว่า ต้องเผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจ ที่ค่าครองชีพสูง รายได้ต่ำไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายถึงต้นปีหน้า ทำให้เกิดการกู้หนี้ขึ้น แต่ในภาพรวม แม้หนี้ครัวเรือนสูงถึง 90% ของจีดีพี แต่แนวโน้มจีดีพีที่ปรับสูงขึ้น เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัว และหนี้ที่ก่อเป็นในระบบ จึงเชื่อว่าไม่เป็นปัญหารุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจ แต่เป็นปัญหาตัวบุคคลซึ่งธปท.ทำการแก้ไขอยู่ ” นาย ธนวรรธน์

 

ทั้งนี้ จาการสำรวจกลุ่มดังกล่าว ถึงสาเหตุที่ทำให้หนี้เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ตอบว่า เพราะเศรษฐกิจไม่ดี ค่าครองชีพสูงขึ้นทำให้รายได้ไม่สอดคลอ้งกับราคาสินค้าและบริการที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น /มีการซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น /รายได้ไม่พอรายจ่าย โดยหนี้ส่วนใหญ่เกิดจาก การนำไปจ่ายค่าอุปโภคบริโภค /สินค้าคงทน /และใช้หนี้เดิม ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่เคยมีเงินเหลือเก็บออม และคาดว่าจะเก็บออมได้ใน 1 ปีข้างหน้า ส่วนการแก้ไขปัญหากรณีรายได้ไม่พอกับรายจ่ายในปัจจุบัน มากที่สุด คือ  การกู้ยืมจากแหล่งต่างๆ เช่น กดเงินสดจากบัตรเครดิจต กู้จากธนาคาร และกู้จากนายทุน รองลงมาคือ ประหยัด ลดค่าใช้จ่าย และหารายได้เพิ่ม

 

นอกจากนี้ ทางหอการค้าไทย คาดว่า ระดับหนี้ครัวเรือนจะพีคขึ้นในปี 2567 และระดับหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีจะปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 80%ต่อดีพีได้ต้องใช้เวลาประมาณ 5 ปี โดยผ่านการดูแลและแก้ไข เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ จากภาครัฐ เช่น ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รวมถึงผลักดันเรื่องการมีวินัยทางการเงิน เช่น การให้ความรู้ทางการเงิน ตั้งแต่ประถม และระดับมหาลัยเรียนรู้เรื่องการออม และการลงทุนในยามเกษียณ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้ในระยะยาว ซึ่งสอดคล้องจากผลการสำรวจที่ต้องการให้รัฐ ช่วยหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้ในระยะสั้น และ ให้ความรู้ในการบริหารหนี้ ให้ความรู้เรื่องการวางแผนการใช้จ่าย และฝึกอบรมวิชาชัพ/ทักษะในการประกอบอาชีพ เพื่อเป็นการวางแผนการแก้ไขปัญหาโครงสร้างหนี้ในระยะยาว